User talk:Tiemianwusi/Archive 4

Page contents not supported in other languages.
From Wikipedia, the free encyclopedia

User:Aristitleism/Archive/Inner


User:Aristitleism/Archive

2012.06[edit]

ทับหน้าเปลี่ยนทาง[edit]

ทำไมผมถึงไม่สามารถทำ ทับหน้าเปลี่ยนทางได้ครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 19:45, 2 มิถุนายน 2555 (ICT)

อาจเป็นเพราะหน้าเปลี่ยนทางนั้นซ้อนทับหน้าอื่นเป็นหลายชั้น ต้องให้ผู้ดูแลลบหน้าที่เกี่ยวข้องทิ้ง จึงจะเปลี่ยนทางได้ เป็นต้นครับ ในทางตรงกันข้าม ที่สามารถทับหน้าเปลี่ยนทางได้ ก็เพราะหน้าเปลี่ยนทางนั้นไม่มีหน้าอื่นซ้อนอยู่ จึงเปลี่ยนหน้าหนึ่งไปทับหน้าเปลี่ยนทางนั้นได้ทันทีครับ --Aristitleism (พูดคุย) 20:14, 2 มิถุนายน 2555 (ICT)

อากง[edit]

ผมได้รับคำแนะนำจากคนรู้จักซึ่งเข้ามาอ่านเรื่องอากง (ซึ่งผมนี่แหละแนะให้เข้ามาอ่าน) ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่า ประโยค ฟ้องหาว่า มันพิกลๆอยู่ ผมได้ชี้แจงไปตามที่คุณว่ามานั้น ได้รับคำตอบกลับมาแนวเดียวกันว่า คนธรรมดาไม่เข้าใจหรอก ผมมาคิดอยู่หลายวันแล้วคงจะเป็นไปได้ที่จะมีคนอ่านไม่เข้าใจ ผมมีข้อเสนอให้แก้ครับ เหตุผลคือ ให้คนทั่วไปสามารถอ่านเข้าใจได้ (เราเขียนเพื่อบุคคลทั่วไปไม่เฉพาะนักกฎหมาย) ฝากไว้พิจารณาครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 21:02, 6 มิถุนายน 2555 (ICT)

เจ้าคณะจังหวัด[edit]

ผมเห็นป้ายแยกบทความในเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งก็เห็นด้วยตามนั้นแต่เราจะแยกอย่างไรล่ะครับ มีประเด็นให้คิดดังนี้ สงฆ์มีสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็มีเจ้าคณะฝ่ายตน จังหวัดหนึ่งอาจมีสอง หากเราตั้งเป็นรายชื่อสักพักท่านอาจมรณภาพชื่อก็เปลี่ยนไปเราต้องตามแก้อีก ถามผมก็แยกออกมาเป็นจังหวัดไปเลยก็จะได้บทความเพิ่ม 100 กว่าๆ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแนวความคิดผมเท่านั้น ผมได้ลองยกเอามาไว้ที่หน้าทดลองของผม ลองเข้าไปดูครับ และผมก็<!--เลิกซ่อน-->เนื้อหาเนื่องจากให้ผู้ที่ผ่านไปมาได้เห็นตรงหน้าบทความนั้น --Sasakubo1717 (พูดคุย) 13:58, 14 มิถุนายน 2555 (ICT)

อักโข มหาศาล[edit]

จะ อักโข หรือ มหาศาล ผมก็มองว่าไม่สอดคล้องกับประโยคที่ว่า ทรัพย์สินของพระองค์นั้น (อักโข) หรือ ทรัพย์สินของพระองค์นั้น (มหาศาล) อ่านแล้วต้องตีความ หากประสงค์จะอธิบายปริมาณไว้ควรมีคำเชื่อมไว้สักหน่อย เช่น มีมาก มีมากมายมหาศาล --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:19, 24 มิถุนายน 2555 (ICT)

ในภาษาไทย คำคุณศัพท์เป็นกริยาได้ครับ เช่น "ฉันสวย" ต่างจากภาษาอังกฤษต้องมีกริยา (v. to be) มา + คุณศัพท์ (beautiful) = I'm beautiful เป็นต้น ดังนั้น ที่ว่า "สินทรัพย์ของพระองค์นั้นมหาศาล" ("His assets are tremendous") ลองเทียบอย่างเวลาพูด "ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง" / "เหตุการณ์นั้นร้ายแรงนัก" / "คนทั้งหลายสับสนอลหม่านอยู่" โดยส่วนตัวผมเห็นว่าเท่านั้นก็เข้าใจอยู่ ไม่เห็นว่าต้องเติมอะไรอีก จะน้ำท่วมทุ่งได้ แต่ถ้าอยากเติมอะไรก็สุดแต่จะเห็นสมควรครับ ไม่มีข้อขัดข้องอันใด --Aristitleism (พูดคุย) 20:56, 24 มิถุนายน 2555 (ICT)
ผมเพิ่งเห็นเรื่อง "เจ้าคณะจังหวัด" ข้างบนอะ! ขออภัยครับ แต่ไม่ว่างจะมีความเห็นใด ๆ ขอปล่อยไปอย่างนั้นละกันครับ --Aristitleism (พูดคุย) 20:59, 24 มิถุนายน 2555 (ICT)

2012.07[edit]

รูปภาพ[edit]

ต้องทำยังไงค่ะ ถึง ไม่ให้รูปถูกลบ เพราะท่านสั่งการให้จัดทำประวัติดังกล่าวด้วยตัวท่านเองค่ะ--�พลตำรวจเอก อมรินทร์ อัครวงษ์� 13:18, 4 กรกฎาคม 2555 (ICT) พอดีว่า อัพโหลดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จากที่ทำงาน ลงวิกิพีเดียโดยตรงค่ะ ลงลิ้ง ในหน้ารูปที่อับโหลดได้มั้ยค่ะ --�พลตำรวจเอก อมรินทร์ อัครวงษ์� 13:30, 4 กรกฎาคม 2555 (ICT)

แล้วในกรณี ที่ อัพโหลดจาก คอมพิวเตอร์เราเองละค่ะ เป็นรูปที่ท่านเอามาให้ลง เราจะระบุยังไง --�พลตำรวจเอก อมรินทร์ อัครวงษ์� 18:39, 4 กรกฎาคม 2555 (ICT)

เรื่องจากข่าว[edit]

ศาล รธน. พลิกคำวินิจฉัยเดิมสิบปีที่แล้ว ? [1] ไม่ทราบว่าท่านสนใจนำไปชงเป็นเรื่องจากข่าวไหมครับ --taweethaも (พูดคุย) 15:49, 6 กรกฎาคม 2555 (ICT)

ชื่อเกาหลี[edit]

ชื่อบุคคลเกาหลี ไม่ต้องใส่ขีดนะท่าน ขีดนั้นมีไว้เพื่อแบ่งพยางค์เท่านั้น เพราะบางคำขึ้นต้นด้วย อ ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่ขีดตามระบบโรมัน --浓宝努 21:37, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)

ราชบัณฑิตยสถานว่า ถ้าอักษรโรมันใส่ขีด ก็ให้ใส่ตามครับ --Aristitleism (พูดคุย) 21:40, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)
ผมเข้าใจ แต่หากทำแบบนี้แล้ว จะมีชื่อคนที่มีขีดบ้าง ไม่มีขีดบ้าง เมื่อไหร่จะมีขีดหรือไม่มี จะเถียงกันวุ่นวาย ผมไม่เห็นด้วยกับที่เขาเขียนว่า "ตามอักษรโรมัน" เพราะข้อต่อมาก็ไม่ได้ใช้ขีด ศัพท์เกาหลีต้นฉบับก็ไม่ได้ใช้ขีด เราสามารถกำหนดนโยบายได้เองครับ หรือท่านเห็นว่าไง --浓宝努 21:42, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)
อนึ่ง ภาษาเวียดนามยังดูไม่รู้เรื่อง เพราะไฟล์บกพร่อง อักษรเวียดนามและไอพีเอกลายเป็นสัญลักษณ์ที่อ่านไม่ออก ผมได้แจ้งไปยังเว็บบอร์ดแล้ว --浓宝努 21:44, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)

ข้อต่อมา เขาให้เปลี่ยนเป็นคำไทยนี่ครับ จึงสมควรอยู่ที่จะไม่ใส่ขีด แต่ชื่อบุคคล ราชบัณฑิตฯ คงเห็นว่า ชวนสับสนหรือไม่ก็อ่านยาก จึงให้เอาตามโรมันมั้งครับ ส่วนตัวผมเห็นว่าใส่ขีดก็ไม่ได้เสียหายอะไรนะครับ ทับศัพท์ไทยเป็นโรมัน ยังใส่ขีดเพื่อกันสับสนในบางกรณีเลยครับ อ่านสะดวกน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าคงไว้เป๊ะ ๆ นะครับ --Aristitleism (พูดคุย) 21:50, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)

สมมติว่า มีการเขียนทั้งมีขีดและไม่มีขีด จะเลือกอะไรก่อน --浓宝努 21:53, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)
ชื่อที่เห็นส่วนใหญ่มักเขียนด้วยระบบอื่น ที่ไม่ใช่ทั้งระบบ 2000 และระบบ Mc ครับ (เช่น ใช้อย่างเป็นทางการว่า = Jang Keun-suk, ระบบ 2000 = Jang Geun-seok, ระบบ Mc = Chang Kŭnsŏk; หรือทางการ = Ham Eun-jeong, ระบบ 2000 = Ham Eunjeong, ระบบ Mc = Ham Ǔnchǒng) สำหรับตัวผมเอง ถ้าที่ใช้เป็นหลักนั้นมีขีด ก็ใส่ขีดครับ หรือในกรณีที่ไม่ปรากฏการเขียนอย่างเป็นทางการ ก็สุดแต่ว่าที่เขียนนั้นใช้ระบบอะไร หรือในกรณีที่ระบบหนึ่งมีขีด อีกระบบไม่มี ก็สุดแต่ว่าจะยึดระบบไหนเป็นหลัก (แต่สำหรับผมเอง ยังไม่พบปัญหาครับ เพราะเอาตามที่เขียนอย่างเป็นทางการเป็นสำคัญ) --Aristitleism (พูดคุย) 22:08, 16 กรกฎาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับเพื่อน wikipedia[edit]

สงสัยว่าผมแก้ไขไม่ดีอย่างไรครับในบทความ:กองทุนตราสารหนี้ เพราะในหน้าอังกฤษก็ใช้คำว่า Mutual fund คำเดียวที่แปลว่า กองทุนรวม รวมไว้หน้าเดียวครับ--Manzzzz (พูดคุย) 17:18, 21 กรกฎาคม 2555 (ICT)

  1. mutual fund = กองทุนรวม มีหน้าโดยเฉพาะอยู่แล้วในภาษาไทย เพราะฉะนั้น mutual fund ไม่พึงโยงไปหน้าอื่นอีกครับ
  2. กองทุนตราสารหนี้ = fixed income fund และไม่มีหน้าภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น ไม่พึงเติมลิงก์หน้าภาษาอังกฤษไปให้ โดยเฉพาะเมื่อลิงก์นั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับหน้าภาษาไทยที่โยงให้ หรือเมื่อลิงก์นั้นมีหน้าภาษาไทยที่เข้าคู่กันอยู่แล้ว
  3. fixed income fund เป็นรูปแบบหนึ่งของ mutual fund ก็จริง แต่เมื่อแยกบทความกันแล้ว ก็ไม่พึงเอาลิงก์ข้ามภาษามาปนกัน เช่น จังหวัดเชียงรายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย แต่ไม่พึงโยงลิงก์ Thailand มาที่หน้าจังหวัดเชียงราย
--Aristitleism (พูดคุย) 17:29, 21 กรกฎาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับเพื่อน wikipedia[edit]

ไม่ทราบว่าเป็นคนทำงานใน wikipedia เลยไหมครับ อยากรู้จักครับ--Manzzzz (พูดคุย) 15:09, 22 กรกฎาคม 2555 (ICT)

เปล่าครับ เป็นนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งมาร่วมเขียนวิกิพีเดียและโครงการอื่น ๆ เมื่อว่าง ทั้งนี้ ไม่คิดว่ามีผู้ใช้ส่วนใหญ่คนไหนเป็นเจ้าหน้าที่วิกิมีเดียด้วยครับ มีแต่อาสาทั้งนั้น วิกิมีเดียไม่ได้ให้ทรัพย์สินเงินทองหรือประโยชน์อื่นใด --Aristitleism (พูดคุย) 15:16, 22 กรกฎาคม 2555 (ICT)

การแก้ไขการทับศัพท์ ภาษาเกาหลี => ภาษาไทย[edit]

จากการได้เฝ้าดูบทความบางส่วนของศิลปินเกาหลี มานานพอสมควรแล้ว กระผมเห็นแล้วค่อนข้างที่จะขัดตาและตั้งใจที่จะแก้ไขให้ตรงกับการสะกดที่ถูกต้อง แต่เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคมสักช่วงเช้าได้ กระผมพอจะมีเวลาในการเล่นอินเตอร์เน็ตและยังค้างคากับการแก้ไขข้อมูลของหน้าสารานุกรม ที-อารา ซึ่งเห็นมานานแล้วว่าไม่เป็นสารานุกรม รวมถึงการเขียนที่ถูกปรับปรุงจนการแปลรวมถึงการสะกดชื่อ, กิจกรรมของศิลปิน รวมถึงแม้กระทั่งข้อมูลที่เก่าและไม่ได้รับการอัพเดตให้เป็นปัจจุบัน จึงได้ทำการแก้ไขไปหลายจุด รวมถึงแก้ไขชื่อศิลปิน เนื่องจากเห็นว่า การสะกดนั้นไม่ถูกต้อง แต่ก็ต้องกลับมาเห็นสภาพการถูกแก้ไขให้เป็นตามเดิมเพราะการแก้ไขชื่อศิลปินอีกครั้ง....

ภาษาเกาหลี ไม่ใช้คำอ่านเป็นสระเสียงสั้นจำพวก เอาะ โอะ อิ และตระกูลไม้ไต่คู้ทั้งหมด ยกตัวอย่าง 소연 ในการเขียนเป็นภาษาอังกฤษ คือ So-Yeon แปลตามไทยคือ โซ-ยอน ไม่ใช่ โซ-ย็อน ครับ หรืออย่าง 현 ก็อ่านว่า ฮยอนเลย ไม่มี ไม่ไต่คู่ที่ตัว ฮ ตามในสารานุกรมต่างๆนะครับ

ที่ผมต้องเสนอความคิดเห็นเข้ามานั้น ก็เพราะว่าเห็นการแก้ไขสารานุกรมในวิกิพีเดียที่เกี่ยวกับภาษาเกาหลีค่อนข้างที่จะเยอะ และเป็นการสะกดที่ผิดพลาดในจุดทีเรียกว่า ไม่น่าจะผิดพลาดเลย จึงขอความกรุณา แก้ไขการแก้ไขชื่อบุคคล หรือการสะกดต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาษาเกาหลีในสารานุกรม แห่งนี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

— Preceding unsigned comment added by Napongkung02 (talkcontribs) 02:21, 23 กรกฎาคม 2555 (UTC)

โปรดดู ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลี และภาษาเวียดนาม ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555 --Aristitleism (พูดคุย) 02:34, 23 กรกฎาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับเพื่อน wikipedia[edit]

ไม่ทราบคุณนำรูปการ์ตูนที่หน้าผู้ใช้จากไหนครับ สวยดีครับ--Manzzzz (พูดคุย) 14:46, 25 กรกฎาคม 2555 (ICT)

ทำเองครับ ส่วนสามสาวนั้นเป็นแมสคอตของวิกิมีเดียอยู่แล้ว --Aristitleism (พูดคุย) 19:07, 25 กรกฎาคม 2555 (ICT)

2012.08[edit]

มหากาพย์พุทธอินโด[edit]

วันนี้บทความดังกล่าวโดนป่วนซะน่วมเลยครับ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่านายศาสดา (คุณอริสไตเติลฯ น่าจะรู้จัก หรือไม่ก็ไม่ทราบเพราะผมระลึก ๆ ได้ว่าคนคนนี้เคยเรียนอยู่ มธ.) ไปเจอเข้าว่าบทความนี้พูดถึงป้าเช้ง พอเห็นเช่นนี้แทนที่จะแก้ เพราะความเป็นศาสดา นายคนนี้ก็เอาไปประจานในเฟซบุ๊ก สุดท้ายก็มีคนมาตามแก้นู่นนี่จนเยอะ นอกจากนี้ 9GAG in Thai ก็แชร์รูปที่นายศาสดา screen cap ไว้นี้ไปอีก กลายเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลองของสองทาง กลายเป็นว่าผู้ดูแลต้องระงับข้อพิพาทด้วยการล็อก แต่ครั้นอาสาสมัครที่จะดูวิกิพีเดียมันทุกหน้าก็มีน้อย และนี่ก็เรื่องเฉพาะทางอีก ทำให้เกิดอาการมึนงงว่าข้อมูลไหนถูกผิดกันแน่ จนกลายเป็นประเด็นสำหรับวันนี้ครับ ทั้งตัวสะกดเอย เกาะเอย อะไรเอย เหอ ๆ ๆ --∫G′(∞)dx 00:37, 3 สิงหาคม 2555 (ICT)

ทับศัพท์ญี่ปุ่น[edit]

ตามการเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น นี่ ii ต้องดูยังไงหรอครับว่าใช้ "อี" หรือ " -ิอิ " --Walker Emp (พูดคุย) 21:22, 8 สิงหาคม 2555 (ICT)

สำหรับผมเอง ผมจะดูที่ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเอาน่ะครับ จึงจำแนกได้ว่า ต้องแยกพยางค์ หรือรวมพยางค์ เช่น
  • Oreimo = โอะเระอิโมะ เพราะ 俺 (ore) + 妹 (imo)
  • Yoriie = โยะริอิเอะ เพราะ より (yori) + いえ (ie)
ลองหาคำอ่านจากพจนานุกรมญี่ปุ่น (ออนไลน์ก็มีครับ) หรือกูเกิลแปลภาษา เวลาใส่อักษรญี่ปุ่นลงไป ก็จะแสดงโรมะจิเหมือนกันครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 21:34, 8 สิงหาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับเพื่อน wikipedia[edit]

ดาวอุตสาหะ

ดาวอุตสาหะ
ผมขอมอบดาวอุตสาหะให้แก่บุคคลที่มีความพยายามครับ Manzzzz (พูดคุย) 17:16, 17 สิงหาคม 2555 (ICT)

re: จัดรูปแบบ[edit]

แล้วอย่างนั้นจะต่างกันอย่างไรระหว่างเราใส่ ตัวเลข 1,2,3,... ที่หัวข้อไปเลย กับใส่เป็น # ครับ?--Manzzzz (พูดคุย) 10:07, 19 สิงหาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับเพื่อน wikipedia[edit]

คุณรู้ได้อย่างไรครับ ว่าผมลอกมา?--Manzzzz (พูดคุย) 17:25, 20 สิงหาคม 2555 (ICT)

เนื้อความเหมือนกันกับที่ปรากฏในลิงก์ซึ่งคุณใส่ไว้ในบทความอย่างหาที่ผิดเพี้ยนมิได้เลยไงครับ --Aristitleism (พูดคุย) 17:31, 20 สิงหาคม 2555 (ICT)
อ่อ ครับ นึกว่าคุณจะช่วยแก้ ดัดแปลงให้หน่อย--Manzzzz (พูดคุย) 17:40, 20 สิงหาคม 2555 (ICT)

ขออภัยครับ ผมกำลังเขียนตำราอยู่ที่วิกิตำรา จึงมีทางเลือก 2 ทาง คือ (1) ย้อน ซึ่งจะส่งผลให้บทความเปลี่ยนทางไปอย่างเดิม หรือ (2) ขึ้นป้ายละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะส่งผลให้บทความถูกลบภายใน 3 วัน 7 วัน ทั้งนี้ คุณสามารถแก้ไขแล้วมาลงอีกก็ได้ จะร่างไว้ในหน้าส่วนตัวของคุณก่อนก็ได้ เช่น หน้า ผู้ใช้:Manzzzz/001 เป็นต้น --Aristitleism (พูดคุย) 17:44, 20 สิงหาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับ[edit]

ผมเจอแม่แบบ 4 อัน ที่ค่อนข้างซ้ำซ้อนกันครับ ผู้ใช้:Manzzzz/ab

--Manzzzz (พูดคุย) 11:56, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

เท่าที่ดูคร่าว ๆ กล่องข้อมูล 1 ซ้ำกับกล่อง 2 และกล่องอื่น ๆ มีบางส่วนซ้ำซึ่งกันและกัน ผมไม่ทราบว่า มีความจำเป็นต้องใช้กล่องทั้งสี่แยกกันอย่างไร ถึงแม้ผมจะเรียนหมอ แต่ก็เป็นหมอความ ไม่ใช่หมอคนเสียด้วยครับ รบกวนปรึกษากับคุณ Drgarden ซึ่งเป็นผู้สร้างหรือแก้ไขหลักในกล่องทั้งสี่ครับ --Aristitleism (พูดคุย) 12:06, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

