User:Clumsily/Public Prosecutor v. Thaksin Shinawatra et al.

From Wikipedia, the free encyclopedia
Clumsily/Public Prosecutor v. Thaksin Shinawatra et al.
(76,000-Million-Baht Assets Confiscation Case)
First and last page of the Judgment
Matters
Accusations The Accused has gained his wealth unusually or inappropriately by means of malfeasance in office
Applications THB 76,621,603,061.05 Assets of the Accused, including their fruits, must be confiscated
Parties
Defendant Thaksin Shinawatra, Accused
Others Pojaman Shinawatra, 1st Opposer
Panthongtae Shinawatra, 2nd Opposer
Pinthongtha Shinawatra, 3rd Opposer
Yinglak Shinawatra, 4th Opposer
Bhanapot Damapong, 5th Opposer
Other Opposers
Court
Court Thailand Supreme Court of Justice of Thailand's Criminal Division for Holders of Political Positions
Chamber Somsak Nettramai, Cheif of the Chamber
Thanit Ketsawaphithak
Phithak Khongchan
Phongthep Siriphongtikanon
Adisak Thimmat
M.L. Ritthithep Devakula
Prathip Chaloemphatthrakun
Kamphon Phusutsawaeng
Phairot Wayuphap
Judgment
No. Black-Number Case No. CDHPP 14/2551
Red-Number Case No. CDHPP 1/2553
Date 26 February, 2010
Holdings
" The THB 46,373,687,454.70 money owned by the Accused, including its fruits, be confiscated; the leftover THB 33,247,915,606.35 money be returned to the Accused; All other applications be dismissed. "
Website
See below

{ผู้ใช้:Clumsy/อักษรย่อคดียึดทรัพย์}

Attorney General v Thaksin Shinawatra et al is a civil case in Thailand wherein the Attorney General applied to the Criminal Division for Holders of Political Positions ("the Division") of the Supreme Court of Justice of Thailand ("the Court") for confiscation of THB 76,621,603,061.05 assets of Thaksin Shinawatra ("Mr Thaksin"), the 23rd Prime Minister of Thailand, together with their fruits.

The action was enterred after the Council for Democratic Reform ("CDR") took control over the country and unseated Mr Thaksin on account of the accusation that "...The public administration had been carried out in a manner of rampant corruption..."[1] The CDR appointed an Assets Examination Committee ("AEC") to exercise the powers of the National Counter Corruption Commission ("NCCC") in order to inspect any performance of the Council of Ministers vacating office by the result of the seizure of power. The inspection has led an action to be insituted in the Court by the Attorney General against Shinawatra family on 12 August, 2008, whereon Queen Sirikit celebrated her 76th birthday anniversary.[2].

The Attorney General accused Mr Thaksin of having "...performed or avioded to perform any act by virtue of the power of the Prime Minister in order to benefit the Accused himself and his family, causing him to have his assets increased for THB 76,621,603,061.05—an act of having gained wealth unusually or inappropriately..." and applied to the Court fort the confiscation of such amount of money together with the fruits.[3]

On 12 August, 2008, the Plenary Session of the Court elected nine judges to constitute a chamber for trial of this case ("the Chamber").[4] The Chamber was given a name by the media as the "Nine Arahants."[5] The trial began as from 2 September, 2008 until 26 February, 2010 whereon the final judgment was pronounced by the Chamber that, by 7:2, the majority of votes held that Mr Thaksin has gained his wealth unlawfully as accused and his THB 46,373,687,454.70 money, out of the total amount applied for by the Attorney General, will be confiscated while the remainder will be returned. The minority of votes deemed the whole amount of money must be confiscated in pursuance of the application.[3]

Following the delivery of judgment, the United Front for Democracy Against Dictatorship ("UDD"), a Pro-Thaksin movement, submitted an unsuccessful proprosal to the Senate calling for removal of the Chamber en bloc, especially the two judges who considered the whole applied money should be confiscated.[6] [7] At the same time, Mr Thaksin, who currently lives abroard to avoid jail, gave an interview that "...The court was abnormal! It took the sayings of the Opposition to read as its judgment...," though he previously said that "...Everyone must accept the judgment..."[8]

ภูมิหลัง[edit]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ สมัยที่ 1[edit]