สวัสดีครับ[edit]

ผมสงสัยเรื่อง วิกิพีเดีย:ที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย ที่คุณ Octrabon80 เป็นคนเขียนมากที่สุด แต่เขียนอธิบายว่า มาจากแก้ไขมากที่สุด

ถ้าอย่างนั้นการแก้ (+1) กับแก้ (+1000) ใน 1 ครั้ง ก็นับเป็นการแก้ไข 1 ครั้งเท่ากันไหมครับ? --Manzzzz (พูดคุย) 12:18, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

ใช่ครับ สถิติข้างต้น นับที่ครั้ง มิได้นับที่ปริมาณในการแก้แต่ละครั้งครับ และการแก้ครั้งหนึ่ง ปริมาณที่แก้จะมากหรือน้อย ก็ = 1 ครั้งเหมือนกัน --Aristitleism (พูดคุย) 12:22, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)
ถ้ายังงั้น ไม่มีสถิติที่ส่งเสริมการแก้ไขบทความทีละมากๆ เหรอครับ?--Manzzzz (พูดคุย) 12:26, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

ใน วิกิพีเดีย:ที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย ก็มีสถิติบทความที่มีการแก้ไขมากสุดครับ (แม้จะอัปเดตเมื่อหลายเดือนมาแล้วก็ตาม) ส่วนการแก้ไขครั้งไหนมากที่สุดในวิกิพีเดียนั้น ไม่มีสถิติครับ --Aristitleism (พูดคุย) 12:33, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

อนึ่ง ผมเห็นว่า บรรดาขาประจำในวิกิพีเดียก็ไม่ได้คำนึงว่าตัวเองจะแก้มากแก้น้อยอยู่แล้วครับ ประกอบกับวิกิพีเดียไม่ได้ให้รางวัลหรือสิทธิพิเศษอะไรจากการแก้ไข (เว้นแต่ลุงฝรั่งคนหนึ่งซึ่งแก้ครบล้านครั้งหรือประมาณนั้นเป็นคนแรก แล้วเขาก็ยกย่อง แต่ไม่ได้ให้สิทธิพิเศษอะไร) สถิติจึงเป็นเพียงเครื่องแสดงความเติบโตของวิกิพีเดีย แต่ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องจูงใจในการมีส่วนร่วมครับ --Aristitleism (พูดคุย) 12:37, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)
แต่ผมคิดว่าสถิติ เช่น อันดับ 1 2 3 ของคนที่เขียนหรือแก้ไขมากที่สุด เป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งให้มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นอีก คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญครับ--Manzzzz (พูดคุย) 12:56, 21 สิงหาคม 2555 (ICT)

มหาวิทยาลัยหลวง(ญี่ปุ่น)[edit]

คุณตามแก้เนื้อหาในมหาวิทยาลัยหลวง(帝国大学) ตรงตามเนื้อหาภาษาอังกฤษทั้งหมด กรุณาดูข้อมูลจากภาษาอื่นด้วย ผมเพิ่มเนื้อหาให้ตรงกับข้อมูลในภาษาญี่ปุ่น ถ้าจะเพิ่มหรือแก้ไขกรุณาทำต่อให้สมบูรณ์ด้วย ไม่ใช่มาตามแก้เอาแต่ส่วนที่ตัวเองต้องการ เรียนอยู่ญี่ปุ่นรึเปล่า หรือจบจากญี่ปุ่น มีประวัติส่วนตัวที่จะให้เชื่อถือมากกว่าที่จะแปลตามภาษาอังกฤษไหม? — Preceding unsigned comment added by Newdaikon (talkcontribs) 18:05, 30 สิงหาคม 2555 (UTC)

2012.09[edit]

ปาปารัสซี่ บนมุมมองของนักกฎหมาย[edit]

อย่าลืมช่วยติดตาม เรื่องนี้ ที่เราเคยคุยกันไว้นะครับทั่น --Sasakubo1717 (พูดคุย) 20:35, 1 กันยายน 2555 (ICT)

ขอรับ ตอนนี้ก็เขียนหนี้อยู่ และละเมิดก็เป็นส่วนหนึ่งของหนี้ แต่อย่างที่บอกไว้แล้ว คือ ไม่สามารถคะเนได้จริง ๆ ว่าจะเขียนเสร็จเมื่อไร เห็นสมควรทำอะไรก็ทำเลยครับ และขอเอ่ยอีกครั้งว่า "ไม่ได้ห้ามคนอื่นปรับปรุงบทความนี้แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องบอกให้ทราบว่า ถ้าบทความนี้ยังมีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับบทความอื่น โดยที่บทความนี้ด้อยกว่า ก็จะขอแจ้งลบต่อไปในภายภาคหน้า" --Aristitleism (พูดคุย) 21:00, 1 กันยายน 2555 (ICT)
อนึ่ง เท่าที่ผมสืบดูคร่าว ๆ บทความนั้นเคยอยู่บนวิกิพีเดีย แต่ถูกแจ้งให้ย้ายไปวิกิตำรา ก็เลยไปอยู่ที่ตำรา แต่มันก็ไม่เป็นตำราเช่นกัน (และตามความเห็นผม น่าจะอยู่ที่วิกิพีเดียนี้แหละ ทำนองเดียวกับ Legal status of Internet pornography และ Legal status of cartoon pornography depicting minors เป็นต้น แต่ก็จำเป็นต้องปรับปรุงอีกมากอยู่ อย่างที่ผมบรรยายไว้ในนั้นแล้วว่า เนื้อหาไม่ถูกต้องแม่นยำ ทั้งนี้ ผมไม่ขอรับหน้าที่ปรับปรุงนี้ขอรับ) --Aristitleism (พูดคุย) 21:08, 1 กันยายน 2555 (ICT)
  1. ลบทิ้ง
  2. ปล่อยไว้อย่างนั้นไปพลาง ถ้าผมเขียนตำราเสร็จ (แต่นานนะ 55+) แล้วมีข้อดีกว่า ผมจะแจ้งลบในภายภาคหน้า
  3. ย้ายมาลงวิกิพีเดียแล้วปรับปรุงตามที่เห็นสมควร
  4. แจ้งให้ผู้สร้างปรับปรุงแล้วนำมาลงวิกิพีเดีย
--Aristitleism (พูดคุย) 21:40, 1 กันยายน 2555 (ICT)

สวัสดีครับ[edit]

ผมคิดว่าใน วิกิพีเดีย:ที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย น่าจะมีการส่งเสริมการเขียนบทความเชิงคุณภาพ เช่น บทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพ โดยจัดลำดับคนที่เขียนบทความคัดสรรได้มากสุดด้วยนะครับ ไม่ใช่แต่จัดให้มีการแก้ไขมากที่สุดอย่างเดียว--Manzzzz (พูดคุย) 17:11, 7 กันยายน 2555 (ICT)

จัดลำดับคนเขียนบทความคุณภาพ ผมว่าคงยากครับ เพราะไม่เหมือนกับจัดลำดับคนเขียนมากครั้งน้อยครั้งที่ใช้หุ่นยนต์คำนวณได้ แต่บทความหนึ่ง ๆ ไม่ว่าเป็นบทความคุณภาพหรือไม่ มีคนเขียนหลายคน ทั้งที่เป็นผู้ใช้เปิดบัญชีและเป็นเลขไอพี แถมบางคนเขียนมากเขียนน้อยต่างกัน หุ่นยนต์คงแยกยากระหว่างการมีส่วนร่วมแบบ เขียนน้อย แต่สำคัญทุกครั้ง - เขียนน้อย แต่เป็นเรื่องปลีกย่อยไม่สำคัญทุกครั้ง - เขียนมาก ไม่สำคัญทุกครั้ง - เขียนมาก สำคัญทุกครั้ง ฯลฯ อย่างเช่น ผมเห็นในบทความหนึ่ง ตก ก ไก่ไปตัว จึงเติมเข้าไป ต่อมาบทความนั้นได้เป็นบทความคุณภาพ อย่างนี้จะนับว่าผมเป็นผู้เขียนบทความคุณภาพหรือไม่ ผมไม่รู้ว่าเขามีเกณฑ์พิจารณาเรื่องทำนองนี้อยู่หรือเปล่า แต่ถ้าทำ ก็ต้องระบบอัตโนมือ และเท่าที่ทราบ มูลนิธิวิกิมีเดียไม่ได้ให้สิทธิพิเศษหรือการปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างผู้เขียนบทความคุณภาพมาก ผู้เขียนบทความคุณภาพน้อย ผู้ไม่เคยเขียนบทความคุณภาพเลย กับผู้ใช้ทั่วไป --Aristitleism (พูดคุย) 22:59, 8 กันยายน 2555 (ICT)
การส่งเสริมทำได้ครับ แต่พวกท่านก็จะต้องดูแลกันเอง ให้รางวัลกันเอง ซึ่งก็จะไม่เกี่ยวกับ WMF (ภาษาอังกฤษมีหน้า en:Wikipedia:Reward board แต่เราคงไม่แอ็กทีฟกันถึงขนาดนั้น) เมื่อเขียนแล้วก็ต้องเข้ากันได้กับนโยบายที่มีอยู่ ระวังอย่าให้บทความที่ดี ๆ พลอยเน่าเสียไปด้วย --浓宝努 23:22, 8 กันยายน 2555 (ICT)

จุลภาค[edit]

ผมสังเกตมาพักนึงแล้ว คุณสร้างหน้าแก้ความกำกวมหลายหน้า และใช้จุลภาค (,) แบ่งชื่อบทความกับคำอธิบาย ภาษาไทยไม่ใช้จุลภาคในกรณีอย่างนี้นะครับ ไม่ต้องเลียนแบบภาษาอังกฤษ --浓宝努 22:39, 8 กันยายน 2555 (ICT)

รับทราบครับ --Aristitleism (พูดคุย) 22:45, 8 กันยายน 2555 (ICT)

เรื่องรูปนักพากย์[edit]

เวลาจะอัปโหลดรูปของนักพากย์ ช่วยกรุณาอย่าเอารูปเฟซบุ๊กมาอัปในวิกิพีเดียด้วยคับ เพราะว่าถือเป็นเรื่องส่วนตัว --Sard112 (พูดคุย) 23:21, 11 กันยายน 2555 (ICT)

เฟซบุ๊กทีมพากย์อินทรีเผยแพร่แก่สาธารณะ สาธารณชนเข้าถึงได้ เช่นนี้คงไม่เรียกว่าเฟซบุ๊กส่วตัว --Aristitleism (พูดคุย) 23:25, 11 กันยายน 2555 (ICT)

โอเค ครับ เอาเฉพาะรูปส่วนตัวละกันคับ--Sard112 (พูดคุย) 23:29, 11 กันยายน 2555 (ICT)

เหตุผลในการใช้ภาพ[edit]

เหตุผลในการใช้ภาพต้องระบุว่าใช้ประกอบในบทความใดบ้าง อย่าเขียนว่า "ใช้ประกอบบทความต่าง ๆ" เพราะภาพประเภทชอบธรรมต้องจำกัดหน้าที่ใช้ภาพดังกล่าวให้น้อยที่สุดครับ --浓宝努 11:33, 16 กันยายน 2555 (ICT)

ผมช่วยระบุหน้าบทความลงในป้ายประกาศแล้วนะครับ วันหลังก็ทำแบบนั้นนะครับ --浓宝努 17:40, 16 กันยายน 2555 (ICT)

จัน ดารา[edit]

รู้ไหมว่าจัน ดารา ทำไมตอนที่ยังไม่ดัง ไม่เห็นมาเปลี่ยนแปลงเลย แต่ตอนมันดังก็มาเปลี่ยนแปลง ทั้งคุณอีกและฮอรัสอีก โอ้ย สารพัด เปลี่ยนไปถึงไหน ภาพโปสเตอร์ก็หายาก ทำไมต้องทำอย่างนี้ ผมเตือนคุณแล้ว (ผมไม่ใช้อันธพาล แต่ผมก็อย่างให้คนอื่นรู้เหมือนกัน) ถ้าขัดขืนผมจะบอกสื่อ ไม่ขู่ เรื่องจริง ผมถามคุณหน่อยปี 2544 หายหัวไปไหน ทำไมเพิ่งทำตอนห๊าาาา (แ-่งเปลี่ยนซะหมดเลย) — Preceding unsigned comment added by 1.1.212.180 (talk) 13:31, 16 กันยายน 2555 (UTC)

ไปออกสื่อออกส้วมที่ไหนก็สุดแต่คุณครับ ผมไม่ได้อยู่ในอาณัติที่จะต้องทำตามคำของคุณ และคุณก็มิใช่เจ้าของบทความด้วย เจริญพร --Aristitleism (พูดคุย) 13:34, 16 กันยายน 2555 (ICT)
จำไว้ให้ดีนะ สงครามจันดารา ในวิกิ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น จำใจรับมือละกัน เรื่องจันดารา คงศึกษามาดีนะ หลวงวิสนันทเดชาฟังแล้วก็โกรธเป็นอันมาก และขับไล่จันออกจากบ้านวิสนันท์ — Preceding unsigned comment added by 1.1.212.180 (talk) 14:02, 16 กันยายน 2555 (UTC)
ใช่ว่าทุกคนจะว่างทำเรื่องไร้สาระกับคุณ ถ้ามาก่อกวน ก็จะถูกจัดการกลับไป เท่านั้นแหละครับ อาเมน --Aristitleism (พูดคุย) 14:14, 16 กันยายน 2555 (ICT)

ว่าด้วยการช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้ดูแลระบบ[edit]

มีความเห็นอย่างไรครับที่วิกิมีเดีย จะให้การช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่สมาชิกที่เป็นผู้ดูแลฯ ผมไม่เห็นด้วยอย่างมาก เพราะเครื่องมือที่มีไว้สำหรับผู้ดูแลระบบจริงๆ แทบไม่มีอะไรเลยที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามข้อตกลงการใช้งาน

สมาชิกทั่วไป (รวมทั้งผู้ดูแลก็รวมอยู่ด้วย) ต่างหากที่ต้องรับผิดชอบกับเนื้อหาที่ถูกนำขึ้นเว็บ สิ่งที่ผู้ดูแลมีมากกว่าผู้ใช้ทั่วไปคือ ลบ เรียกคืน ล็อก ปลดล็อก แก้หน้าถูกล็อก แก้มีเดียวิกิ

ไม่ว่าอนาคตวิกิมีเดียจะให้การช่วยเหลือหรือไม่ให้การช่วยเหลือแก่ผู้ดูระบบ ผมจะเลิกบริจาคให้วิกิมีเดียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพราะไม่มั่นใจว่าจะนำเงินบริจาคไปทำอะไรกันแน่ จุดประสงค์หลักที่ผมบริจาคหมายมั่นว่าจะช่วยพัฒนาบำรุงด้านเทคนิค เช่น การลงทุนเซิร์ฟเวอร์ ค่าจ้างบุคลากรดูแล --Sasakubo1717 (พูดคุย) 23:51, 17 กันยายน 2555 (ICT)

ผมเคยเข้าไปอ่านดูตอนที่ขึ้นประกาศใหม่ ๆ ครับ แต่ไว้ผมค่อยมาแสดงความเห็นทีหลังนะครับ วันนี้หมดเวลาสนุกแล้วซี (ข้อความนี้มาจากเทเลทับบีส์น่ะครับ เผื่อคุณไม่เคยดูแล้วมันจะแป้ก 55+) --Aristitleism (พูดคุย) 22:59, 18 กันยายน 2555 (ICT)
คงแป๊กอย่างว่าล่ะ ตกยุคไปแล้วผมน่ะ ในความทรงจำมันมีแต่ โดราเอมอน --Sasakubo1717 (พูดคุย) 09:27, 19 กันยายน 2555 (ICT)

Natachai[edit]

ข้อความของ Natachai[edit]

  1. ผมไม่คิดจะนำวัตถุที่เรียกว่าสินค้ามาลง นำภาพมาลงเพื่อให้คนสนใจศึกษาได้รับ ทราบ เรียนรู้ ว่าด้วยเรื่องของรูปภาพมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความและเรื่องในเรื่องดังกล่าว
  2. ผมไม่เคยนำภาพลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาลง ยกเว้นเป็นภาพสาธารณะ และของที่ผมสร้างขึ้นเอง และไม่เคยคิดจะทำเป็นคลังภาพ ภาพที่นำมาลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องในหัวข้อ...มีมากบ้างน้อยบ้าง เพื่อให้คนที่เข้ามาได้รับความรู้ และเข้าใจ
  3. ผมไม่เคยนำข้อมูลทำนองโษณาชวนเชื่องเกี่ยวกับเครื่องรางของของขลัง เพราะเครื่องรางของขลังนั้นไม่ต้องโษณาชวนเชื่อ เนื่องจากของเหล่านี้มีประวัติในอดีตที่ซึมซับอยู่ในสายเลือดของนักสะสมวัตถุนิยม ในเมื่อคุณคิดว่าใช่ในข้อ 3 เป็นหลัก ผมจะถามคุณกลับ

++++++++++++++ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5 เรื่องหัวข้อ วัตถุมงคล ใน วิกิพีเดีย มีไว้ทำไม ทำไม ไม่รบออก ในเมื่อคุณกล่าวว่า เป็นข้อมูลทำนองโฆษณาชวนเชื่องเกี่ยวกับเครื่องรางของของขลัง เพราะทั้งหมดของเนื้อหาดูยังไงก็ใช่ อ่านยังไงก็ใช่

      • แล้วจะเก็บไว้ทำไม ทำไม ถึงไม่ลบออก
      • คุณสับสนอยู่นะครับ เรื่องเกี่ยวกับการทำการค้า บนวิกิพีเดีย กับ การให้ข้อมูลเป็นแหล่งความรู้ที่เกี่ยวข้องในบทความนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควมไปถึงรูปภาพที่เกี่ยวข้อง คุณมีมุมมอง วิสัยทัศน์ ที่แคบ และสั้น มากๆ
      • เรื่อง การเผยแพร่ ภาพ เป็นความรู้ในรูปแบบหนึ่ง ใช่หรือไม่ ทำงง ยกตัวอย่างให้สักเรื่อง จะได้เห็นภาพ เช่น เรื่อง ชายหาดบางแสน คุณจะเขียนเนื้อเรื่อง รวมทั้งหาแหล่งข้อมูลมาอ้างอิง ข้างๆ คูๆ เสร็จแล้วบอกว่า ห้ามนำภาพมาลงประกอบ เด๊ยวจะเป็นเรื่อง โฆษณาชวนเชื่่อ ทำให้เชื่อว่าภาพที่เห็น มันไม่ดี จะทำให้คนหลงยึดติดในบรรยายกาศ ทำให้เห็นในสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น หาดทราย สภาพแวดล้อม แบบนี้ใช่ไหมที่คุณต้องการ และมีวิสัยทัศน์ที่ห่วย

— Preceding unsigned comment added by Natachai (talkcontribs) 23:20, 18 กันยายน 2555 (UTC)

  1. คุณนับถือศาสนา ศาสนาคริสต์ หรือศาสนา อื่น ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธใช่หรือไม่?
  2. ผมไม่เข้าใจแนวคิดของคุณ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายของวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ซึ่งว่าด้วยเรื่องต่างๆมากมาย
  3. คุณพยายามขัดขวาง ก่อกวนผม ในการเพิ่มเติมบทความที่นำภาพที่เกี่ยวข้องของบทความเพื่อนำเสนอต่อสาธารณะชน เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง เรียนรู้ คุณเป็นพวกมารศาสนาหรือเปล่า?
  4. คุณไม่ใช่คนที่นับถือศาสนาพุทธ ที่มีในจิตใจ จึงได้พยายามขัดขวาง ใช่หรืไม่?
  5. . ถ้าคุณชอบลบผลงานบุคคลอื่นที่พยายามเพิ่มเติมข้อมูลในบทความต่างๆให้สมบูรณ์ มา ตามมาผมจะแนะนำ ภาพในลักษณะที่คุณชอบลบแล้วอ้างเป็นเรื่อง โฆษณา ชวนเชื่อ

--- ลบนะครับ ขอให้ลบ ถ้าไม่มีเหตุผลให้กับผมที่ฟังแล้วเข้าใจ และมีเหตุผลมากกว่าที่คุณอ้างแบบไม่มีน้ำหนัก ผมก็จะมาคุณกับคุยทุกๆครั้งที่ว่าง

  1. ภาพที่ 1 เครื่องปั้นดินเผายุคโจมง จากลิงค์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99
  2. ภาพที่ 2 ภาพจากเรื่องตำนานเกนจิ ลิงค์เดียวกันอยู่ด้านล่างขวามือ ภาพนี้เป็นภาพโฆษณาชวนเชื่อ ให้งมงาย เกี่ยวกับอารยธรรมในอดีตของญี่ปุ่น อย่างลืมลบนะครับ เพราะเข้าเงื่อนไขเดียวกันกับที่คุณอ้าง
  3. ภาพที่ 3 ภาพ เครื่องปั้นดินเผาซึ่งถูกพบใกล้กับบ้านเชียง สันนิษฐานว่ามีอายุกว่า 2,000 ปี จากลิงค์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 อย่างบอกว่าไม่เกี่ยวกับคุณนะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่อง โฆษณาความเชื่อ งมงาย ลบซะนะครับ ถ้าคุณมีเหตุผลก็ว่ามาทำไมถึงไม่คิดจะลบ?

4krmuj 4

  1. ภาพที่ 4 ภาพรวมทางซ้ายมือยาว 3 รูป ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD เป็นรูปที่ไม่เกี่ยวข้องไร้สาระ ลบซะนะครับ
  2. ภาพที่ 5 ภาพ โรงงานในเกาหลีเหนือ เป็นภาพโฆษณา ชวนเชื่อของกระทู้นี้ อย่าลืมลบนะครับ
  3. ภาพที่ 6 ภาพ เกษตรกรรมเกาหลีเหนือ เป็นภาพโฆษณา ชวนเชื่อของกระทู้นี้ อย่าลืมลบนะครับ

สรุป

  1. อย่างน้อย ภาพทั้ง 6 นี้ก็เข้าเงื่อนไขที่คุณกล่าวอ้างว่า โฆษณา ชวนเชื่อ
  2. ถ้าคุณไม่ลบทั้งหมด หรือ ลบรูปหนึ่งรูปใด โปรดแจ้งให้ผมทราบแนวคิดของคุณด้วยว่าเพราะอะไร?
  3. และถ้าคุณไม่ลบ และไม่ตอบเหตุผลใดๆ ให้ทราบ ผมจะตามถึงตัวคุณ และจะคุยกับคุณว่า ทำไม? หวังว่ามีเหตุผลที่มีน้ำหนักให้กับผมนะครับ คนโตๆ กันแล้ว คุยกันรู้เรื่อง ไม่ใช้นำความคิดไรสาระมาอ้าง

และโปรดเข้าใจว่า การทำงานเพื่อสังคม คุณก็ทำไป ผมเห็นว่าอะไรที่ขาดตก ไม่สมบูรณ์ผมก็เพิ่มเท่าที่ผมทำได้ แต่คุณควรมีเหตุผลมากกว่านี้ หากคุณพยายามหลบ หรือบล๊อคชื่อผม ผมถือว่าคุณไม่ปราถนาดีต่อ วิกิพีเดีย ถ้ากรณีนี้ได้นั่งคุยกันแน่ครับ

— Preceding unsigned comment added by Natachai (talkcontribs) 15:32, 19 กันยายน 2555 (UTC)

ตอบ[edit]

  1. ผมไม่นับถือศาสนา
  2. ปัญหาของคุณไม่ได้อยู่ที่วัตถุประสงค์ในการใช้รูป แต่อยู่ที่ตัวรูปนั่นแหละ ผมบอกแล้วว่า เวลาอัปโหลดรูป ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน คุณไม่กรอกอะไรเลยตลอดมา แล้วก็บอกว่าเป็นเจ้าของรูปทั้งหมด
    1. ทว่า
      1. หลาย ๆ รูปไม่น่าเชื่อว่าคุณเป็นเจ้าของ เช่น ไฟล์:หลวงปู่ปาน.jpg บุคคลในรูปตายไปเมื่อ 74 ปีก่อน คนที่จะถ่ายรูปนี้ได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 74 ปี แต่คุณบอกประวัติไว้ในหน้าผู้ใช้ของคุณเองว่า คุณอายุ 44 ปี เพราะฉะนั้น ไม่น่าเชื่อว่าคุณเป็นผู้ถ่ายภาพนั้นเองกับมือ
      2. หลายรูปปรากฏแจ้งชัดว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของ เช่น ไฟล์:หลวงพ่องเงินหลัง1.jpg มีรายละเอียดลิขสิทธิ์อยู่บนรูปชัดเจน
      3. หลาย ๆ รูปเป็นการแสดงเท็จ เช่น ไฟล์:หลวงปู่ศุข1.jpg เป็นรูปทำนองเดียวกับที่เคยถูกแจ้งลบแล้ว (กลุ่ม ไฟล์:หลวงปู่ศุขหลัง.jpg, ไฟล์:หลวงปู่ศุข.JPG เป็นต้น) จึงไม่น่าเชื่อว่าคุณเป็นเจ้าของ
      4. หลาย ๆ รูปขัดต่อนโยบายของวิกิพีเดีย เช่น ไฟล์:หลวงพ่องเงินหลัง1.jpg มีลายน้ำหรือสัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของ นำมาใช้ไม่ได้
    2. อนึ่ง เมื่อรูปไม่ปรากฏแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ หรือไม่แสดงป้ายลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง (ตามที่มีให้กรอกอยู่แล้วเวลาอัปโหลดรูป) จะต้องถือว่ารูปนั้นมีลิขสิทธิ์ และจะต้องถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน เว้นแต่มีการแก้ไขโดยแสดงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ หรือแสดงป้ายลิขสิทธิ์ให้ถูก
    3. แต่ไม่ว่ารูปจะแสดงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อหรือป้ายลิขสิทธิ์หรือไม่ ถ้ารูปนั้นเป็นการใช้งานโดยชอบธรรม (มีลิขสิทธิ์ แต่ขอใช้หน่อย) จะใช้ทำคลังภาพไม่ได้ เพราะต้องใช้อย่างจำกัดที่สุด
    4. เพราะฉะนั้น รูปที่คุณอัปโหลดจึงนำมาทำเป็นคลังภาพในบทความไม่ได้
  3. แค่นั้นแหละ

--Aristitleism (พูดคุย) 17:54, 19 กันยายน 2555 (ICT)

ย้อนไม่ได้[edit]

ไม่ต้องถึงกับคัดลอกรุ่นเก่ามาวางหรอกครับ แค่กดดูรุ่นที่ต้องการกดแก้ไข และกดบันทึกก็ได้ผลตามต้องการ ใช้ได้ทุกหน้าที่มีสิทธิ์แก้ไขนะครับ --taweethaも (พูดคุย) 18:04, 19 กันยายน 2555 (ICT)

โฮะตะรุบิ โนะ โมะริ เอะ[edit]

ฝากมาให้ชม ถ้าสนใจอยู่ในอินเทอร์เน็ต ความยาวเพียง 44 นาทีเองครับ --taweethaも (พูดคุย) 13:51, 22 กันยายน 2555 (ICT)

ทั้งเคยอ่านและเคยดูแล้วครับ taweethaも ก็หานะสึเมะกับสมุดรวยเพื่อน (Natsume's Book of Friends) มาดูด้วยสิครับ อะนิเมะดี ๆ แต่ไม่มีใครเอาเข้ามาในประเทศไทย --Aristitleism (พูดคุย) 14:00, 22 กันยายน 2555 (ICT)
มะพร้าวห้าวมาขายสวนเสียแล้วเรา ผมดูสิ่งใดประทับใจแล้วก็แบ่งบันด้วยการเขียนบทความในวิกิพีเดียครับ จึงต้องดูไปเขียนไป ของที่ดูจบแล้วยังไม่ได้เขียนก็มีอีกอักโข ไว้มีโอกาสแล้วจะหา Natsume's Book of Friends มาดูนะครับ ;-) --taweethaも (พูดคุย) 14:11, 22 กันยายน 2555 (ICT)
แนะนำเว็บตุรกีครับ (http://forum.tirkx.com << เขาว่า tirkx อ่านว่า เติร์ก และพวกเติร์กคือพวกตุรกี เลยเรียกกันว่า เว็บตุรกี แต่เป็นของไทยนี่แหละครับ ไม่ใช่ของชาวตุรกี) อันนี้แหล่งดีมีศีลธรรมและค่อนข้างมีคุณภาพ ป.ล. อนุมานได้ว่า คุณ taweethaも ชอบดูอะนิเมะเกี่ยวกับผีสินะครับ (55+) --Aristitleism (พูดคุย) 14:19, 22 กันยายน 2555 (ICT)
รับทราบครับ ขอบพระคุณที่แนะนำ ผมไม่ได้ชอบชมอะนิเมะเกี่ยวกับผีโดยเฉพาะ แต่ดูอย่างผีอาจจะใช่เพราะไม่เคยชำระค่าตอบแทนเป็นตัวเงินแก่ผู้ทรงลิขสิทธิ์ ส่วนมากจะยืมแผ่นเขามาดู ถ้าไม่มีให้หยิบยืมบ้างก็ต้องดูเอาทางอินเทอร์เน็ต ที่ดูอะนิเมะและวิเคราะห์เขียนบทความเพราะผมอยากเรียนรู้วิธีการสื่อสารของอะนิเมะที่เข้าถึงคนได้มากและเร็ว อย่างเรื่องที่พูดถึงกันอยู่นี้ตีพิมพ์มาสิบปีแล้ว เข้าถึงคนได้จำนวนหนึ่ง แต่พอมาทำเป็นอะนิเมะกลับดังสนั่นอีกเป็นครั้งที่สอง หากใช้เทคนิคของอะนิเมะนี้กับเรื่องวิชาการความรู้หรือข้อเท็จจริงอื่นอันเป็นประโยชน์ก็จะก่อให้เกิดผลดีไม่น้อย เช่น งานของมิยะซะกิที่มีองค์ประกอบของ pacifism, feminism และ environmentalism (ism ism ism ดูแล้วซึมไปหลายวันจับต้นชนปลายเขียนบทความไม่ถูก :P) --taweethaも (พูดคุย) 15:02, 22 กันยายน 2555 (ICT)

The Princess and the Pilot สอบเสร็จแล้วลองอันนี้เป็นอย่างไร... ดูซิว่าจะเป็นมะพร้าวห้าวมาขายสวนอีกหรือไม่ --taweethaも (พูดคุย) 12:58, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)

เรื่องนี้ยังไม่เคยดูครับ สนุกหรือครับ เมื่อก่อนเคยเห็นผ่าน ๆ แล้ว ดูเป็นแนวการบิน ผมไม่ค่อยชอบแนวต่อสู้ (action) ผมชอบดราม่า เลยไม่ได้เลือกดู --Aristitleism (พูดคุย) 00:18, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
ม่าม่าจริงๆ จะบอกให้ ป.ล. วันนี้อ่านข่าว The Bangkok Post หน้าหนึ่ง (อ่านได้ฟรี ในรูปแบบเหมือนหนังสือพิมพ์) เขาว่ามีการออกหมายจับคนไทยที่ทำผิดในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ทั้งที่ไม่มีสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับญี่ปุ่น... คุณ Aristitleism ได้เรียน วิ. อาญา มาบ้างแล้วสนใจติดตามบ้างไหมครับ ผมอ่านดูแล้วก็เกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่ง --taweethaも (พูดคุย) 05:24, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)
  1. หมายจับนั้นออกได้อยู่แล้วครับ แม้ไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ออกหมายจับได้เมื่อมีเหตุตามที่กำหนด เช่น มีหลักฐานว่า คนที่จะจับในประเทศไทยนั้นทำความผิดมีโทษจำคุก (ตามกฎหมายไทย) สูง 3 ปีหรือกว่านั้น ฯลฯ
  2. ส่วนเรื่องขึ้นศาล นายคนนั้นเป็นคนไทย ไปฆ่าคนญี่ปุ่นในญี่ปุ่น (คนไทยทำผิดกฎหมายญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่น) ประเทศญี่ปุ่นดำเนินคดีได้อยู่แล้ว ส่วนประเทศไทยก็ดำเนินคดีได้เมื่อญี่ปุ่นร้องขอ
  3. ส่วนเรื่องส่งข้ามแดน ในกฎหมายระหว่างประเทศ มีหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ (reciprocity) ว่า ถ้าไม่ได้สัญญากัน แต่ฉันทำให้คราวนี้ ทีหลังเธอต้องทำให้ฉันด้วยล่ะ และหลักนี้ก็เอามาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนฉบับใหม่ของไทย
    --Aristitleism (พูดคุย) 14:11, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)

ขอบคุณครับ กลับมาเรื่องภาพยนตร์ต่อ โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง ดราม่าจริงๆ (1) มิได้ต่อสู้กันหัวร้างข้างแตกแบบกังฟู แต่เป็นการต่อสู้กับอคติในใจมนุษย์ (2) ไม่เชิงว่าเป็นมนุษยผู้มีขันติธรรมเป็นพิเศษหรือเกิดมาบริสุทธิ์ผุดผ่องแล้วจะผ่องศรีตลอดเรื่อง ในเรื่องนี้ protagonists ก็มีเพลี่ยงพล้ำ ย่อท้อ และอ่อนไหวเพราะอุปสรรคหรือสิ่งเย้ายวนเยี่ยงปถุชนสามัญ (3) คล้ายมิยะซะกิตรงที่ให้ผลทางสันตินิยมและต่อต้านการเลือกปฏิบัติ --taweethaも (พูดคุย) 16:44, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)

ตุลาการเสียงข้างน้อย (ศาล รธน.)[edit]

ผมกำลังอ่าน 17/2555 พบว่ามีตุลาการเสียงข้างน้อย 2 คน แต่หาพบคำวินิจฉัยส่วนตนไม่ ไม่แน่ใจว่ายังเขียนไม่เสร็จ ยังไม่นำมาลง ไม่เปิดเผย หรือไม่จำเป็นต้องเขียนครับ (ตัวคำวินิจฉัยกลางกว่าจะลงเว็บก็นานแสนนานผ่านไป เพิ่งจะได้อ่านประเทืองปัญญาวันนี้พร้อมกับ "คำชี้แจง" กรมสรรพากร) --taweethaも (พูดคุย) 20:56, 25 กันยายน 2555 (ICT)

ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการต้องเขียนคำวินิจฉัยของตัวเองทุกคนครับ เป็นบทบังคับ เพราะต้องการให้ตรวจสอบได้ แล้วคำวินิจฉัยส่วนตัวนี้เองจะเป็นที่มาของคำวินิจฉัยกลาง (เหมือนกับเป็นการออกเสียงของแต่ละคน แล้วก็จะนำไปสู่มติ) แต่ปัจจุบัน บางคดี เขาก็โหวตเป็นวาจา แล้วตัวหนังสือมาทีหลัง ซึ่งค่อนข้างนาน อย่างเช่น คดีแก้รัฐธรรมนูญที่ถ่ายทอดสดออกไทยพีบีเอส อ่านคำวินิจฉัยเป็นวาจาเสร็จแล้ว มีคำสั่งตอนท้ายว่า ให้มารับสำเนาคำวินิจฉัยกลางได้หลังจากนี้อีก 15 วัน ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตัวนั้นมักเผยแพร่หลังคำวินิจฉัยกลางนานไปอีก ไม่ต้องพูดถึงการประกาศในราชกิจจานุเบกษา นานเพิ่มเข้าไปอีกหลายเท่าตัว
ผมมีความรู้สึกส่วนตัวอีกว่า เดี๋ยวนี้เขาไม่เขียนอะไรละเอียด และบางทีอ่านแล้วไม่แจ่มแจ้ง แถมชวนงงเหมือนกับมีอะไรค้าง ๆ อยู่ แต่ถ้าเป็นสมัยที่เอาตุลาการ/ผู้พิพากษาศาลอื่น (ศาลฎีกา ศาลปกครอง) มานั่งเป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อย่างคดียุบพรรคไทยรักไทยที่มีแต่ตุลาการหัวกะทิทั้งนั้น คำวินิจฉัยทั้งกลางและส่วนตัวละเอียดละออมาก เขียนค่อนข้างดี และให้ความเข้าใจชนิดทะลุทะลวงปรุโปร่งแจ่มแจ้ง แต่มีความยาวหลายพันหน้า อ่านกันจนอ้วกแตกเลยทีเดียว
--Aristitleism (พูดคุย) 21:20, 25 กันยายน 2555 (ICT)
ขอบคุณครับ เมื่อยังไม่เห็นคำวินิจฉัย ผมก็เอาเป็นข้ออ้างยังไม่ปรับปรุงบทความที่ว่า ผลัดวันประกันพรุ่งไปก่อน --taweethaも (พูดคุย) 21:37, 25 กันยายน 2555 (ICT)

คำตอบ[edit]

ผมไม่ได้ค้นอะไรมาก แต่คิดว่านอกจากพจนานุกรม มีแนวทางสืบหาคำตอบดังนี้ครับ

  1. ดูบทความ กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได
  2. หมวดหมู่:ชาวไท เริ่มโดยคุณธวัชชัย น่าจะลองถามท่านที่เกี่ยวข้องดูได้
  3. หางานของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ/หรือ จิตร ภูมิศักดิ์ มาลองอ่านดูเรื่องไทย vs สยาม (เช่น ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ)

ผมคิดว่าไม่มีคำตอบเป็นขาวเป็นดำ แต่คนเขียนวิกิพีเดียภาษาไทยควรจะมีข้อตกลงร่วมกันได้ว่าตรงไหนจะให้เขียนด้วยตัวสะกดอย่างไร --taweethaも (พูดคุย) 17:23, 30 กันยายน 2555 (ICT)

2012.10[edit]

ขอบคุณ[edit]

ขอบคุณที่ช่วยแก้คำศัพท์ให้ค่ะ เพิ่งสังเกตว่าพิมพ์ผิด ^^" --Tinuviel | talk 10:53, 1 ตุลาคม 2555 (ICT)

Wikimedia Thailand[edit]

สนใจเข้าร่วม Wikimedia Thailand ไหมครับ บทบาทก็ไม่มีอะไรมากครับ แค่ไปเสนอหน้าร่วมออกความเห็น --浓宝努 14:37, 1 ตุลาคม 2555 (ICT)

ตำนานเมืองจอมทอง[edit]

ตำนานเมืองจอมทอง ผมคิดว่าสามารถเขียนที่วิกิซอร์ซได้ครับ ฝากหน่อยนะครับ --浓宝努 22:56, 7 ตุลาคม 2555 (ICT)

คืออย่างไรครับ ให้ผมคัดไปลงวิกิซอร์ซหรอครับ? --Aristitleism (พูดคุย) 23:02, 7 ตุลาคม 2555 (ICT)
คุณก็ทราบอยู่แล้วนี่นา 😫 --浓宝努 23:18, 7 ตุลาคม 2555 (ICT)

ผมเห็นว่า ที่มีคนเอามาลงในบทความอำเภอจอมทองนั้น ไม่มีลักษณะเป็นงานต้นฉบับ แต่เหมือนเอาของเก่ามาเล่าเป็นภาษาใหม่ --Aristitleism (พูดคุย) 19:56, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)

HotCat[edit]

ตอนนี้การเพิ่มหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยฮอตแคท สามารถใช้งานได้แล้วครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 16:04, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)

ทั้งประเทศใช้กันอย่างนี้นะค่ะคุณ[edit]

แก้กลับเพราะต้องการให้เป็นคำทับศัพท์เกาหลีหรอค่ะ? แต่แฟนคลับทั้งประเทศใช้กันแบบนี้เว็บไซต์หลักของSuperjuniorเองก็ใช้แบบนี้นะคะ เอาเวลาที่แก้ภาษานิดๆหน่อยๆนี้ไปแก้ภาษาวิบัติตอนนี้ดีกว่าค่ะ เพราะชื่อศิลปินผิดเพี้ยนมันทำให้อ่านแล้วเสียความรู้สึกมาก ขอบคุณค่ะ — Preceding unsigned comment added by Engsung (talkcontribs) 00:24, 9 ตุลาคม 2555 (UTC)

วิกิพีเดียไม่ได้มีหน้าที่ตามตูดหรือเอาใจแฟนคลับ และไม่ได้มีหน้าที่วางหลักเกณฑ์แก้ไขภาษาวิบัติในชาติไทย ป.ล. อยากให้วิกิพีเดียแก้ภาษาวิบัติ ตัวเองน่ะเขียน "คะ" / "ค่ะ" ให้ถูกก่อนเถิดนะ --Aristitleism (พูดคุย) 00:35, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)

เด็กไทยไม่กินหวาน[edit]

จากคนเขียน บทความ เด็กไทยไม่กินหวาน ที่คุณแจ้งลบ

เด็กไทยไม่กินหวาน เป็น โครงการที่ทันตแพทย์ร่วมกันทำงานในพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ครับ หลายแห่งใช้ข้อมูลในนี้เพื่อสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายฯ หวังว่าคุณ Aristitleism จะเข้าใจ และยกเลิกการแจ้งลบหน้าของเราด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

— Preceding unsigned comment added by Maikinwan (talkcontribs) 07:11, 9 ตุลาคม 2555 (UTC)

คุณควรไปคัดค้านการแจ้งลบตามวิธีการที่ระบุไว้ในหน้านั้น โดยแสดงว่า บทความมีความสำคัญอย่างไรจึงสามารถอยู่ได้ในวิกิพีเดียครับ เพราะปัจจุบัน ในบทความไม่ได้แสดงความสำคัญ และไม่มีแหล่งอ้างอิงเลย --Aristitleism (พูดคุย) 11:04, 9 ตุลาคม 2555 (ICT)

Re:[edit]

ขอบคุณครับ --Horus | พูดคุย 11:23, 12 ตุลาคม 2555 (ICT)

ญ-ฐ[edit]