{ดูเพิ่มที่2|ทักษิณ ชินวัตร}

[[ไฟล์:Thaksin_Time.jpg|thumb|200px|right||พ.ต.ท.ทักษิณบนปกนิตยสารไทม์ ]]

14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยก่อนหน้านี้ เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จงดงาม กับทั้งเคยเป็นประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (“บ.ชินคอร์ป”) ซึ่งเป็นบริษัทรายใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจด้านการคมนาคมและการสื่อสารในประเทศไทยและต่างประเทศ[3]

9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 มี "พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2543" โดยมาตรา 3 ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรในสมัยที่ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เรียบร้อยแล้ว และมาตรา 4 ให้จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลักจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว[9]

6 มกราคม พ.ศ. 2544 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป โดยพรรคไทยรักไทย นำโดยพันตำรวจโททักษิณ, พรรคประชาธิปัตย์นำโดย ชวน หลีกภัย, พรรคชาติไทย นำโดย บรรหาร ศิลปอาชา, พรรคความหวังใหม่ นำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ, พรรคชาติพัฒนา นำโดย กร ทัพพะรังสี และพรรคอื่น ๆ ได้รับเลือกตั้งมามากน้อยตามลำดับ

9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบให้พันตำรวจโททักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี และวันเดียวกัน ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งโดยมีผลใช้บังคับทันที อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภารับสนองพระบรมราชโองการ[10]

ด้วยเหตุที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 209 บัญญัติว่า ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีได้รับแต่งตั้ง และยังประสงค์จะได้รับประโยชน์จากหุ้นที่ตนถืออยู่ (หากมี) ก็ให้แจ้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ แล้วโอนหุ้นนั้นไปให้นิติบุคคลถือไว้และบริหารจัดการแทน และตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ห้ามเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นนั้นเป็นอันขาด[11]

ซึ่งขณะเริ่มดำรงตำแหน่งนั้น พันตำรวจโททักษิณถือหุ้นในชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 หุ้น (สามสิบสองล้าน เก้าแสนสองหมื่น หุ้น) แต่ละหุ้นมีราคาพาร์ (PAR value) 10 บาท[3]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ สมัยที่ 2[edit]

การยึดอำนาจการปกครองโดย คปค.[edit]

การดำเนินคดี[edit]

การตรวจสอบโดย คตส.[edit]

การพิจารณาสำนวนโดยอัยการสูงสุด[edit]

การยื่นคำร้องของอัยการสูงสุด[edit]

สรุปคำร้องของอัยการสูงสุด[edit]

อัยการสูงสุดยื่นและแก้ไขคำร้อง สรุปได้ว่า[3]

  • คำร้องเริ่มด้วยการบรรยายพฤติการณ์เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งสองสมัย ซึ่งถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงควบคุม กำกับดูแล และบังคับบัญชาการบริหารดังกล่าวในฐานะที่เป็นประมุขของอำนาจบริหาร
  • จากนั้นจึงกล่าวถึงความเป็นไปของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แก่
    • บ.ชินคอร์ป ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐให้ดำเนินกิจการด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียม
    • บ.เอไอเอส ซึ่งได้รับสัมปทานจาก ทศท. อันเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ให้ดำเนินกิจการให้บริการโทรทัพท์เคลื่อนที่
    • บ.ดีพีซี ซึ่งได้รับสัมปทานจาก กสท. อันเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ให้ดำเนินกิจการอย่างเดียวกับ บ.เอไอเอส และ
    • บ.ไทยคม ซึ่งได้รับสัมปทานจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ดำเนินกิจการให้บริการดาวเทียม
  • ต่อมาจึงเริ่มอธิบายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กระทำการอันเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ โดยชี้ให้เห็นว่า
    • ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ถือหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 (สามสิบสองล้าน เก้าแสนสองหมื่น) หุ้น, คุณหญิงพจมาน คู่สมรสของเขา ได้ถือหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 34,650,000 (สามสิบสี่ล้าน หกแสนห้าหมื่น) หุ้น และ บรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมของคุณหญิงพจมาน ก็ได้ถือหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 6,847,395 (หกล้าน แปดแสนสี่หมื่นเจ็ดพัน สามร้อยเก้าสิบห้า) หุ้น รวมทั้งหมดเป็น 74,417,395 (เจ็ดสิบสี่ล้าน สี่แสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพัน สามร้อยเก้าสิบห้า) หุ้น คนทั้งสามชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บ.ชินคอร์ป
    • บ.ชินคอร์ปเองก็ถือหุ้นจำนวนมากใน บ.เอไอเอส และ บ.ไทยคม กับทั้ง บ.เอไอเอสก็ถือหุ้นใน บ.ดีพีซี อีกทอดหนึ่ง