ผมได้สร้างกลุ่ม แม่แบบ:ญ-ฐ ขึ้นมาแล้วครับ สำหรับแทนภาษาบาลีหรือการเขียนแบบโบราณ สามารถใช้ได้ตามสะดวกทั้งวิกิพีเดียและวิกิซอร์ซ --浓宝努 19:07, 19 ตุลาคม 2555 (ICT)

Aristitleism ถูกใจสิ่งนี้ ขอบพระคุณครับ --Aristitleism (พูดคุย) 19:08, 19 ตุลาคม 2555 (ICT)

ธรรมศาสตรา?[edit]

ผมไปพบคำหนึ่ง คือ Dharmaśāstra ตอนแรกก็คิดถึง พระธรรมศาสตร์ เพราะเห็นบอกว่าเป็นประมวลกฎหมาย แต่เข้าไปดูก็ว่า ทั้งสองอย่างนี้มีบทความแยกกัน ผมเลยสงสัยว่าจะถอดมาอย่างไรดี "ธรรมศาสตรา" หรือครับ --Horus | พูดคุย 01:21, 20 ตุลาคม 2555 (ICT)

  1. ที่จริงผมเรียนกฎหมายปัจจุบันนะครับเนี่ย 55+
  2. ส่วน "ธรรมศาสตร์" นั้นมี 5 ความหมาย (ที่ไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย) คือ
    1. ธรรมศาสตร์ 1 - ความรู้กฎหมายทั่วไป, นิติศาสตร์ หรือนิติปรัชญา ภาษาอังกฤษใช้ว่า jurisprudence และเมื่อก่อนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็มีหลักสูตร "ธรรมศาสตรบัณฑิต" ใช้ภาษาอังกฤษว่า bachelor of jurisprudence
    2. ธรรมศาสตร์ 2 - ศาสตร์ที่ว่าด้วยธรรม และ "ธรรม" ในที่นี้หมายถึง กฎเกณฑ์ กฎหมาย ข้อปฏิบัติ ฯลฯ เป็นชื่อศาสตร์ (วิชาการ) ของอินเดียที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติตัวทางสังคมและศาสนา และเขียนเป็นคัมภีร์หลายเวอร์ชัน - ตรงกับ en:Dharmaśāstra
    3. ธรรมศาสตร์ 3 - เป็นเวอร์ชันหนึ่งของธรรมศาสตร์ 2 - ชื่อจริงของเวอร์ชันนี้ คือ มนูธรรมศาสตร์, มนุสัมหิตา หรือมนุสัมฤติ แต่มักเรียกกันว่า "ธรรมศาสตร์" - ตรงกับ en:Manusmṛti
    4. ธรรมศาสตร์ 4 - เป็นชื่อกฎหมายที่ใช้ในกรุงศรีอยุธยา (มีหลายส่วน แต่ก็เรียกรวมกันว่า ธรรมศาสตร์ หรือพระธรรมศาสตร์, คล้าย ๆ จะเป็นประมวล แต่ไม่เป็นระเบียบ นักกฎหมายบางคนจึงเรียก ประชุม (ประชุมกฎหมาย)) - ไทยรับมาจากคัมภีร์ "ธรรมสัตถัม" ของมอญ และเหมือน ธรรมสัตถัมจะมีที่มาจากธรรมศาสตร์ 3 (มนูธรรมศาสตร์) ไม่แน่ใจเท่าไรครับ - ลองดูเพิ่มเติมที่ ตำนานกฎหมายเมืองไทย
    5. ธรรมศาสตร์ 5 - เป็นชื่อกฎหมายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชำระขึ้นมาจากธรรมศาสตร์อยุธยา แต่รัชกาลที่ 1 บอกว่า ฉบับอยุธยาโดนเผาไปเสียเยอะ ฉบับชำระใหม่นี้เป็นแค่เสี้ยวเดียวเท่านั้น - ฉบับนี้มักเรียกกันว่า "กฎหมายตราสามดวง" แต่ชื่อจริง ๆ คือ "ธรรมศาสตร์" หรือ "พระธรรมศาสตร์"
  3. ส่วนชื่อ (ชื่อบทความหรือชื่ออื่น ๆ)
    1. ธรรมศาสตร์ 1 ไม่เป็นปัญหาอะไร
    2. ธรรมศาสตร์ 2 อาจใช้ว่า "ธรรมศาสตร์"
    3. ธรรมศาสตร์ 3 อาจใช้ว่า "มนูธรรมศาสตร์" (มีบทความอยู่ คือ พระธรรมศาสตร์)
    4. ธรรมศาสตร์ 4 ถ้าจะมีบทความ อาจใช้ว่า "พระธรรมศาสตร์"
    5. ธรรมศาสตร์ 5 ถ้าจะมีบทความ อาจใช้ว่า "กฎหมายตราสามดวง"
  4. ข้อ 3 เป็นความเห็นส่วนตัว อาจแก้ความกำกวมด้วยวิธีอื่นก็แล้วแต่ครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 02:06, 20 ตุลาคม 2555 (ICT)

ขอบคุณครับ เช่นนั้นใช้เป็น "ธรรมศาสตร์" แล้วแก้ความกำกวมเอาแล้วกัน --Horus | พูดคุย 02:14, 20 ตุลาคม 2555 (ICT)

ข้อความจาก pepConanpep[edit]

มายุ้งอะไรกับเราฮะไอบ้า--pepConanpep (พูดคุย) 17:00, 25 ตุลาคม 2555

Commons[edit]

Good evening!

Something is bad with your uploads. Incnis Mrsi (พูดคุย) 20:51, 21 ตุลาคม 2555 (ICT)

Thanks. I've given a reply there. --Aristitleism (พูดคุย) 21:09, 21 ตุลาคม 2555 (ICT)

2012.11[edit]

พิมประภา ตั้งประภาพร[edit]

ลบเนื้อหาทำไมเหรอคะ ที่ทำการเปลี่ยนแปลงก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องแล้ว ดิฉันใส่รูปคุณก็ลบออก ดิฉันเพิ่มประวัติคุณก็ลบออก ผิดตรงไหนเหรอคะ — Preceding unsigned comment added by 171.100.83.202 (talk) 13:23, 24 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

  1. เว็บรองเท้าไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล แม้เป็นสินค้าของบุคคลนั้น ทั้งยังเป็นการโฆษณาซึ่งห้ามทำในวิกิพีเดียด้วย
  2. ประวัติที่ลง มีความไม่เป็นสารานุกรม (เช่น ไร้สาระ เป็นเรื่องปลีกย่อย ฯลฯ)
  3. รูปมีลายน้ำ ต้องถูกลบทิ้งตามนโยบายการใช้ภาพครับ
  4. ไปศึกษารายละเอียดดูเอาตามลิงก์นะครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 13:27, 24 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

การลบเนื้อหา[edit]

ในบทความ บางแก้ว(วงดนตรี) มีส่วนไหนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของคุณหรือไม่คะ ทำไมถึงทำการลบเนื้อหา — Preceding unsigned comment added by Dek bk (talkcontribs) 12:40, 5 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

คิดว่าคงได้คำตอบแล้วนะครับ ผมจึงของดตอบ --Aristitleism (พูดคุย) 16:59, 5 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

คิดจะลบก็ลบ[edit]

คุณชื่อฝรั่ง — Preceding unsigned comment added by Supotmails (talkcontribs) 20:57, 5 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

สงสัยเรื่องการเปลี่ยนชื่อบทความ[edit]

สวัสดีครับคุณ Aristitleism ผมสงสัยว่าคุณเปลี่ยนชื่อบทความเองไม่ได้หรอครับ (ที่แจ้งไว้ว่าให้เปลี่ยน กูเกิล ทรานสเลต => กูเกิลแปลภาษา) --Nullzero (พูดคุย) 13:26, 26 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

ติดฟิลเตอร์คำว่า "แปลภาษา" ครับ --Aristitleism (พูดคุย) 13:28, 26 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

เพราะ?[edit]

การที่คุณไม่รู้จักวงนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีชื่อเสียง กรุณาอย่าไช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง!!! ขอบคุณ — Preceding unsigned comment added by Pak6639 (talkcontribs) 17:21, 26 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

ผมไม่ได้ใช้ตนเองเป็นเครื่องวัดว่าบทความจะอยู่หรือไป แต่ผมระบุไว้อย่างชัดเจนในเหตุผลที่แจ้งลบแล้วว่า บทความไม่ผ่านเกณฑ์อย่างนั้นอย่างนี้ คุณจงพิจารณาดูด้วยสติปัญญาเถิด และถ้าเห็นแย้งก็คัดค้านการลบได้ตามวิธีการที่ปรากฏอยู่แล้ว การต่อว่าผมไม่ทำให้บทความสามารถอยู่ต่อไปได้แต่ประการใด ขอบพระคุณครับ --Aristitleism (พูดคุย) 17:25, 26 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

Wikisource ที่เคยถามมาว่าทำแบบของภาษาอังกฤษได้ไหม[edit]

ท่านเจ้าประคุณที่ผมเคยเรียนถามท่านไปเมื่อหัวปีนั้น วันนี้ฝนตกห่าใหญ่ท่านตอบผมมา จึงนำคำตอบมาสู่ท่าน Aristitleism ต่อไป

The software is installed ...

https://www.mediawiki.org/wiki/Extension:Proofread_Page https://th.wikisource.org/wiki/Special:IndexPages

but it needs to be translated ...

https://th.wikisource.org/w/index.php?title=special:allmessages&prefix=proofread&filter=all&lang=th&limit=50

https://translatewiki.net/w/i.php?title=Special%3ATranslate&taction=translate&group=ext-proofreadpage&language=th&limit=100&task=untranslated

and configured ...

https://bugzilla.wikimedia.org/show_bug.cgi?id=40759

https://bugzilla.wikimedia.org/show_bug.cgi?id=37839

สรุปง่ายๆ ว่าถ้าเราอยากได้หน้าอย่างภาษาอังกฤษต้องแจ้งบั๊กซิลา และอาจต้องแปลถ้าอยากเห็นหน้าจอเป็นภาษาไทย แต่ที่แน่ๆ คือมีอยู่แล้วบนเครื่องไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม แค่บอกบั๊กซิลลาให้เปิดใช้งานก็จะได้ใช้งานครับ --taweethaも (พูดคุย) 17:19, 27 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญราศีซึ่งจะเกิดมีแก่วิกิซอร์ซในครั้งนี้ด้วยเทอญ สาธุ (พนมมือจบศีรษะ) ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยลูกช้างว่างแล้วจะมาสนทนาภายหลังขอรับ --Aristitleism (พูดคุย) 17:53, 27 พฤศจิกายน 2555 (ICT)


หน้าของ แดซองที่แก้เป็น แดซ็อง[edit]

คือว่ามือใหม่ครับ สงสัย ว่าทำไมถึงเปลี่ยน แดซอง เป็น แดซ็อง เพราะจริง ๆ มันเขียนว่า แดซอง นะครับ แล้วก็ ที่บอกว่าให้แก้ไขเรื่องภาษา ต้องแก้อะไรครับ ไม่รู้จริง ๆ บทความนี้จริง ๆ ก็แปลมาจาก ภาษาอังกฤษที่ wiki มีอยู่แล้วเป็นภาษาอังกฤษ แค่แปลออกมาเป็นภาษาไทยเท่านั้น

— Preceding unsigned comment added by Daelover (talkcontribs) 00:16, 29 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

  1. ที่เขียนแดซ็อง เพราะเป็นไปตาม ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลี ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2555
  2. ที่บอกว่าควรแก้ไขเรื่องภาษา เพราะมีข้อบกพร่องเรื่องภาษา เป็นต้นว่า หลาย ๆ คำสามารถใช้คำไทยแทนได้ (โซโล่, เดบิวต์, มอเตอร์ไซค์, ท็อป ฯลฯ), หลาย ๆ จุดควรเขียนให้ถูกไวยากรณ์ไทยและอักขรวิธีที่เป็นมาตรฐานของภาษาไทย (เช่น เรื่องภาษา หลายแห่งเขียนให้ดีกว่าได้ เป็นต้นว่า "ตั้งแต่ถูกปล่อยออกมา" ในภาษาไทย "ถูก" มักใช้ในความหมายไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกด่า ถูกข่มขืน ฯลฯ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้ครับ และหลายแห่งเป็นภาษาปาก รวมตลอดถึงเรื่องเครื่องหมายวรรคตอน และเรื่องเขียนสะกดคำ), และอื่น ๆ อีก แต่ผมไม่ว่างตรวจดูให้ จึงแปะป้ายไว้ เผื่อใครว่างจะได้ปรับปรุงครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 06:52, 29 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

คะ! ในส่วนนี้ทราบคะ แต่ขอชี้แจงหน่อยนะคะ ในส่วนของคำศัพท์ใหม่ ซึงอาจารย์กาญจนาได้บอกแล้วว่า หากไม่ชินหรือไม่คล่องที่จะใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ (และในความเป็นจริง..แน่นอนว่ายังไม่มีใครชินแน่นอน ซึ่งอาจรวมถึงตัวคุณด้วยเช่นกัน และแม้ว่ามันจะเป็นบทบัญญัติใหม่ที่ต้องใช้ แต่ด้วยที่ดิฉันได้บอกไปแล้ว อาจารย์กาญจนาได้บอกไว้อย่างนั้นคะ) อีกประการหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ คำว่า "แดซอง" หรือชื่อ "แดซอง" >>ไม่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่ได้เป็นคำทับศัพท์<< คะ ขอให้รับทราบตรงนี้นะคะ ย้ำ! >>ไม่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่ได้เป็นคำทับศัพท์<< แต่อย่างใด คะ ดังนั้น "แดซ็อง" ที่คุณเปลี่ยนจึงผิดคะ และได้โปรดพิจารณา ขอกรุณาเปลี่ยนเป็น "แดซอง" แบบนี้เหมือนเดิมด้วยนะคะ

— Preceding unsigned comment added by PPdaesung (talkcontribs) 19:38, 29 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

  1. คนละเรื่องกันแล้วครับ เราไม่ได้เขียนทับศัพท์ตามข้อเสนอของกาญจนา นาคสกุล (นั่นเป็นเรื่องพจนานุกรม แต่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีข้างต้นไม่ใช่พจนานุกรม)
  2. เป็นระเบียบภายในวิกิพีเดียเองที่จะยึดถือแบบแผนทางวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้สารานุกรมเป็นเอกภาพ (ดู วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์#การทับศัพท์ชื่อ)
  3. คำทับศัพท์ คือ คำของภาษาหนึ่งที่เขียนด้วยอักขรวิธีของอีกภาษาหนึ่ง เช่น (1) หมา - ma; (2) あの花 - anohana; (3) sans attendre - ซ็องซาต็องดร์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น Daesung ไม่ว่าจะเขียนด้วยอักษรไทยเป็น "แดซอง" ก็ดี หรือ "แดซ็อง" ก็ดี จึงเป็นการเขียนคำทับศัพท์ทั้งสิ้น
  4. ไม้ไต่คู้ไม่ใช่วรรณยุกต์ครับ ไปย้ำตัวเองก่อนนะครับ
  5. แล้วก็ใช้ "คะ, ค่ะ" ให้ถูกต้องด้วยนะครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 19:57, 29 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

ตกลงค่ะ คงไม่ต้องมาถกกันเรื่องนี้หรอกค่ะ รับทราบเรื่องการใช้คำผิดค่ะ แต่ว่า..ต้องมาไล่แก้ทั้งหมดเนี้ย บางทีคิดว่ามันจะเป็นปัญหากับผู้ใช้มากเกินไปรึเปล่าคะ? — Preceding unsigned comment added by PPdaesung (talkcontribs) 20:40, 29 พฤศจิกายน 2555 (UTC)

ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรสำหรับทางวิกิพีเดีย และเห็นว่าจะไม่เป็นปัญหาแก่ผู้ใช้โดยทั่วไปครับ เพราะสารานุกรมที่ดีควรมีแบบแผนในการเขียนเนื้อหาเป็นเอกภาพ การเขียนคำทับศัพท์บางภาษา เช่น ภาษาเกาหลี เมื่อก่อนไม่มีหลักเกณฑ์ จึงเขียนกันไปพันทาง แต่เดี๋ยวนี้มีแบบแผนแล้ว เราก็เพียงแต่อาศัยแบบแผนนั้นเพื่อประโยชน์ในการสร้างสารานุกรมที่เป็นระบบระเบียบ --Aristitleism (พูดคุย) 21:16, 29 พฤศจิกายน 2555 (ICT)
ถ้าในหน้านั้น เปลี่ยนให้แล้วครับ copy ข้อความทั้งหมดมาลง text editor แล้ว search & replace คลิ๊กเดียวจบครับ แต่ถ้ามีหน้าอื่นอีก ให้บอกด้วยครับ เดี๋ยวผมใช้บอตแก้ให้ --Nullzero (พูดคุย) 20:46, 29 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

2012.12[edit]

รบกวนแนะนำการตั้งชื่อบทความเหล่านี้หน่อยครับ[edit]

สวัสดีครับคุณ Aristitleism รบกวนแนะนำการตั้งชื่อบทความเหล่านี้หน่อยครับ ผมทำเป็นตารางอยู่ที่ ผู้ใช้:Nullzero/วิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าไปแนะนำ/แก้ได้เลย ขอบคุณมากนะครับ :) --Nullzero (พูดคุย) 17:00, 2 ธันวาคม 2555 (ICT)

ถามคุณ Octahedron80 ดีแล้วครับ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะทาง ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง แต่ผมไม่ได้เรียนทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ จึงไม่สามารถให้คำแนะนำได้จริง ๆ ครับ ขออภัยด้วยครับ --Aristitleism (พูดคุย) 17:31, 2 ธันวาคม 2555 (ICT)
ครับผม :)) --Nullzero (พูดคุย) 17:47, 2 ธันวาคม 2555 (ICT)

รบกวนทับศัพท์ฝรั่งเศส[edit]

รบกวนทับศัพท์คำว่า "Le miracle" เป็นไทยให้หน่อยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ--เอ็มสกาย (พูดคุย) 16:28, 4 ธันวาคม 2555 (ICT)

"เลอมีรักล์" ครับ (    เลอ มีรัก เกล ปาร์ตู มง นามูร์...น้า นา นา หน่า นา น้า นา...โซรา ตูว์ เลอ วัวร์...น้า นา นา หน่า นา น้า นา... ) --Aristitleism (พูดคุย) 16:55, 4 ธันวาคม 2555 (ICT)

ขอบคุณครับ --เอ็มสกาย (พูดคุย) 15:55, 8 ธันวาคม 2555 (ICT)

ขอให้ทำการลบ[edit]

สวัสดีครับคุณAristitleismเนื่องจากกระผมเพิ่งเริ่มหัดเขียนบทความกระผมได้ทดลองเขียนบทความที่ชื่อไพรัตน์ วิเศษสิงห์แต่ดันไปกดเซฟจะทำการลบแต่ลบไม่ได้และมีข้อความส่งเข้ามากระผมจึงไส่แม่แบบลบนั้นแทนตามที่ส่งมาแต่ก็ไม่อาจลบได้ลองเปลี่ยนชื่อเส้นทางแล้วยิ่งไปใหญ่เลยกระผมอยากให้คุณAristitleismทำการลบครับเพราะผมเริ่มทดลองเขียนแต่ไปกดปุ่มเซฟต้องขออภัยด้วยครับมือใหม่จริงๆบทความผิดพลาดที่ต้องการให้ลบคือบทนี้ครับไพรัตน์ วิเศษสิงห์ขอขอบคุณครับ--Pairat visetsing

ไม่ต้องตื่นตกใจไปครับ สร้างบทความผิด (โดยไม่เจตนา) ไม่เป็นความผิดหรือมีโทษทัณฑ์แต่ประการใดครับ และถ้าขึ้นป้ายลบไว้อย่างมีเหตุผล สักพักก็ถูกลบเองครับ อนึ่ง ผมเป็นผู้ใช้สามัญ ไม่มีอำนาจลบบทความได้ครับ --Aristitleism (พูดคุย) 02:57, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

ขอขอบคุณAristitleismมากครับต่อไปกระผมจะศึกษาให้ลึกซึ่งกว่านี้เพื่อความถูกต้องครับ--Pairat visetsing

พิพิธภัณฑ์อิสราเอล[edit]

it is the first temple model of king Solomon, not the temple of Hordos. Thank you. פארוק (พูดคุย) 13:09, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

Not 'Hordos', but 'Herod', pursuant to the description provided in the file itself ("A model of Herod's Temple adjacent to the Shrine of the Book exhibit at the Israel Museum, Jerusalem.") --Aristitleism (พูดคุย) 13:16, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)
In Jerusalem were two temples. this is a model of the 2nd temple. פארוק (พูดคุย) 22:27, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

I wrote in the Article that the picture in question shows the Temple of Herod, pursuant to its description. But I don't exactly know whether or not the description is correct. --Aristitleism (พูดคุย) 22:42, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

I am sorry ! My mistake !, You're right !, this is the temple of Herod, but in Hebrew we called this the "Second Temple", and not "Herod Temple". פארוק (พูดคุย) 03:38, 6 ธันวาคม 2555 (ICT)

บทความกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน[edit]

มีสามตัวที่สำคัญดังนี้ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รวบรวมไว้

  1. กฎอัยการศึก
  2. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
  3. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551

ไม่ทราบว่าคุณ Aristitleism ประสงค์จะทำเป็นบทความวิกิพีเดียหรือทำไว้ให้แพร่หลายในวิกิซอร์สหรือไม่ครับ --taweethaも (พูดคุย) 16:27, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

1-3 มีในวิกิซอร์ซภาษาไทยหมดแล้ว โดย 2 กับ 3 นั้นแปลไปลงวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษด้วยแล้วครับ ส่วนอันที่ 1 แปลเสร็จแต่ยังไม่ว่างตรวจ ส่วนในวิกิพีเดีย ยังไม่มีความปรารถนาจะเริ่มต้นบทความใหม่ครับ เพราะผมจะว่างตั้งแต่วันจันทร์หน้าเป็นต้นไป แต่ก็คิดอยู่ในหัวว่า ถ้าว่างแล้วก็จะไปเขียนตำราในวิกิตำราให้เสร็จน่ะครับ สรุปคือ มีแผนไปบุกเบิกในโครงการอื่นมากกว่าครับ --Aristitleism (พูดคุย) 16:35, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)
รับทราบ/ขอบคุณครับ --taweethaも (พูดคุย) 16:38, 5 ธันวาคม 2555 (ICT)

Pairat visetsing[edit]

ขอคำชี้แนะ[edit]

สวัสดีครับคุณ Aristitleismกระผมมาขอคำชี้แนะการใช้ลิ้งค์นี้ครับ{{Uncategorized|year=2012|month=December|day=8}}กระผมอยากทราบว่าต้องใช้อย่างไรครับลิ้งค์นี้ขึ้นอยู่ที่หน้ารูปภาพขอบคุณครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 23:18, 8 ธันวาคม 2555 (ICT)

คุณไม่ได้จัดหมวดหมู่ให้แก่ไฟล์ที่คุณอัปโหลดไว้ในคอมมอนส์ คุณก็จัดหมวดหมู่ แล้วนำป้ายนั้นออกเสียครับ --Aristitleism (พูดคุย) 23:44, 8 ธันวาคม 2555 (ICT)

ขอวิธีการวางหมวดหมู่ด้วยครับต้องวางตรงตำแหน่งใดและแทรกไว้ตรงบรรทัดใดครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 01:08, 9 ธันวาคม 2555 (ICT)

หน้าที่เป็นปัญหาอยู่ที่ใดครับ --Aristitleism (พูดคุย) 01:12, 9 ธันวาคม 2555 (ICT)

หน้านี้ครับPairat_visetsing --Pvisetsing (พูดคุย) 01:18, 9 ธันวาคม 2555 (ICT)


เป็นหน้าใน "คอมมอนส์" อย่างที่ผมคาดไว้ข้างต้นจริงด้วยครับ การใส่หมวดหมู่ก็เหมือนกับการใส่ข้อความลงไปในบทความทั่วไปครับ กล่าวคือ คุณ (1) กดแก้ไข (edit) ในหน้านั้น, (2) แล้วก็วางหมวดหมู่ (category) ลงไปตรงล่างสุดของหน้า, (3) เอาป้าย "Uncategorized" ออก และ (4) กดบันทึก (save)

เช่น เลื่อนลงไปสุดกรอบข้อความของหน้านี้ คุณจะเห็นข้อความ

  • "[[Category:Uploaded with UploadWizard]]"
  • "[[Category:Rama VII]]"

หมายความว่า หน้านั้นอยู่ในหมวดหมู่ "Uploaded with UploadWizard" กับหมวดหมู่ "Rama VII"

สำหรับคุณ คุณก็หาดูว่าภาพของคุณอยู่ในหมวดหมู่อะไร แล้วก็ใส่หมวดหมู่นั้นลงไปในหน้าของภาพคุณ เช่น สมมุติว่าอยู่ "Category:User page images" คุณก็เอาข้อความว่า "[[Category:User page images]]" ไปใส่ไว้ในหน้าของภาพคุณ เท่านั้นครับ

--Aristitleism (พูดคุย) 01:29, 9 ธันวาคม 2555 (ICT)

ได้แล้วครับขอขอบคุณมากๆเลยครับเป็นความรู้ที่สร้างสรรค์ไปอีกขั้นหนึ่งจากคุณAristitleismขอบคุณครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 01:40, 9 ธันวาคม 2555 (ICT)

ภาพ[edit]

คุณAristitleismครับกระผมอยากให้ตรวจทานภาพนี้ว่าจะผ่านหรือไม่ครับภาพเสรีขอบคุณครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 06:59, 10 ธันวาคม 2555 (ICT)

  1. มีภาพหนึ่งภาพคนอื่นสร้างสรรค์ไว้ แล้วคุณถ่ายภาพนั้นซ้ำ ภาษากฎหมายเรียกการกระทำของคุณว่า "ทำซ้ำ" (ทำงานขึ้นโดยเลียนแบบหรือสำเนางานต้นฉบับในส่วนสาระสำคัญ) และคุณไม่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานทำซ้ำแต่ประการใด เจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานต้นฉบับ นอกจากนี้ การทำงานเขาซ้ำโดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากเขา ก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนึ่ง
  2. แต่เมื่อภาพมีลิขสิทธิ์ ก็ไม่ได้หมายความว่าใช้ไม่ได้ เราจะใช้แบบที่เรียกว่า "ใช้โดยชอบธรรม" (fair use)
  3. อย่างไรก็ดี ภาพของณัฏฐา โกมลวาทิน ข้างต้น มีภาพที่ใช้ได้โดยเสรีจากส่วนกลางอยู่แล้ว (คือ ไฟล์:Nattha Komolvadhin.jpg) ก็ไม่จำเป็นต้องมีภาพสำหรับใช้โดยชอบธรรมในวิกิท้องถิ่นอีก ฉะนั้น ผมจึงแจ้งลบภาพโดยให้เหตุผลว่า มีภาพจากคอมมอนส์แทนได้ครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 11:38, 10 ธันวาคม 2555 (ICT)

ลิขสิทธิ์ภาพ[edit]

สวัสดีครับคุณAristitleismกระผมได้มีความเข้าใจในเรื่องของการอัปโหลด(upload)รูปภาพและการใช้รูปภาพบนWikipediaในรายระเอียดดังต่อไปนี้

  • ในการอัปโหลดภาพหากภาพนั้นมีมีการสร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้นแล้วการสร้างขึ้มาอีกจะซ้ำซ้อนและอาจมีลิขสิทธิ์ครองอยู่แล้วการสร้างขึ้นมาใหม่

จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพไปโดยปริยาย

  • รูปภาพถ่ายสามารถใช้ไฟล์ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นได้ฉะนั้นการอัปโหลด(upload)ไฟล์ต่างชื่อแต่มีลักษณะใบหน้าเดียวกันจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาในรูปแบบภาพถ่ายเองหรือการใช้งานโดยชอบธรรมและภาพสื่อเสรีไฟล์ของงานสร้างนั้นจะเข้าสู่ปูมการลบทันทีถึงแม้

ว่าจะสร้างขึ้นมาในรูปแบบลิขสิทธิ์การใช้โดยชอบธรรมแต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้แทนภาพที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นในลักษณะการทำซ้ำได้เสมอไป ขอขอบคุณคุณAristitleismเนื้อหานี้เป็นประโยชณ์อย่างสูงสุดของกระผมในการที่จะเป็นแนวทางการเขียนบทความWikipediaได้อย่างถูกต้อง ทั้งในปัจุบันและอนาคตขอบคุณครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 20:46, 10 ธันวาคม 2555 (ICT)


จะให้เข้าใจง่าย ก็คือว่า
  1. ภาพที่ใช้งานได้โดยเสรี คือ ภาพที่เจ้าของยกให้ใช้ฟรี
  2. ภาพที่ใช้งานโดยชอบธรรม คือ ภาพที่ใช้แบบละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มีเหตุผลอันชอบธรรมที่จะละเมิด เช่น เพื่อการศึกษา
  3. ถ้ามีภาพที่ใช้งานได้โดยเสรีแล้ว ก็ไม่จำต้องอัปโหลดภาพมาใช้โดยชอบธรรมอีกครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 20:51, 10 ธันวาคม 2555 (ICT)

Gallery tool: files uploaded[edit]

คุณAristitleismครับอันนี้หมายถึงอะไรครับกระผมไปเปิดเจอครับGallery tool:files uploadedหน้านี้ครับ--Pvisetsing (พูดคุย) 20:03, 11 ธันวาคม 2555 (ICT)

คิดว่าคงได้คำตอบแล้วนะครับ ผมจึงของดตอบ --Aristitleism (พูดคุย) 01:27, 12 ธันวาคม 2555 (ICT)

ซูสีไทเฮา[edit]

ก็ของไทยพีบีเอสนั่นแหล่ะครับ แต่เป็นเวอร์ชั่น DVD ของ TPBS แทน เค้าใช้ชื่อฉบับดีวีดีว่า ซูสีไทเฮา ก่อนแผ่นดินสิ้นสลาย ครับ [2] -☭ Walker Emp (พูดคุย) 02:24, 12 ธันวาคม 2555 (ICT)

ผมเพิ่งทราบว่ามีแผ่นขายด้วย แต่ตอนฉายโทรทัศน์เขาใช้ "ซูสีไทเฮา" เฉย ๆ ถ้าอย่างนั้นก็โปรดแก้ตามที่เห็นสมควรเลยครับ --Aristitleism (พูดคุย) 02:35, 12 ธันวาคม 2555 (ICT)

PD-TH-exempt ที่คอมมอนส์มีปัญหา[edit]

มีคนจะลบภาพตราจังหวัดของไทยที่คอมมอนส์ครับ แจ้งลบเถือกมาหลายไฟล์เมื่อวานนี้ โดยให้เหตุผลว่ามันเป็นรูปภาพไม่ใช่ข้อความ คือเถียงว่า PD-TH-exempt ในรุ่นภาษาอังกฤษระบุว่า พรบ.ลิขสิทธิ์ ม.๗ ครอบคลุมแต่ข้อความ ไม่ครอบคลุมรูปภาพ มันจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติ แต่ผมก็ได้อธิบายไปแล้วว่า พรบ.ลิขสิทธิ์ ม.๗ ให้อนุญาตทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งรูปภาพด้วยเป็นสาธารณสมบัติ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของเอกสาร มีเรื่องที่อยากจะขอร้องอยู่สองเรื่อง

  1. ช่วยไปอธิบายให้ชาวโลก โดยเฉพาะฝรั่งคนนี้ เข้าใจกฎหมายมาตรานี้หน่อยครับ commons:Commons:Deletion requests/Thai provincial seals
  2. แก้ไขแม่แบบ PD-TH-exempted ในรุ่นภาษาอังกฤษ ให้ตรงตามเจตนารมย์ของกฎหมายไทยครับ commons:Template:PD-TH-exempt/en (อย่าลืมระบุเหตุผล)
  3. ตราจังหวัดของไทย และภาพอื่น ๆ ที่มาจากเอกสารราชการ จะได้รักษาไว้บนคอมมอนส์ได้ด้วยป้ายอันใหม่นี้ครับ

--浓宝努 23:21, 13 ธันวาคม 2555 (ICT)

  1. มาเขียนที่นี่ก่อนครับ ยังไม่ไปคอมมอนส์
  2. ผมขอออกตัวก่อนครับว่า กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสาขาที่ผมไม่ชอบจริง ๆ และผมไม่รับรองว่าผมจะพึ่งพาได้นะครับ อยากให้รำลึกว่า ผมแค่นักศึกษาจบใหม่คนหนึ่ง รอเรียนปริญญาโท ซึ่งก็จะไม่เลือกเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้วย เว้นแต่จำเป็น (ผมเห็นคุณ Octaฯ บอกฝรั่งว่า จะไปเรียก lawyer มา เลยยังไม่ไปแสดงตัว ผมแค่ law student ความเห็นผมไม่มีน้ำหนักอะไร)
  3. จากที่อ่านการอภิปรายในคอมมอนส์ดูคร่าว ๆ ปัญหาก็คือว่า คำว่า "งาน" ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ต่อไปจะเรียก "พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์") มาตรา 7 หมายความรวมถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากข้อความ (text) เช่น ภาพ (picture), แบบ (design), แผน (plan) ตลอดจนวัตถุไม่มีรูปร่าง (incorporeal object) เช่น บทเพลง, เสียง ฯลฯ หรือไม่
  4. พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ไม่ได้นิยามว่า "งาน" นี่คืออะไรบ้าง และเท่าที่ทราบ ก็ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องนี้ (แต่จะลองไปคุ้ยดูอีกทีครับ)
  5. เพราะฉะนั้น ก็เลยต้องว่ากันตามความเห็นส่วนตัว
    1. ผมพิจารณาพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มาตรา 6 ซึ่งบอกว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. นี้ คือ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม ฯลฯ ที่บุคคลสร้างสรรค์ขึ้น ฉะนั้น แสดงว่า คำว่า "งาน" ย่อมหมายถึง งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม ฯลฯ
    2. แล้วพอพิจารณานิยามของงานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม ฯลฯ ตามมาตรา 4 จะเห็นว่า กินความหมายถึง ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพพิมพ์ และสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากข้อความด้วย
    3. ก็แสดงว่า คำว่า "งาน" ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ หมายความรวมถึง สิ่งอื่นนอกเหนือไปจากข้อความ
    4. แม้มาตรา 7 (1) จะบอกว่า ไม่รวมถึงงานในแผนกวรรณคดี แผนกศิลปะ ฯลฯ แต่ก็ใช้สำหรับกรณีตาม (1) นี้เท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีตามอนุมาตราอื่นของมาตรา 7
    5. ประกอบกับในทางข้อเท็จจริง งานหลายประเภทที่ไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 ก็มีสื่ออื่นนอกจากข้อความพ่วงอยู่ด้วย เช่น ล่าสุดเลย "กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2555" (โหลดโหด) ก็มีแผนที่แปะอยู่ท้ายกฎกระทรวงด้วย ถ้าจะเอาแต่ตัวข้อความกฎกระทรวงเป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ แล้วให้ภาพแผนที่เป็นงานมีลิขสิทธิ์แยกต่างหาก ก็น่าจะไม่สมกับเจตนารมณ์ของมาตรา 7 ที่ประสงค์จะให้ประชาชนเข้าถึงและมีการเผยแพร่เอกสารมหาชนได้อย่างไม่มีการปิดกั้น ประกอบกับงานทุกส่วนนั้นเกี่ยวเนื่องกันและมีไว้เพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น ให้ดูตัวกฎกระทรวงฟรี แต่จะดูแผนที่ท้ายกฎกระทรวงต้องจ่ายเงินก่อนเป็นค่าลิขสิทธิ์อย่างนั้นหรือ ทั้งโดยสภาพแล้ว งานพวกนี้ก็ไม่ใช่งานที่จะถือลิขสิทธิ์หวงห้ามป้องกันสำหรับประโยชน์ทางการค้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องกับประโยชน์มหาชน โดยเฉพาะพวกที่เมื่อเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาด้วยแล้ว ก็อาจถือได้ว่า ทุกส่วนที่เผยแพร่เป็นไปเพื่อประโยชน์มหาชน เข้าคำว่า "งาน" ตามมาตรา 7 หมด ไม่ว่าจะเป็นตัวข้อความ หรือภาพประกอบข้อความ เป็นต้น
    6. แต่มีข้อสังเกตว่า งานบางอย่างที่มาคู่กับงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 อาจมีลิขสิทธิ์ก็ได้ แต่ปรกติมักมีกฎหมายควบคุมการเผยแพร่อยู่แล้ว เช่น ถ้าใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการ ก็ใช้ได้ ฯลฯ
    7. อนึ่ง แม้งานบางอย่างไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ก็อาจมีกฎหมายกำหนดวิธีใช้อยู่ เช่น ตราครุฑ (แต่นั่นก็เป็นเรื่องวิธีใช้ ไม่ใช่ข้อหวงกันลิขสิทธิ์)
    8. อนึ่ง ถ้าว่ากันตามความหมายทั่วไป "งาน" ก็หมายถึง อะไรก็ได้ที่ทำขึ้น และในคำแปล พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ก็ใช้คำว่า "work" ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกัน
    9. ผมจึงยังไม่เห็นเหตุผลว่า ทำไม "งาน" ตามมาตรา 7 ต้องหมายถึงแต่ข้อความ
    10. อธิบายกันมายาวขนาดนี้ ขอสรุปว่า ผมเห็นว่า คำว่า "งาน" ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ มาตรา 7 มีความหมายเหมือนคำว่า "งาน" ที่ใช้ในส่วนอื่น ๆ ของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ คือ หมายความรวมถึงสิ่งอื่นนอกจากที่เป็นข้อความด้วย
  6. ข้างต้นนี้เป็นความเห็นคร่าว ๆ ในเวลานี้ แล้วผมจะไปสืบค้นตำรามาเพิ่มเติมอีกทีครับ ถ้าได้ฟังข้อมูลหรือความเห็นเพิ่มเติม ผมอาจเปลี่ยนความเห็นข้างต้นก็ได้ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ยังไม่ไปคอมมอนส์ (จะหน้าแตกก็ขอแตกในท้องถิ่นก่อน)
  7. แต่ (1) ผมขนตำรากลับบ้านหมดแล้ว ไม่เหลืออะไรเลยนอกจากที่เอาไว้สำหรับเขียนในวิกิตำรา และ (2) ช่วงนี้ผมมีนัดหลายวัน จึงไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาสืบค้นมาให้ได้รวดเร็วตามความประสงค์ของคุณ Octaฯ แต่เห็นว่าคงไม่รีบร้อนอะไร (นะครับ)
  8. ถ้าคุณ G(x) ผ่านมาเห็น จะค้นข้อมูลมาเสริมก็ได้ครับ เพราะคุณ G(x) ยังเรียนอยู่ น่าจะมีตำราอยู่กับตัว (แต่เท่าที่ผมทราบ จุฬาฯ เรียนไม่เหมือนธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์เรียนกฎหมายทุกสาขา แต่จุฬาฯ ให้เลือกเอกเลือกโท คุณ G(x) อาจไม่ได้เลือกสาขาที่เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้)
  9. การที่ผมบอกว่า ผมยังไม่ไปเสนอหน้าในคอมมอนส์นั้น ผมไม่ได้ห้ามคุณ Octaฯ เอาความเห็นข้างต้นของผมไปเผยแพร่ในคอมมอนส์แต่ประการใดครับ
  10. ราตรีสวัสดิ์ครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 01:01, 14 ธันวาคม 2555 (ICT)

แหม คุณจบตรีมาก็สามารถเป็นทนายฝึกหัดได้แล้วครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นอัยการก่อนหรอก :) --浓宝努 01:07, 14 ธันวาคม 2555 (ICT)

มีผมด้วย... ผมยังไม่ได้เรียนเรื่องที่เกี่ยวกับ IP law ครับ ยังไปไม่ถึงสาขาที่เป็นกฎหมายเฉพาะ (ซึ่งจะไปว่ากันอีกทีตอนผมอยู่ปีสามเทอมสอง แต่ปัจจุบันผมอยู่ปีสองเทอมสอง ยังเรียนเอกเทศสัญญาไม่จบ)... แต่ผมจะลองไปค้นเรื่องดังกล่าวดูครับ (ไม่รับประกันความเร็วนะครับ กำลังจะสอบ :'( เลยอาจต้องอ่านหนังสือตัวเองก่อน) --∫G′(∞)dx 07:54, 14 ธันวาคม 2555 (ICT)
เพิ่มเติม ผมลองไปค้นดูแล้วก็ไม่พบคำอธิบายที่น่าพอใจมากกว่าคำอธิบายว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ราชการประสงค์ให้มีการเผยแพร่ให้ทราบโดยทั่วกัน อย่างไรก็ดีผมพบ argument ที่น่าสนใจ (แม้จะไม่ใช่เรื่องภาพโดยตรง) ดังนี้ครับ

...ถ้าคำตอบ คือ "ไม่" สิ่งที่ตามมาประการหนึ่ง คือ คำแปลของสิ่งเหล่านี้ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้นจะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 7... และถ้าได้รับความคุ้มครอง เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมหวงกันงานของตนได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น และถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เผยแพร่คำแปล ผลกระทบ (ทางลบ) ที่อาจเกิดขึ้นคือ สาธารณชนจะถูกจำกัดหรือถูกตัดโอกาสเข้าถึงคำแปลเหล่านั้น การถูกจำกัดหรือตัดโอกาสนี้น่าจะขัดต่อเจตนารมย์ของการมีมาตรา 7(2) และ (5) ซึ่งมุ่งให้โอกาสแก่สาธารณชนเข้าถึงข้อสนเทศเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว

— เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 6)
โดยอาศัย argument และตัวบทในมาตรา 7 ผมจึงเห็นว่า ภาพที่ราชการจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการนี้อยู่ในบังคับของมาตรา 7(1) หรือ (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี การที่จะจำกัดการเข้าถึงภาพตราประจำจังหวัดโดยอาศัยหลักที่ว่าตัวบทในมาตรา 7 ไม่ได้เขียนถึงคำว่า "ภาพ" ไว้เลยดูจะเป็นการตีความที่แคบเกินไป (ในขณะนี้นะครับ) นอกจากนี้ ผมลองอ่าน provision ของสวีเดนและเยอรมันคร่าว ๆ แล้ว (แต่ยังไม่ได้อ่านคดีเต็มของเยอรมันที่เถียงกันในเรื่องดังกล่าว ประเด็นคือผมมีความรู้เพียงไทยกับอังกฤษด้วยแหละครับ... provision ต่าง ๆ ผมอ่านจาก Google Translate ซึ่งก็พอแปลได้ไม่พิลึกพิลั่นนัก) เยอรมันมีคดีที่เพิ่งตัดสินว่า บทบัญญัติใน § 5 Abs. 1 UrhG ไม่ใช่บังคับกับภาพ และแสตมป์ที่ใช้ก็เป็นแสตมป์ที่พิมพ์เพื่อประโยชน์ทางธุรกรรม มิใช่ประโยชน์สาธารณะ (zur allgemeinen Kenntnisnahme) ที่จะทำให้เป็นงานไม่มีัลิขสิทธิ์ ส่วนกฎหมายสวีเดนเขียนไว้ชัดเลย (Lag (1960:729) om upphovsrätt till litterära och konstnärliga verk 9 §) ว่า "...ความในวรรคหนึ่ง (ที่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์) มิให้ใช้บังคับกับ (1) แผนที่ (2) งานศิลปกรรม (3) ดนตรี (4) บทกวี ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารตามวรรคหนึ่ง..."
โดยสรุปคือ ผมคิดว่าในสองประเทศที่มีผู้อ้างมานั้น สองประเทศนั้นมี provision หรือ decision ที่เป็น precedent อยู่แล้ว ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ปรากฎ ความเห็นส่วนตัวของผมจึงเห็นว่าไม่ควรตีความคำว่างานแคบถึงขนาดว่าต้องเป็นเฉพาะตัวอักษรเท่านั้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลต่อไป) เอวังด้วยประการฉะนี้ครับ --∫G′(∞)dx 13:24, 14 ธันวาคม 2555 (ICT)


  ขอบพระคุณที่สละเวลาครับ (แต่เตรียมสอบก่อนก็ดีนะครับ) เช้านี้ผมว่าง ลองค้นตำรับตำราและความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาดู ก็ไม่มีที่เข้าประเด็นนี้เลย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับเพื่อนหลายคน ก็มีความเห็นทำนองเดียวกันว่า ไม่น่าจะจำกัดแค่ตัวอักษร แต่ก็ยังเป็นแค่ความเห็นของเด็ก (นี่ผมยังถือว่าตัวเองว่าเป็นเด็กอยู่นะ 55555)
  ต่อนี้ไป จะใช้เวลาว่าง (1) ค้นคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลปกครอง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ, (2) จะฝากเพื่อนไปถามความเห็นอาจารย์ทางเฟซบุ๊กดู (ผมปิดเพซบุ๊กมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ได้กลับไปเลยครับ) และ (3) จะลองไปโพสต์ถามความเห็นมีชัย ฤชุพันธุ์ ในเว็บมีชัยไทยแลนด์ดูครับ
  โปรดติดตามตอนต่อไป. つづく。
  --Aristitleism (พูดคุย) 11:12, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)


  เมื่อครู่ ผมไปโพสต์คำถามในเว็บมีชัยไทยแลนด์ ไม่รู้ทำไมกดส่งแล้วมันเน่า ขึ้น "หน้าเว็บนี้มีการวนรอบเมื่อเปลี่ยนเส้นทาง" ทุกที อุตส่าห์พิมพ์เป็นยาว 2-3 รอบ ทีแรกใช้โครม เลยลองเปลี่ยนมาใช้ไฟร์ฟอกซ์ดู เอ้า! กดพิมพ์ในกรอบข้อความไม่ได้อีก (ต้องบอกให้อาจารย์มีชัยปรับปรุงเว็บให้รับเบราว์เซอร์อื่นสักหน่อย เพราะผู้ใช้เบราว์เซอร์อื่นมีแต่ปราชัย ไม่มีชัยเลย -*- แต่ไม่รู้จะเกี่ยวกับเบราว์เซอร์หรือเปล่านะ)

ใครส่งข้อความในเว็บนี้ได้ และว่าง ก็เชิญส่งข้อความทำนองข้างล่างนี้หน่อยครับ (เข้าเว็บนั้น > คลิก "ถาม-ตอบกับมีชัย" ตรงแถว ๆ รูปที่แกยืนยิ้มกอดอก > คลิก "ส่งคำถาม" ตรงแถว ๆ ช่องให้พิมพ์ "คำสำคัญ") ส่วนผมของดไว้ก่อน ไปอาศัยหนทางอื่นตาม (1) หรือ (2) ดีกว่า

"คำว่า 'งาน' ใน 'งานอันไม่มีลิขสิทธิ์' ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 หมายความแต่เฉพาะงานที่เป็นข้อความ หรือรวมงานอย่างอื่น เช่น ภาพ แผนที่ แผนผัง ด้วย เพราะกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะที่ลงในราชกิจจานุเบกษา มีทั้งที่เป็นข้อความ และเป็นสื่ออย่างอื่น เช่น กฎกระทรวงให้ใช้ผังเมือง ก็มีแผนที่แนบท้ายด้วย ดังนี้ แผนที่แนบท้ายดังกล่าวจะเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ ขอบพระคุณครับ"

โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยใจระทึก.

--Aristitleism (พูดคุย) 11:40, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)


เป็นเหมือนกันเด๊ะเลยครับ chrome เจอ redirect loop, firefox เจอพิมพ์ไม่ได้ T^T --Nullzero (พูดคุย) 12:28, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)
เพิ่มเติม: ผมไปแอบเกรียนจน firefox สามารถพิมพ์ลงไปได้แล้ว กดส่งไปก็เจอ "The page isn't redirecting properly" เด้งขึ้นมา ปัญหาเดียวกะโครมเลยอะครับ --Nullzero (พูดคุย) 14:13, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)


ไม่รู้ไปทำท่าไหน (และตอนไหน) อยู่ ๆ ก็ส่งได้ ตอนนี้ได้คำตอบกลับมาแล้ว ดังนี้

คำถาม: เรื่อง ขอบเขตของคำว่า "งาน" ใน พรบ. ลิขสิทธิ์

"คำว่า 'งาน' ใน 'งานอันไม่มีลิขสิทธิ์' ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 หมายความแต่เฉพาะงานที่เป็นข้อความ หรือรวมงานอย่างอื่น เช่น ภาพ แผนที่ แผนผัง ด้วย เพราะกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะที่ลงในราชกิจจานุเบกษา มีทั้งที่เป็นข้อความ และเป็นสื่ออย่างอื่น เช่น กฎกระทรวงให้ใช้ผังเมือง ก็มีแผนที่แนบท้ายด้วย ดังนี้ แผนที่แนบท้ายดังกล่าวจะเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ ขอบพระคุณครับ"

คำตอบ: แผนที่แนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของกฎกระทรวง หรือกฎหมาย

มีชัย ฤชุพันธุ์ - 15 ธันวาคม 2555

--Nullzero (พูดคุย) 21:20, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)

ผมเข้าใจว่าเว็บดังกล่าวคงตั้งค่าคำถามเป็นแบบ moderation pending เพื่อความเหมาะสมครับ ไม่เช่นนั้นอาจมีสแปมและคำถามไม่เหมาะสมขึ้นไปได้ --∫G′(∞)dx 21:36, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)
  1. ขอบพระคุณมากครับ คุณ Nullzero :)
  2. ถึงแม้จะไม่ตอบมาตรง ๆ แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่า อ.มีชัยมีความเห็นว่า
    1. งานตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ โดยเฉพาะงานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 ไม่ใช่แค่ข้อความเท่านั้น
    2. สื่อที่แนบมากับกฎหมายซึ่งลงในราชกิจจานุเบกษา ก็เป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์เหมือนกับตัวข้อความกฎหมายเอง เช่น พวกรูปแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวงให้ใช้ผังเมือง หรือดวงตราตามประกาศเรื่องตราราชการ เป็นต้น
  3. อ.มีชัย อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คงมีเครดิตพอจะไปเบ่งให้อ้ายพวกฝรั่งดั้งขอได้รู้ซึ้งถึงพระราชกำหนดบทพระอัยการแห่งผองเราชาวสยามประเทศอยู่กระมัง
  4. กระนั้น ผมจะขอความเห็นอาจารย์ผมดูเพิ่มเติมอีก คงจะได้คำตอบที่ดี ๆ ไม่ว่าจะออกมาทางไหนก็ตาม (แต่ไม่รับรองว่าจะได้มาเมื่อไร มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น เกรงใจอาจารย์ ต้องดูท่าที สถานการณ์ ฯลฯ เวลาว่างของผม แถมยังต้องอาศัยเพื่อนเป็นสะพานเชื่อมโยงด้วย เพราะผมยังไม่ได้กลับไปเปิดเฟซบุ๊กดังที่ว่ามาข้างต้น)
  5. สำหรับค่ำคืนนี้ ราตรีสวัสดิ์ครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 21:57, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)

บทความ[edit]

คุณAristitleismครับกระผมอยากให้ช้วยตรวจดูบทความที่กระผมเขียนว่าถ้าลงแล้วจะผ่านใหมครับหรือขาดอะไรตรงใหนบ้างครับเพื่อไม่ให้ถูกลบตอนลงครับ--Pvisetsing (พูดคุย)

บัดนี้ มีผู้อื่นทำแล้ว ผมจึงของดนะครับ --Aristitleism (พูดคุย) 21:58, 15 ธันวาคม 2555 (ICT)
คุณAristitleismครับกระผมลืมไส่ลิขสิทธิ์ที่ฟริคเกอร์ตอนนี้ไส่แล้วแบบเดียวกับที่แสดงจะเกิดอะไรอีกใหมครับ--Pvisetsing (พูดคุย)
ไม่มีปัญหาอะไรครับ --Aristitleism (พูดคุย) 10:58, 16 ธันวาคม 2555 (ICT)

วิกิตำรา[edit]

รบกวนช่วยตรวจสอบบทความของวิกิตำรานะครับ ในกลุ่มที่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่ ซึ่งคุณสามารถเข้าหาได้จากหน้าปรับปรุงล่าสุดในหัวข้อ หน้าที่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่ โดยเฉพาะหน้าที่เป็นภาษาปะกิต และมีมากมาย ความเห็นผมน่าลบทิ้งครับ แต่ก็ขึ้นอยู่สังคมจะพิจารณา --Sasakubo1717 (พูดคุย) 10:37, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)

  1. ผมว่า เป็นดุลพินิจของผู้ดูแลระบบมากกว่านะครับ ผมทำได้แค่เสนอลบ สุดท้ายผู้ดูแลระบบก็ต้องกลั่นกรองอีกที และผมคนเดียวคงเรียกว่าสังคมไม่ได้ (แต่ก็นั่นแหละ ตามปรกติแล้ว ในวิกิตำราก็ไม่มีใครอีก นอกจากผู้ดูแลระบบ และผมซึ่งเป็นขาประจำ)
  2. อนึ่ง ช่วงนี้ผมออกงานทุกวันเลยครับ ดังที่จะเห็นว่า ผมว่างมาจิ้มวิกิตำรา (และโครงการอื่น) แค่วันละขยึ๊กสองขยึ๊ก (ทีแรกคิดว่าจะว่างแล้ว จะได้เขียนวิกิตำราเต็มที่สักที) อาจต้องรอหลังปีใหม่
  3. แต่ผมก็เห็นอยู่นะว่าหลาย ๆ บทความแหม่ง ๆ อยู่ เช่น Gimp/tutorial/tools ดูเหมือนเป็นโฆษณาอย่างไรไม่รู้ แต่เพราะคุณ Sasakubo1717 เข้าไปจัดหมวดหมู่แล้ว ผมจึงเข้าใจว่า คุณ Sasakubo1717 คงพิจารณาแล้วว่า มันผ่าน อยู่ได้ จึงไม่ได้ทำอะไรกับมัน
--Aristitleism (พูดคุย) 12:32, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)
  • ไม่ได้หมายความว่าผ่านนะครับ แต่ไม่มีความรู้ด้านนั้น อะไรพอจัดได้ก็จัดไป หากลบทิ้งเปรียบในทางกฎหมาย ปล่อยคนผิดสิบคน ไม่ร้ายแรงเท่าลงโทษผู้บริสุทธิ์หนึ่งคน จึงต้องมาปรึกษาและได้ใส่ลิงก์ไว้ที่หน้าปรับปรุงล่าสุดในการเข้าถึงหน้าเหล่านั้นเพื่อกระตุ้นผู้ใช้อื่น จริงอยู่ผู้แก้ไขอาจมีแค่ 2-3 คน แต่คนดูอาจมีหลายคน จึงต้องขอความร่วมมือจากคุณช่วยพิจารณาด้วย บางบทความอยากลบทันทีทันใดแต่ก็มิอาจทำได้ อย่างในวิกิพีเดียเห็นผู้ดูแลระบบหลายถูกโจมตีอยู่บ่อยๆในการลบบทความ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 17:53, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)

เผื่อว่าสนใจแปล[edit]

ผมอ่านบทความนายกญี่ปุ่นคนใหม่ เห็นเรื่องน่าสนใจหลายประการที่อาจนำมาใช้เป็น DYK ได้ และอาจอยู่ในความสนใจของคุณ Aristitleism

  • en:Sugamo Prison = บางขวาง/คลองเปรม
  • en:Shinto Directive ประเทศไทยยังไม่มี separation of church and state แต่ถ้าจะมี คงออกมาในรูปร่างคล้ายญี่ปุ่นแบบนี้กระมัง
  • en:Humanity Declaration อันนี้เหนือคำบรรยาย...

--taweethaも (พูดคุย) 09:39, 28 ธันวาคม 2555 (ICT)

  1. ผมแปลประกาศความเป็นมนุษย์อันนี้มาครับ อันอื่นไม่ค่อยมีอ้างอิงเลย แต่ถ้าว่างก็อาจจะแปล
  2. อนึ่ง ในบทความนั้น ผมแปล "Oath in Five Articles" ว่า "โองการห้าข้อ" โดยเทียบกับ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ที่เราเรียกกันว่า "พระปฐมบรมราชโองการ" แล้วฝรั่งเรียกกันว่า oath (Coronation Oath) อันนี้หมายเหตุไว้เฉย ๆ ครับ
  3. สวัสดีปีใหม่ย้อนหลัง 4-5 วันครับ และสวัสดีวันเด็กล่วงหน้าครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 02:04, 6 มกราคม 2556 (ICT)
ขอบคุณครับ --taweethaも (พูดคุย) 11:00, 6 มกราคม 2556 (ICT)

2013.01[edit]

ดาวเกียรติยศ[edit]

ดาวเกียรติยศพิเศษ
(วิกิตำรา) ขอบคุณสำหรับตำราคุณภาพครับผม :) Nullzero (พูดคุย) 21:43, 22 มกราคม 2556 (ICT)

สวัสดีปีใหม่ 2556[edit]

สวัสดีปีใหม่ 2556
สวัสดีปีใหม่ 2556 ครับ ปีใหม่นี้ขอให้คุณ Aristitleism พบเจอแต่ความสุข มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและภัยอันตรายทั้งปวง ทำการสิ่งใดขอให้สำเร็จตามปรารถนา ประสบความเจริญในชีวิตครับ Panyatham 23:58, 31 ธันวาคม 2555 (ICT)
อายุ วรรโณ สุขํ พลํ --Aristitleism (พูดคุย) 21:37, 4 มกราคม 2556 (ICT)

รายชื่อตอนของ...[edit]

http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=พิเศษ%3Aดัชนีตามคำขึ้นต้น&prefix=รายชื่อตอนของ&namespace=0

ที่คุณ Aristitleism แนะนำว่าควรเปลี่ยน ของ มาเป็น ใน ตอนนี้เปลี่ยนเสร็จหมดแล้วนะครับ เหลือแต่หมวดหมู่ เช่น หมวดหมู่:รายชื่อตอนของการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนดีหรือเปล่า (ที่เปลี่ยนชื่อบทความมานี้ผมเห็นด้วยเต็มที่เพราะมันเป็นชื่อเฉพาะ และคำว่าในก็อ่านเป็นธรรมชาติมากกว่าตามที่บอกมาเลย แต่สำหรับประเภทต่าง ๆ เช่น "การ์ตูนญี่ปุ่น" ผมไม่มีความเห็น) ถ้าคุณ Aristitleism คิดว่าควรเปลี่ยนอย่างไรเกี่ยวกับหมวดหมู่ ใช้ผู้ใช้:Nullzerobot/บริการย้ายหมวดหมู่ได้เลยนะครับ :) --Nullzero (พูดคุย) 12:57, 1 มกราคม 2556 (ICT)

สวัสดีครับ ขออภัยที่ตอบล่าช้า ผมกลับมาแล้ว ไปสิงคโปร์มาตั้งแต่ปลายปี เที่ยวอย่างเดียว ตามประสาคนไม่มีเรียน และไม่ทำงาน (เด็กดีอย่าเอาอย่าง) สำหรับชื่อหมวดหมู่ "รายชื่อตอนของการ์ตูนญี่ปุ่น" ผมเห็นว่าก็ดีอยู่ครับ และผมไม่มีความเห็นอะไรเป็นพิเศษในเรื่องนี้ แต่ในภายภาคหน้าอาจมีคนค้านว่า ทีบทความยังใช้ "ใน" แล้วทำไมอันนี้มา "ของ" อยู่อันเดียว ขอให้เป็นดุลพินิจของคุณ Nullzero เถิด สวัสดีปีใหม่ให้หลังครับ (ฮ่าๆ) --Aristitleism (พูดคุย) 21:37, 4 มกราคม 2556 (ICT)

PINIT & THEB[edit]

สวัสดีปีใหม่ครับ สำหรับคำถามเรื่องตึก ตึกพินิตประชานาถเป็นอาคารเรียนรวมของสองคณะ (นิติ-นิเทศ) ครับ ส่วนอาคารเรียนแยกของคณะนิติศาสตร์อยู่ที่ตึกเทพทวาราวดีครับ (ของคณะนิเทศก็จะเป็นตึกมงกุฎสมมติวงศ์ที่อยู่ใกล้ ๆ กันนั้นเอง) อนึ่ง ถึงจะบอกว่าตึกเทพฯ เป็นตึกของคณะ แต่เวลาเรียนส่วนใหญ่ของผมก็มักจะอยู่ที่ตึกพินิตฯ เสียทั้งสิ้นครับ (เพราะลักษณะห้องในตึกเทพฯ หลายห้องเรียนไม่ใช่ห้องที่บรรจุคนจำนวนมาก ร่วม ๆ 90 คนได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นวิชาเรียนรวม ตึกพินิตฯ จะมีห้องให้ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าครับ) :) --∫G′(∞)dx 22:05, 4 มกราคม 2556 (ICT)

เรื่องฝักบัวล้างก้น[edit]

ผมเข้าใจแล้วครับ คำว่าฝักบัวล้างก้นมาจากภาษาอังกฤษและมีความหมายที่แน่นอนกว่า --เสือดาวหิมะ (พูดคุย) 22:43, 6 มกราคม 2556 (ICT)

ก็ไม่เชิงว่ามาจากภาษาอังกฤษ 100% ครับ ผมลองค้นกูเกิลดู ก็มีใช้ว่า "ฝักบัวฉีดตูด, ฝักบัวฉีดก้น" อะไรทำนองนั้น ประกอบกับ bidet แปลว่า อ่างล้างก้น ผมเลยเลือกใช้ว่า "ฝักบัวล้างก้น" น่าจะดีกว่า (ดีกว่า "ล้างตูด, ฉีดตูด ฯลฯ") ส่วนคำว่า "ที่ฉีดตูด" นั้นพบว่าใช้กันทั่วไปและมากอยู่ ผมจึงระบุไว้ด้วย ไม่ใช้คำหยาบคำต่ำแต่ประการใด เพียงแต่ไม่ใช่ภาษาหนังสือ (ดังที่ผมระบุไว้ในบทความแล้ว) --Aristitleism (พูดคุย) 22:52, 6 มกราคม 2556 (ICT)

Lorem ipsum...[edit]

ขอบคุณที่ช่วยทับศัพท์ละตินให้ครับ ผมอ่านไม่แน่ใจในคำแรกเหมือนกันเลยทับศัพท์ไปทื่อ ๆ แบบนั้นไปก่อน --∫G′(∞)dx 23:28, 7 มกราคม 2556 (ICT)

  • การเพิ่มหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยแมวร้อนบนวิกิซอร์ซพร้อมใช้งานแล้วครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 07:44, 14 มกราคม 2556 (ICT)

จัดหมวดหมู่ @ วิกิตำรา[edit]