การได้มาซึ่งองค์คณะผู้พิพากษา[edit]

เหตุการณ์ก่อนวันพิพากษา[edit]

วันพิพากษา[edit]

คำพิพากษาโดยย่อ[edit]

บุคคลตามคำพิพากษา[edit]

ที่ ชื่อ คำอ้างถึงในคำพิพากษา
ผู้ร้อง
1 อัยการสูงสุด (นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะทำงานคดีนี้[2]) ผู้ร้อง
ผู้ถูกกล่าวหา
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา
ผู้คัดค้าน
1 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 1
2 นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 2
3 น.ส.พิณทองทา ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 3
4 นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้คัดค้านที่ 4
5 นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 5
6 นางบุษบา ดามาพงศ์ ผู้คัดค้านที่ 6
7 นายสมพร พงศ์สุวรรณ ผู้คัดค้านที่ 7
8 คณะบุคคลวิวิธวร แชมเบอร์ ผู้คัดค้านที่ 8
9 บริษัทพี.ที.คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้คัดค้านที่ 9
10 บริษัทเอสซี ออฟฟิซ พลาซ่า จำกัด ผู้คัดค้านที่ 10
11 บริษัทโอเอไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 11
12 บริษัทโอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ผู้คัดค้านที่ 12
13 บริษัทโอเอไอ คอลซัลแต้นท์แอนด์แมนเนจเม้นท์ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 13
14 บริษัทที่ปรึกษากฎหมายธีรคุปต์ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 14
15 บริษัทเวิร์ธ ซัพพลายส์ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 15
16 บริษัทเอส ซี เอ เอสเทต จำกัด ผู้คัดค้านที่ 16
17 มูลนิธิไทยคม ผู้คัดค้านที่ 17
18 บริษัทประไหมสุหรี พร้อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 18
19 บริษัทสมพร แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ผู้คัดค้านที่ 19
20 บริษัทบี.บี.ดี. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 20
21 บริษัทบี.บี.ดี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้คัดค้านที่ 21
22 บริษัทไว้ท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ
บริษัทวีระวงศ์, ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด
ผู้คัดค้านที่ 22

Merits[edit]

Overview[edit]

ในทางพิจารณา องค์คณะได้วินิจฉัยIssueต่าง ๆ ตามที่ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านทั้งหลายได้คัดค้านคำร้องของอัยการสูงสุดมา รวม 8 Issueใหญ่ ซึ่งบางIssueมีIssueย่อยอีก ดังต่อไปนี้[3]