คือผมว่าเราควรจะแยกกันให้ชัดว่าส่วนไหนเป็นของการดูแล ส่วนไหนเป็นของบทความ ตอนนี้ผมดูวิกิพีเดียเป็นต้นแบบและมีความเห็นดังนี้

  1. หมวดหมู่ เป็นหมวดหมู่ใหญ่ที่สุด
  2. มูลฐาน‎ เป็นหมวดหมู่รวบรวมบทความ (หรือตำรา) ทั้งหมด
  3. วิกิตำรา ขณะนี้มันกำลังทำหน้าที่เหมือน หมวดหมู่ อยู่ และผมไม่เห็นด้วยกับชื่อนี้เท่าไหร่ และคิดว่า หมวดหมู่ น่าจะเหมาะสมมากกว่า
  4. ชั้นหนังสือ ขณะนี้มันกำลังทำหน้าที่เหมือน มูลฐาน อยู่ แต่อันนี้ผมไม่มีความเห็น (อย่างเดิมก็โอเคเหมือนกัน)

อันที่จริง ผมมีความสงสัยในอีกหลาย ๆ เรื่อง เช่น หน้า บทความ ตำรา เราควรจะใช้คำไหนในกรณีไหนกันบ้าง

ขอคำปรึกษาด้วยครับ ขอบคุณมาก :) --Nullzero (พูดคุย) 17:36, 14 มกราคม 2556 (ICT)

  1. ผมเห็นด้วยครับว่า ควรแยกระหว่างส่วนเนื้อหากับส่วนระบบ
  2. ปัจจุบัน บางทีผมก็แยกไม่ออกว่าหมวดหมู่ชื่อนี้เอาไว้ทำอะไร (อย่าง "หมวดหมู่:กำลังแก้ไข" นี่ ทีแรกผมงงเลย คืออะไร? เอาไว้ทำอะไร? ต้องอาศัยดูเนื้อหาภายในแล้วอนุมานเอาว่า เอาใส่บทความที่ยังแก้ไขไม่เสร็จ แต่ก็ยังเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่นี้ เพราะ (1) บทความส่วนใหญ่แก้ไขไม่เสร็จ (2) หมวดหมู่นี้ซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับหมวดหมู่อื่น (3) โดยสภาพแล้ว บทความส่วนใหญ่ดองมาข้ามปีและอาจดองตลอดไป)
  3. ส่วนที่ผมเรียง "มูลฐาน > วิกิตำรา > หมวดหมู่อื่น ๆ" ไปนั้นเพราะเห็นว่า
    1. "มูลฐาน" มันแปลว่า รากฐาน, พื้นฐาน (ตรงกับ base, foundation ฯลฯ) ก็เลยเข้าใจว่า ควรเป็นรากเหง้าของหมวดหมู่ทั้งปวง
    2. "วิกิตำรา" หมายถึง ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับวิกิตำรา
    3. แล้วจึงค่อยย่อยมาเป็นสิ่งอื่น ๆ แล้วแต่ประเภทต่อไป
  4. ส่วน "หมวดหมู่:ชั้นหนังสือ" นั้นผมไม่มีความเห็นครับ เพียงแต่เอาหน้าที่ขึ้นว่า "ชั้นหนังสือ..." ใส่เข้าไปเท่านั้น เพราะมันกองอยู่ตรงหมวดหมู่กลาง
  5. ข้างบนนี้หมายถึงความเข้าใจของผมที่ทำไปแล้ว ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ไม่ทราบได้ (เพราะไปหาดูที่ไหนก็ไม่มี เลยต้องคาดเดาเอาเอง และบางทีก็เทียบเอาวิกิตำราภาษาอังกฤษครับ)
  6. ขอให้ใครก็ได้กำหนดแนวทางไว้ จะเป็นการดีอย่างยิ่งครับ ทำเป็นหน้าอธิบายหมวดหมู่ หรือหน้าอภิธานศัพท์วิกิตำรา ก็แล้วแต่
  7. ส่วนอันที่แล้วไปแล้ว ผมค่อยไปคุ้ยใหม่หลังจากมีแนวทางแล้วนะครับ แต่คุณ Nullzero จะจัดการอย่างไรก็ได้ตามที่เห็นสมควร
  8. สวัสดีครับ และขออภัยที่อาจทำให้เหนื่อย (ไหว้ < ไม่มีอีโมติค่อนนี้ในวิกิฯ ขอให้จินตนาการเอาเองนะครับ 555)
--Aristitleism (พูดคุย) 18:06, 14 มกราคม 2556 (ICT)
อนึ่ง เรื่อง "หน้า, บทความ, ตำรา" นั้น ผมเห็นว่า
  1. "หน้า" (page) ควรเป็นคำเรียกทั่วไปไม่ว่ามีเนื้อหาอย่างไร เช่น หน้านโยบายหน้านี้, หน้าตำราหน้านี้ ฯลฯ
  2. ส่วน "ตำรา" (book) หมายถึง หน้าที่เป็นตำรา ไม่ว่าจะหน้าเดียวจบ หรือหลายหน้าจบ
  3. แต่ไม่เรียกเนื้อหาที่เป็นตำราในวิกิตำราว่า "บทความ" (article) เพราะไม่เป็นบทความเหมือนวิกิพีเดีย (เช่น หน้าที่เป็นงานในวิกิซอร์ซก็เรียก "งาน" (work) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "หน้า" แต่ไม่เรียก "บทความ")
อันนี้เทียบเอาจากวิกิตำราภาษาอังกฤษครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 18:11, 14 มกราคม 2556 (ICT)

ผมคงเขียนไม่เคลียเรื่องมูลฐาน ในวิกิพีเดียมูลฐานมันเป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา "เนื้อหาสาระ" แต่ไม่รวมการบริหารงานและเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับบทความครับ

ทั้งนี้ เพราะชื่อมันตีความได้มากมาย เลยทำให้เกิดปัญหาเช่นนี้แหละครับ ถ้าว่าง ๆ ผมจะเขียนอภิธานไว้แล้วเดี๋ยวก็คงรบกวนคุณ Aristitleism ให้เข้าไปดูด้วยครับ ^^

รับทราบเรื่องไม่ควรใช้คำว่า "บทความ" ผมเห็นด้วยทุกประการ แต่ก็เคยสร้างหมวดหมู่ที่ใช้คำว่าบทความไปเยอะแล้วเหมือนกัน เดี๋ยวว่าง ๆ จะไปไล่เปลี่ยนครับ

ปล. ปกติผมใช้ __/\__ แทนไหว้ครับ 555 แต่ไม่ต้องไหว้ผมหรอก = =" ยังไม่ได้ทำอะไรเลย ผมนั่นแหละต้องขอบคุณที่ช่วยตอบคำถามผมมาซะยาว ขอบคุณมากนะครับ :) --Nullzero (พูดคุย) 18:19, 14 มกราคม 2556 (ICT)

  • ที่วิกิซอร์ซ ผมเห็นด้วยตามนั้น และยอมรับว่ามึนครับ มันเยอะมากจริงๆ มากกว่า 5,000 หน้า ผมจะลองจัดดูนะครับ อย่างไรก็ตามคงต้องพึ่งคุณTiemianwusi/Archive 4 นะครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 06:28, 16 มกราคม 2556 (ICT)
อีกนิดนะครับ แล้วคำว่า "ตำรา" "หนังสือ" ควรใช้คำไหนในบริบทไหนครับ --Nullzero (พูดคุย) 17:17, 16 มกราคม 2556 (ICT)
  1. คำว่า"ตำรา" และ "หนังสือ" เข้าใจว่าตรงกับ book ทั้งสองคำ
  2. ผมจึงเห็นว่า "ตำรา" น่าจะเอาไว้เรียกหน้าในวิกิตำราที่เป็นเนื้อหาหลัก (หมายถึง หน้าที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการระบบ อะไรทำนองนั้น)
    • เช่น ยกตัวอย่างตำราที่ผมเขียนเสร็จแล้ว คือ ให้
    • หน้า ให้ อาจเรียกว่า ตำราหน้าหนึ่ง, หน้า ให้/บทที่ 1 ก็เรียกว่า ตำราอีกหน้าหนึ่ง ฯลฯ ก็ได้ หรือ
    • อาจเรียกทุกหน้าของเรื่อง ให้ (ไม่ว่าจะเป็นหน้า ให้, ให้/บทที่ 1, ให้/บทที่ 2, ให้/บทที่ 3, ให้/ดัชนี) รวมกันว่า ตำราเรื่องหนึ่ง ก็ได้ (แต่ไม่เสนอให้เรียก เล่ม เพราะโดยภาพไม่เป็นเล่ม จะเรียกเล่มโดยเทียบเคียงจากตำราที่เป็นกระดาษก็แล้วแต่)
  3. ส่วน "หนังสือ" น่าจะเก็บไว้เรียกหน้าที่สร้างขึ้นโดยใช้เครื่องมือ "สร้างหนังสือ" ตรงแถบซ้ายมือมากกว่าครับ
  4. สาเหตุที่ผมเห็นว่า ควรเรียกหน้าตำราว่า "ตำรา" มากกว่า "หนังสือ" เพราะชื่อโครงการ Wikibooks แปลว่า วิกิตำรา ก็น่าจะใช้ศัพท์เดียวกัน
  5. ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ
    --Aristitleism (พูดคุย) 17:50, 16 มกราคม 2556 (ICT)
(นอกเรื่อง) เรื่องให้ เขียนจบหรือยังครับ จะโหวตเป็นตำราคัดสรร -> คุณภาพให้ 555+ เขียนดีมากเลยครับ --Nullzero (พูดคุย) 18:13, 16 มกราคม 2556 (ICT)
ที่ผมเขียนเองและเสร็จแล้ว 100% มีอยู่ 2 เรื่อง ครับ คือ ให้ กับขายฝาก (เรื่องนายหน้าก็เสร็จแล้ว แต่เอาที่มีคนสร้างไว้ในวิกิพีเดียมาปรับปรุง ไม่ได้เขียนเอง 100%) แต่เรื่องที่ผมดองอยู่นั้นมีนับไม่ถ้วน (555+) ส่วนเรื่องตำราคัดสรรนั้นก็แล้วแต่ครับ ผมเฉย ๆ นะ เขียนเพราะอยากเขียนมากกว่า เป็นการทวนเรื่องที่เรียนมา จะได้ไม่ลืม (เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม ดนตรี อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า...) แถมยังได้เผยแพร่ความรู้ไปในโอกาสเดียวกันด้วย ถือว่ายิงนัดเดียวได้นกสองตัวครับ --Aristitleism (พูดคุย) 18:27, 16 มกราคม 2556 (ICT)

วิกิซอร์ซ[edit]

ขอเชิญร่วมอภิปรายที่นี่ครับ มีประเด็นไหนจะเสริมก็เขียนเพิ่มเลยครับ --Nullzero (พูดคุย) 14:34, 19 มกราคม 2556 (ICT)

ขอเชิญร่วมอภิปรายที่นี่ครับ มีประเด็นไหนจะเสริมก็เขียนเพิ่มเลยครับ (คราวนี้วิกิตำรา - อยากได้ความเห็นเรื่องเนมสเปซ subject มากครับ) --Nullzero (พูดคุย) 19:52, 24 มกราคม 2556 (ICT)

ไม่รีบครับ ฮ่า ๆ --Nullzero (พูดคุย) 21:30, 24 มกราคม 2556 (ICT)

File:Countries with Sharia rule.png[edit]

Sharia also applies to Thailand with respect to family and succession. Reference:

  • เพรียบ หุตางกูร. (2552, ธันวาคม). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789744664433. หน้า 23-24.
  • [Phriap Hutangkun. (2009, December). Treatise on Civil and Commercial Code: Succession. (11th Edition). Bangkok: Faculty of Law, Thammasat University. ISBN 9789744664433. pages 23-24.]

So, could you please edit the map by giving Thailand any colour as you think fit? Thank you so much.

--Aristitleism (talk) 17:20, 24 January 2013 (UTC)[reply]

Hello Aristitleism,
Thanks for your help to improve this picture. Do you know if Sharia is applied in all Thailand, or only in several provinces ?
Sémhur (talk) 01:16, 25 มกราคม 2556 (ICT)
Please pardon me for failing to give you the details from the outset. Sharia is only applied in four Southern border provinces: Pattani, Narathiwat, Yala and Satun. For further information, please see: The Act on Application of Islamic Law in the Provinces of Pattani, Narathiwat, Yala and Satun, BE 2489 (1946). --Aristitleism (พูดคุย) 10:56, 25 มกราคม 2556 (ICT)
Done (but there is some trouble with cache these days). Sémhur (พูดคุย) 04:26, 28 มกราคม 2556 (ICT)


ลุยวิตตง[edit]

ขอทราบเหตุผล ว่าทำไมถึงเปลี่ยนหัวข้อและเนื้อหากลับไปให้ไม่ถูกต้องตามจริง เช่น คำว่าลุยวิตตง, สำนักสมัยนิยม ทั้งๆ ที่ได้แก้ไขคำเหล่านี้ให้ถูกต้องแล้ว — Preceding unsigned comment added by Sunboy (talkcontribs)

  1. ลุยวิตตง - เพราะ (1) ตามความเป็นจริงแล้ว Louis Vuitton อ่านว่า "ลุยวิตตง" ไม่ใช่ "หลุยวิตตอง" (2) ไม่มีการเขียนสะกดอย่างเป็นทางการในภาษาไทย จึงเขียนตามหลักการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส เทียบกับคำแอมะซอน-อะเมซอน, มีเกลันเจโล-ไมเคิลแองเจโล และอื่น ๆ
  2. สำนักสมัยนิยม - แปลมาจาก fashion house ซึ่งมีความหมายว่าและในภาษาไทยพบการใช้ว่า ร้านขายเสื้อผ้า ห้องผ้า ฯลฯ แต่ที่เลือกใช้ "สำนักสมัยนิยม" เพราะลุยวิตตงขายหลายอย่างนอกจากเสื้อผ้า ทั้งนี้ จะใช้คำอื่นก็แล้วแต่ แต่ควรใช้คำไทย (รวมถึงคำที่รับเข้ามาในภาษาไทยแล้ว) เพราะคำเหล่านี้ใช้คำไทยแทนได้ อย่าใช้ภาษาปาก อย่างไรก็ดี ในขณะนี้จะเปลี่ยนไปใช้ห้องผ้าก่อน เพราะฟังดูคุ้นเคยมากที่สุด
  3. แบรนด์ - ใช้คำไทยแทนได้ จะว่า ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า ตรา ฯลฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่อย่าใช้ภาษาปากครับ
--Aristitleism (พูดคุย) 15:06, 29 มกราคม 2556 (ICT)
  1. คำว่า ลุยวิตตง เป็นคำอ่าน และไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทยจึงมีประโยชน์น้อยมากที่จะนำมาใช้เป็นคำหลักในการนำเสนอข้อมูล ผมเห็นว่าควรจะนำมาใส่ไว้เฉพาะในเนื้อหามากกว่า ในกูเกิ้ลทับศัพท์คำว่า "หลุยส์ วิตตอง" เป็น "Louis Vuitton" ยังค้นไม่พบว่าอ้างอิงจากพจนานุกรมเล่มไหน แต่ในหนังสือ LOUIS VUITTON presents its Icons ฉบับภาษาไทย ในหน้าคำนำ ก็ใช้คำว่า "หลุยส์ วิตตอง"
  2. fashion house โดยความหมาย house ในที่นี้หมายถึงกลุ่มธุรกิจ เช่น prada กับ gucci อยู่ในเครือเดียวกัน (house brand) เสนอให้ใช้คำว่า กลุ่มธุรกิจแฟชั่น เป็นการชั่วคราวก่อนครับ
--Sunboy (พูดคุย) 15:26, 29 มกราคม 2556 (ICT)

Re: table border[edit]

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า thwp กับ enwp ก็เป็นเหมือนกันครับ และเท่าที่ผมค้นมาก็ยังหาวิธีแก้ไม่ได้

เวลาเขียน html นั้น และอยากให้มีขอบภายใน เราต้องกำหนด style กับทุก ๆ cell เอง แต่มีเดียวิกิมี border="1" มาช่วยทำให้กำหนดให้โดยเขียนไว้ที่หัวตารางเพียงแค่รอบเดียว ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไอ้ border นี้จริง ๆ แล้วมันทำงานอย่างไรกันแน่ เลยแกะต่อไม่ได้

วิธีแก้ให้มั่นใจแน่ ๆ ว่าจะแสดงผลเหมือนกันทุกเบราว์เซอร์ ก็คือไล่กำหนด style ให้กับทุก ๆ cell นั่นแหละครับ แต่มันจะไปเป็นภาระของคนสร้างตารางแทน

ผมลองถามคุณ Octahedron80 เรื่องนี้แล้ว ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องพวกนี้มากกว่าผมแน่ ๆ (เอาจริง ๆ คือผมเพิ่งรู้จัก stylesheet ก็เมื่อสองสามเดือนที่แล้วนี่เอง) ได้คำตอบอย่างไรแล้วจะมาบอกครับ --Nullzero (พูดคุย) 21:30, 30 มกราคม 2556 (ICT)

คุณ Octahedron80 มาตอบแล้ว สรุปก็คือทำไม่ได้ครับ แฮะ ๆ --Nullzero (พูดคุย) 21:39, 30 มกราคม 2556 (ICT)

วัง คฤหาสน์[edit]

ให้บอตลบให้ไหมครับ เห็นแล้วเหนื่อยแทน --Nullzero (พูดคุย) 23:14, 30 มกราคม 2556 (ICT)

ขอบพระคุณครับ แต่หมดแล้วครับ อัตโนมือได้ดังใจที่สุดครับ 555+ --Aristitleism (พูดคุย) 23:15, 30 มกราคม 2556 (ICT)

reurnthai[edit]

วันนี้ผมไปเจอเว็บ http://www.reurnthai.com ซึ่งข้างในมีวรรณคดีจำนวนมากมายมหาศาลอยู่ (จัดเป็นรูปแบบวิกิแล้วด้วย!) เช่น มัทนพาธา นิทานเวตาล วรรณคดีเหล่านี้ผมเข้าใจว่าไม่มีลิขสิทธิ์แล้ว แต่จะไปลอกจากเว็บเค้ามาลงวิกิซอร์ซเลยก็กะไรอยู่ เลยมาขอคำปรึกษาครับว่าจะดำเนินการอย่างไรดี ต้องขออนุญาตไหม อย่างไร บลา ๆ (ถ้าคุณ Aristitleism ว่างจะลองทำให้ผมดูเป็นตัวอย่างซักเรื่องได้ไหมครับ 555)

เค้ามีเขียนไว้แล้วว่า

หนังสือทั้งหมด เป็นหนังสือที่ปลอดลิขสิทธิ์แล้ว สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่หากจะระบุที่มาและทำลิงก์กลับมาที่ www.reurnthai.com/wiki เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์โครงการนี้ต่อไปก็จะขอขอบคุณมากครับ และหากพบหนังสือเล่มไหนที่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ รบกวนแจ้งเพื่อจะได้แก้ไขต่อไปด้วยครับ

แต่ถ้าจะให้ผมทำ ผมคงใช้บอตลอกทุกหน้าลงมาเลย มันจะดูน่าเกลียดไปมั๊ยครับ และใจจริงผมอยากให้เค้ามาเข้าร่วมโครงการวิกิซอร์ซไปเลย จะได้ร่วมกันพัฒนาเพียงที่เดียวเท่านั้น ซึ่งจะสะดวกและเป็นประโยชน์มากกว่า --Nullzero (พูดคุย) 15:26, 31 มกราคม 2556 (ICT)

  1. ใช้บอตลอกมาลงนั้น ก็แล้วแต่จะเห็นสมควรครับ
  2. แต่เว็บเรือนไทยนี้ ผมเห็นมานานแล้วครับ เคยอ่านแล้วพบว่า
    1. มีบางงานที่ตรงกับต้นฉบับบ้าง ไม่ตรงบ้าง ตกหล่นบ้าง (เข้าใจว่า เว็บเรือนไทยเขาไม่ได้ตรวจ)
    2. บางงานบนเว็บเรือนไทยก็ไม่สมบูรณ์ (เป็นต้นว่า ลองเทียบโองการแช่งน้ำที่ผมทำกับของเรือนไทย ทั้งนี้ ต้องการสื่อว่า ทำเองแล้วมันได้ดังใจกว่า ไม่ได้จะเทียบคุณค่าหรือโฆษณาอะไรครับ)
    3. นอกจากนี้ ข้อเสียของเรือนไทยคือไม่ค่อยระบุต้นฉบับที่เข้าถึงได้ ทำให้ตรวจสอบต่ออีกชั้นได้ยาก และบางทีผมไปเจอต้นฉบับ ก็ต้องรื้อตั้งแต่ต้นใหม่ก็มี
  3. แต่ก็ข้อดีเขาก็มีอยู่ครับ ไม่ได้ว่างานเขาใช้ไม่ได้เสียทีเดียว การลอกที่เขาพิมพ์ไว้แล้ว ช่วยเบาแรงระดับหนึ่ง ถ้าต้องงานคุณภาพธรรมดา ก็พอใช้ได้ แต่ถ้าต้องการแบบมีคุณภาพสูง ก็ต้องตรวจและจัดกันอีกชั้น
  4. เพราะฉะนั้น การที่จะเอาบอตลอกมาลงนี้ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งหลังจากเอามาลงแล้วด้วย กล่าวคือ เวลาเอามา ก็อยากทำให้มันดี ๆ น่ะครับ ไม่อยากให้เอามากองไว้เหมือนพระไตรปิฎก ที่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครไปตรวจตราอีก หรือตรวจตราอีกได้ยากมาก อยากให้เป็นแนวทางเดียวกับที่ทำกันในวิกิซอร์ซฝรั่งครับ น่าชื่นชมพวกฝรั่งดั้งขอที่มีวิริยอุตสาหะกันมาก (ดู งานนี้เป็นต้นซึ่งเป็นงานล่าสุดของเขา)
  5. ส่วนที่บอกว่า ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง คือ ให้ผมไปลอกมาลงเป็นตัวอย่างหรือครับ 555+ ผมขอผ่านนะ เพราะตอนนี้ผมอยากเขียนตำรามากกว่าครับ (ให้ผมเขียนตอนที่มีไฟเถอะนะ เดี๋ยวไฟวูบแล้วจะดองไว้นานครับ 555+)
--Aristitleism (พูดคุย) 15:47, 31 มกราคม 2556 (ICT)

Creative Commons[edit]

แต่ก่อนผมคิดว่าเว็บไหนที่แปะป้าย Creative Commons นั้นจะสามารถคัดลอกเนื้อหามาที่วิกิพีเดียได้เลย จนกระทั่งใครสักคน (จำไม่ได้แล้ว) บอกว่าต้องเป็น CC-BY-SA เท่านั้นถึงจะคัดลอกได้ (กรณีนี้ผมไม่นับรวมเรื่อง GFDL) เพราะสัญญาอนุญาตแบบอื่นไม่ compatible กับ CC-BY-SA

ที่ผมสงสัยก็คือ CC มีสัญญาอนุญาตมากมาย ผมเชื่อว่ามันต้องมีบาง combination ที่ compatible กับ CC-BY-SA บ้างนะครับ อย่าง CC-BY เนี่ย ข้อจำกัดมันน้อยกว่า CC-BY-SA เสียอีก (คือไม่ต้อง Share-Alike) ดังนั้นผมค่อนข้างเชื่อว่าเราน่าจะสามารถคัดลอกข้อมูลจาก CC-BY ได้ (ในทางกลับกัน ถ้ามีเว็บเป็น CC-BY จะไม่สามารถคัดลอกจาก CC-BY-SA ได้) ซึงผมก็ไม่รู้ว่าผมคิดถูกหรือเปล่า และมีสัญญาอนุญาตแบบอื่นอีกหรือไม่ที่ compatible กับ CC-BY-SA --Nullzero (พูดคุย) 14:41, 31 มกราคม 2556 (ICT)

2013.02[edit]

แปล[edit]

อยากทราบความเห็นของคุณว่าคำต่อไปนี้ควรแปลว่าอะไรให้ดีที่สุดครับ

  1. Personal attack =
  2. Legal threat
  3. Ban

--Horus | พูดคุย 09:10, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ขอทราบข้อความแวดล้อม หรือบทความที่จะแปล เป็นต้น ด้วยครับ :) --Aristitleism (พูดคุย) 11:47, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
  1. Personal attack = (การ)โจมตีตัวบุคคล (มีบทความ en เรื่องนี้ด้วย)
  2. Legal threat = การคุกคามทางกฎหมาย
  3. Ban = ระงับ (ใช้เป็นคำแปลมาตรฐานวิกิ)

--浓宝努 11:52, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ประมาณคุณ Octahedron80 นั่นแหละครับ แต่ลองถามดูเผื่อมีคำที่ใช้ทางกฎหมายตรงกัน --Horus | พูดคุย 11:56, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ถ้าเอาไปแปลพวกนโยบายไม่จำต้องเอาเน้นมาทางกฎหมาย เพราะนโยบายใช้อ้างอิงทางกฏหมายไม่ได้ เอาแค่แปลให้รู้เรื่องเป็นพอ --浓宝努 12:02, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ถ้าอย่าง personal attack กับ legal threat ที่พบในโลกภายนอกเช่นกัน ผมเห็นว่า น่าจะแปลให้ตรงหรือคล้ายกันดีกว่า เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เช่น นโยบายให้บล็อกผู้ใช้กรณีผู้ใช้ legal threat --Horus | พูดคุย 12:05, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
  1. เรื่องใช้ศัพท์ให้เหมือนกันนั้น แล้วแต่จะเห็นสมควรครับ
  2. สำหรับ legal threat ในกฎหมายไทยปรากฏในเรื่องข่มขู่ ในตำราแปลต่าง ๆ กัน ที่นิยมใช้กันมาก คือ "(การ) ขู่ว่าจะดำเนินคดี" และ "(การ) ขู่ว่าจะใช้สิทธิทางกฎหมาย" หลักเรื่องนี้ปรากฏใน ป.พ.พ. มาตรา 165

    "การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่

    "การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง ไม่ถือว่าการนั้นได้กระทำเพราะถูกข่มขู่"

    "The threat of the normal exercise of a right is not considered a duress.

    "Any act made owing to reverential fear is not considered an act made under duress."

  3. ส่วน ban ไม่มีศัพท์ตายตัว ใช้ว่า ห้าม (เป็นต้นว่า ban on entry คือ ห้ามเข้าเขตที่กำหนด) บ้าง และใช้อย่างอื่นบ้าง
    --Aristitleism (พูดคุย) 15:00, 5 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ขอแรงแปลเรื่องสมาคมและมูลนิธิ[edit]

meta:Wikimedia_Thailand/Registration ผมยกร่างไว้คร่าวๆ จุดประสงค์ของหน้านี้เพื่อแสดงให้มูลนิธิวิกิมีเดียเห็นว่าเราต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง (เงิน-กรณีตั้งมูลนิธิ เอกสารรับรองการใช้ชื่อ-กรณีสมาคม) --taweethaも (พูดคุย) 14:36, 6 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ขอทราบรายละเอียดดังนี้ครับ (1) แปลอะไร (2) แปลที่ไหน และ (3) แปลภาษาอะไรเป็นภาษาอะไรครับ ขอบพระคุณครับ --Aristitleism (พูดคุย) 15:00, 6 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
(1) แปลหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ ให้ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเข้าใจว่าขั้นตอนการตั้ง Wikimedia Thailand ต้องทำอะไรบ้าง ผมได้เลือกลิงก์มาจำนวนหนึ่งเป็นต้นฉบับ แต่คุณ Aristitleism อาจเลือกข้อมูลจากแหล่งอื่นมาเป็นแหล่งข้อมูลด้วยก็ไม่ว่ากัน (ถ้ามีตัวอย่างระยะเวลาหรือค่าใช้จ่ายด้วยก็น่าจะดี ค่าใช้จ่ายในที่นี้ไม่ใช่แค่ค่าจดทะเบียน แต่เป็นค่าทนาย ค่าสอบบัญชี ค่าเช่าสำนักงาน ฯลฯ ซึ่งบางทีก็มีคนรับทำเหมาไปเป็นแพ็คเกจ) (2) แปลไว้บน meta ตามลิงก์ที่ให้ไว้เลยครับ - ไม่เชิงว่าแปลอย่างเดียว แต่เขียนในทำนองสรุปหลักเกณฑ์ด้วย (3) แปลจากไทยเป็นอังกฤษครับ --taweethaも (พูดคุย) 10:20, 7 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ผมไม่สามารถบอกระยะเวลา ไม่สามารถสรุปค่าใช้จ่าย และไม่สามารถแนะนำเรื่องรับเหมาจดทะเบียนได้ครับ อนึ่ง ผมไม่มีเวลาพอจะสรุปให้ ผมจึงใส่ลิงก์ที่มีคนสรุปเอาไว้แล้ว ต้องกราบขออภัยงาม ๆ ด้วยครับ --Aristitleism (พูดคุย) 11:35, 9 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ลิงก์ข้ามภาษาในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[edit]

ทำไมถึงลบลิงก์ข้ามภาษาในหน้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล่ะครับ ผมดูแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันนิครับ --Nullzero (พูดคุย) 12:40, 13 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

เพราะ Member of Parliament = สมาชิกรัฐสภา ครับ (ส.ส. ภาษาอังกฤษใช้ Representative หรือ Member of the House of Representative แต่ผมยังไม่ได้หาดูว่ามีบทความภาษาอื่นทำนองนี้หรือเปล่าครับ) --Aristitleism (พูดคุย) 12:51, 13 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ในวิกิฯ ภาษาอังกฤษบอกว่า ถ้ามีสองสภา MP ในภาษาอังกฤษมักหมายถึง ส.ส. แต่ในภาษาไทย "สมาชิกรัฐสภา" หมายถึงทั้ง ส.ส. และ ส.ว. เรื่องลิงก์ข้ามภาษาก็แล้วแต่จะเห็นสมควรแล้วกันครับ แต่ผมก็ยังเห็นว่า Member of Parliament ไม่ตรงกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นะครับ ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรสร้างบทความ "สมาชิกรัฐสภา" ขึ้นต่างหาก เพราะในบทความภาษาอังกฤษเอง หลาย ๆ ประเทศก็ใช้หมายถึงทั้งสองสภา (ถ้าโยงไปบทความ ส.ส. อย่างเดียวก็เห็นจะไม่ตรงความหมายนัก) --Aristitleism (พูดคุย) 12:58, 13 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

วุฒิสภา[edit]

ขอชี้แจงเหุตผลในการแก้ใขเนื้อหาของวุฒิสภาครับ

  1. ในเนื้อหาเดิมก่อนเกิดการแก้ใขนั้นมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเนื้อหาของวุฒิสภา ที่แก้ใขโดยผู้ใช้ Justincheng12345 เวลา 16:17 วันที่ 13 ตุลาคม 2555 ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของวุฒิสภาในประเทศไทย ซึ่งผมอ่านข้อความแล้วมีลักษณะเป็นการระบุอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในประเทศไทย จึงได้แก้ใขโดยอ้างอิงจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  2. ไม่ได้รังเกียจลิ้งค์ตัวแดงในหัวข้อ "วุฒิสภาแห่งชาติในโลก" นะครับแต่ ต้องการจะเน้นชื่อประเทศนั้นๆไม่ได้เน้นที่วุฒิสภาของประเทศนั้นๆ
ขอบพระคุณนะครับที่ร่วมกันแก้ใขให้สมบูรณ์ที่สุด --ChBRNM (พูดคุย) 13:08, 19 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ขอบพระคุณครับ ผมเอาส่วนอำนาจหน้าที่ไปรวมไว้ในบทความวุฒิสภาไทยแล้วครับ --Aristitleism (พูดคุย) 13:11, 19 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

พัฒนาบทความ[edit]

บทความ มาริโอ้ เมาเร่อ และ จัน ดารา (ภาพยนตร์ทวิภาค) ไม่มีข้อมูลครืบหน้าอะไรเลย มีหลายคนเขามาลงข้อมูลให้รวมถึงผมด้วย ไม่มีการขอบคุณเลยนะ ผมถามคุณจริงๆ เถอะ จะเก่งไปถึงไหน ผมพูดจาดีๆกับคุณนะ คุณไม่เอาไหน ไม่สนใจ ทุเรศ ไอ้เก่ง ไอ้กากเอ่ย โชคดี ฝันดีนะ จุ๊บๆๆๆ 555 สะใจ — Preceding unsigned comment added by Tubtab (talkcontribs) 22:56, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

อะไร? ทักผิดคนหรือเปล่า? โถ เอาซะงงเลย พ่อมหาจำเริญพ่อเจ้าประคุณทูนหัว --Aristitleism (พูดคุย) 23:16, 17 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
อะไร อย่าๆ มางงให้โง่หน่อยเลยครับ ไป ไปดูบทความตัวเองเลยครับ ไปครับ อย่าโง่ครับ — Preceding unsigned comment added by 1.1.212.187 (talkcontribs) 19:07, 18 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)
ถ้าฉลาดก็หัดลงชื่อเสียบ้างครับ --Aristitleism (พูดคุย) 19:18, 18 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ก็ไม่ฉลาดเหมือนคนบ้างคน คุณจัน ดารา มีปัญหาเหรออ !!!! — Preceding unsigned comment added by 1.1.212.187 (talkcontribs) 19:31, 18 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

ผมไม่มีปัญหาอะไรดอก คุณเคน กระบือทอง เอ้ย กระทิงทอง (แหม พูดผิดพูดถูก ไม่ได้ตั้งใจเลยจริงจริ๊ง) แล้วผมก็ไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดกับคุณอีกแล้วล่ะ เพราะผมถือคติว่า

โย สฺวานสฺส ทุเส ปาทํ ตสฺส ปาทํ นโส ทุส
เอวเมว หิ ทุชฺชโน อโกฺรธา น สมนฺติโต
หมาใดตัวร้ายขบ บาทา
อย่าขบตอบต่อหมา อย่าขึ้ง

--Aristitleism (พูดคุย) 19:56, 18 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

คุณ Tubtab ไม่สามารถอ้างว่า "มีหลายคนเขามาลงข้อมูลให้รวมถึงผมด้วย" เพราะผมเช็คไอพีแล้ว มีแต่ของคุณ Tubtab คนเดียว ถึงคุณจะถอดล็อกอินออก แต่เราก็ตรวจสอบได้ เลิกเสแสร้งเสียเถิด --浓宝努 13:33, 19 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ตวจสอบการแจ้งทำลายบทความที่วิกิซอร์ซด้วย[edit]

หน้าที่ซ้ำซ้อนได้ดำเนินการลบไปแล้วหรือยังตรวจสอบก่อน — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 15:48, 27 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

ความซ้ำซ้อนไม่ได้ดูกันที่ชื่อเรื่อง แต่ดูกันที่เนื้อเรื่องครับ แล้วเนื้อเรื่องก็เป๊ะ ๆ เลย ฉะนั้น จึงนับได้ว่าซ้ำซ้อน --Aristitleism (พูดคุย) 15:51, 27 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
  • คำอธิบายแทนการอ่านทำความเข้าใจลิงค์ไปที่
  • บทความไม่เหมือนกันเลย บทหนึ่ง(วิกิซอร์ซ)โดยรวมพูดกล่าวถึงศาสนะประพฤติทางศาสนาพุทธ ส่วนอีกบทหนึ่ง(วิกิคำคม)โดยรวมพูดกล่าวถึงพฤติทฤษฎีทางดาราจักรวาล

— Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 16:39, 27 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

ผมยกเลิกการแจ้งลบที่วิกิซอร์ซ เอาที่วิกิคำคมมารวมในวิกิซอร์ซ และแจ้งลบที่วิกิคำคมแทนแล้ว --Aristitleism (พูดคุย) 16:41, 27 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

30-04-046[edit]

ทำไมผู้ใช้ Aristitleism ไม่ใช้ชื่อผูใช้ภาษาไทย ในการเข้าแก้ไขหรือเขียนงานที่เป็นภาษาไทย จะได้ลดความต่อต้านเรื่องความไม่เหมาะสม ทางเชื้อชาติและภาษาลงได้บ้าง ถ้าใช้ชื่อทางฝรั่ง ก็ควรแก้ไขและเขียนการบันทึกงานในแผนกภาษานั้นๆ — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 12:24, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

(แวะมาตอบ) ผมถามกลับว่าทำไมคุณไม่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษในการเข้าแก้ไขหรือเขียนงานที่เป็นภาษาอังกฤษล่ะครับ "จะได้ลดความต่อต้านเรื่องความไม่เหมาะสม ทางเชื้อชาติและภาษาลงได้บ้าง" --∫G′(∞)dx 12:28, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

ชื่อผู้ใช้ผมไม่เหมาะสมอย่างไรหรือครับ Aristitleism (อริสไตเติลอิสซึม) บางส่วนเอามาจากชื่อในชีวิตจริงของผม โดยล้ออริสโตเติล แล้วเติมอิสซึมเข้าไป ไม่มีคำหยาบคำต่ำแต่ประการใด และไม่ได้คำนึงเรื่องเชื้อชาติภาษาใด ๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง เพราะผมไม่ได้นิยม เลื่อมใส ฝักใฝ่ หรือเดียดฉันท์ชาติหรือภาษาใดโดยเฉพาะ (ถึงแม้เป็นผู้ถือสัญชาติไทยโดยกำเนิด ผมก็เฉย ๆ กับประเทศไทย ความเป็นไทย สถาบันต่าง ๆ ของประเทศไทย ฯลฯ ไม่ได้นิยมชาติอะไรมากมาย) อนึ่ง เป็นสิทธิแต่ผู้เดียว (exclusive right) และเสรีภาพอันบริบูรณ์ (absolute freedom) ของผมที่จะเลือกสรรชื่อผู้ใช้ของผมเองครับ ตราบที่ไม่ขัดต่อนโยบายของมูลนิธิวิกิมีเดีย ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนครับ ทั้งนี้ ผมไม่เห็นว่าคำถามของคุณสุขพินทุเป็นเรื่องชวนเครียดอะไรหรอกนะครับ ผมเห็นว่าขำดี และคุณสุขพินทุก็มีสิทธิที่จะสงสัยได้ กับทั้งผมก็ยินดีตอบครับ --Aristitleism (พูดคุย) 12:40, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

เมื่อพัฒนาถูกส่วน ก็จะพัฒนาได้เร็วก็เท่านั้น แต่ถ้าต้องการไปช้าๆหรือเป็นผู้ติดตามเขา ก็ทำแบบที่ทำ คือใช้ความไม่เหมาะสมเข้าแก้ไขปัญหา ที่ควรแก้ด้วยความเหมาะสม ข้าพเจ้าเป็นคริสคชนด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่ได้ศัทธาหรือชอบที่จะนำพระคัมภีร์ในภาคภาษาอังกฤษมาเบียดบังหรือใช้สอยแต่อย่างใด นักปราชญ์ระดับสูงของไทยมากท่านที่รู้ภาษาอังกฤษระดับแตกฉานทั้งภาษาพูดและเขียน ท่านก็ยังนำที่จะใช้ภาษาไทยให้มากกว่า — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 12:51, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

อันนั้นก็สุดแล้วแต่นักปราชญ์คนนั้นครับ ผมเฉย ๆ กับชาติไทยและชาติอื่น ๆ และผมพอใจจะเป็นพลเมืองโลก --Aristitleism (พูดคุย) 12:57, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
ครับ ยิ่งควรจะต้องพัฒนาทุกๆภาษา ให้เต็ม และไปด้วยความเหมาะสม ทุกๆภาษา ประแจ 8 แฉก เบอร์ 10 ก็ควร กับน็อต 8 แฉก เบอร์ 10 เช่นนี้เป็นต้น ความกลมกลืนระหว่างภาษานั้นควรมีอย่างยิ่ง แต่ว่าความขัดแย้งระหว่างภาษาต่างหากไม่ควรมี ประแจที่ใช้ไขความ เราวิกิทุกคนกำลังหา ! — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 13:04, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

ปัจจุบัน ผู้ใช้ สุขพินทุ ถูกห้ามใช้วิกิพีเดียภาคภาษาอังกฤษ 1 เดือน และ ไม่คิดเขียนบันทึกแก้ไขจัดการวิกิในภาคภาษาอังกฤษด้วยชื่อบัญชีที่เขียนด้วยภาษาไทยอีกต่อไป — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 12:54, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)

คุณไม่ได้ถูกบล็อกที่วิกิพีเดียอังกฤษครับ แค่ถูกบล็อกที่คอมมอนส์ นั่นเป็นเพราะคุณละเมิดลิขสิทธิ์หลายกรรมหลายวาระมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะถูกบล็อกมาก่อนแล้วก็ยังทำอีก เขาจึงขยายเวลาบล็อกครับ --Aristitleism (พูดคุย) 13:01, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
นั้นก็เป็นเพราะกรรมที่ ทางผู้ใช้สุขพิทุ เกิดความพยายามที่จะอธิบายด้วยภาษาอังกฤษ สุดท้ายก็มิพ้นที่จะถูกข่มเหงด้วยกรรมที่หนักเช่นนั้น — Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 13:10, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)
  • (exclusive right) ในบทฐานที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ควรที่จะแปลว่า อิสระวิถี
  • (absolute freedom)ในบทฐานที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ควรที่จะแปลว่า อิสระชน
  • อนึ่งข้อแนะนำการเขียนภาษาไทยด้วยอักษรภาษาที่สองก็อาจเป็นแนวทางที่จะลดปัญหาความไม่เหมาะสมลงได้บ้าง ในทางตรงข้ามกัน การเขียนภาษาที่สองด้วยอักษรไทยพยัญชนะไทย จะช่วยคลี่คลายปัญหาการจัดการได้มากยิ่งกว่า

— Preceding unsigned comment added by สุขพินทุ (talkcontribs) 13:45, 28 กุมภาพันธ์ 2556 (UTC)