  • Issue 1 Whether the Court has jurisdiction over the case?
  • Issue 2 Whether the Attorney General is empowered to enter the case?
    • Issue 2.1 Whether the Organic Acts have come to an end together with the abolition of the Constitution?
    • Issue 2.2 Whether the AEC has conducted the inspection within the purview of its power?
    • Issue 2.3 การที่คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้เป็นชุดเดียวกับคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    • Issue 2.4 คตส. ดำเนินคดีนี้โดยล่วงเลยระยะเวลาที่ประกาศ คปค. กำหนดไว้หรือไม่
    • Issue 2.5 คณะอนุกรรมการสำหรับคดีนี้จำกัดฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาในการแก้ข้อกล่าวหาโดยมิชอบหรือไม่
    • Issue 2.6 อนุกรรมการไต่สวนคดีนี้บางคนเป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหรือไม่
    • Issue 2.7 Whether the NCCC is empowered to succeed the AEC?
    • Issue 2.8 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินคดีนี้โดยข้ามขั้นตอนที่กฎหมายวางไว้หรือไม่
    • Issue 2.9 Whether the Application is incomplete?
    • Issue 2.10 คตีนี้เป็นคดีแพ่ง ต้องรอให้ทางอาญาที่เกี่ยวข้องยุติก่อนจึงจะดำเนินได้ ใช่หรือไม่
    • Issue 2.11 การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินกระทำมิได้ เพราะผู้คัดค้านทั้งหลายมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช่หรือไม่
  • Issue 3 Whether the Application is ambiguous?
  • Issue 4 Whether the Accused had still held shares in ShinCorp in the course of his premiership?
  • Issue 5 Whether the Accused had exercised public powers or performed public duties to benefit himself and his family?
    • Issue 5.1 Whether the Council of Ministers's approval to deduct excise from concession fees had benefited ShinCorp?
    • Issue 5.2 Whether the Council of Ministers's approval to reduce revenue shares on pre-paid mobile services had benefited ShinCorp?
    • Issue 5.3 การให้ใช้และปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับได้ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่
    • Issue 5.4 การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับ บ.ดีพีซี เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่
    • Issue 5.5 หลายกรณีเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
    • Issue 5.6 การลดสัดส่วนหุ้นที่ บ.ชินคอร์ปต้องถือใน บ.ไทยคม เอื้อประโยชน์แก่บริษัททั้งสองหรือไม่
    • Issue 5.7 การให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าช่องสัญญาดาวเทียมต่างประเทศ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
    • Issue 5.8 Whether the Council of Ministers's approval of the Burmese Government's money borrowing had benefited ShinCorp and ThaiCom?
  • Issue 6 Whether the acts pursuant to Issue 5 arised out of the exercise of power or performance of duty of the Accused?
  • Issue 7 Whether and how much the assets of the Accused must be confiscated?
  • Issue 8 Whether the applications by the Oppossers for revoking the AEC's Order attaching their assets should be granted?

Issue 1 Whether the Court has jurisdiction over the case?[edit]

180px|thumb|right|พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542

  • Considerable issue Whether the Court has jurisdiction over the case?
  • Objections
    • The Accused (Mr Thaksin) and the 1st Oppressor (Mrs Potjaman) The AG accused him of having committed tort while being a state officer and applied for confiscation of his assets. Torts committed by state officers are subject to the jurisdiction of the Administrative Courts, not this Court.
  • Opinions
    • The Chamber viewed
      • The CDR Announcement No. 30, Clause 5, empowering the AEC to inspect any acts detrimental to the State as a result of the approval or endorsement granted by the Council of Ministers led by Mr Thaksin and to order seizing or attaching any assets of the suspects, as well as their spouses and minor children.
      • The CDR Announcement No. 30, Clause 9, governing the procedure as to making of decision of the AEC.
      • The Organic Act on Criminal Procedure for Holders of Political Positions, BE 2542 (1999), § 9, determing types of actions subject to the jurisdiction of the Court. (1) of the section prescribed that a case whose ground is

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 ซึ่งกำหนดประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลไว้ โดยอนุมาตรา (1) ว่า ได้แก่ คดีที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปรกติ และ (4) ว่า คดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปรกติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตกเป็นของแผ่นดิน

    • องค์คณะเห็นว่า ในคดีนี้ อัยการสูงสุดกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณร่ำรวยผิดปรกติหรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่ฟ้องว่า พ.ต.ท.ทักษิณกระทำละเมิดในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง และมิใช่ร้องขอให้ถอดถอน พ.ต.ท.ทักษิณออกจากตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นคดีรัฐธรรมนูญที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติเอกฉันท์ว่า ศาลมีอำนาจรับคำร้องของอัยการสูงสุดไว้พิจารณาพิพากษา

Issue 2 อัยการสูงสุดมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้หรือไม่[edit]

ภาพรวม[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย อัยการสูงสุดมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้หรือไม่
  • ความเห็นขององค์คณะ องค์คณะแยกวินิจฉัยเป็นIssueย่อย ดังลำดับต่อไปนี้
    • Issue 2.1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ 2540 หรือไม่
    • Issue 2.2 การดำเนินคดีนี้โดย คตส. เป็นไปภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค. หรือไม่
    • Issue 2.3 การที่คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้เป็นชุดเดียวกับคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    • Issue 2.4 คตส. ดำเนินคดีนี้โดยล่วงเลยระยะเวลาที่ประกาศ คปค. กำหนดไว้หรือไม่
    • Issue 2.5 คณะอนุกรรมการสำหรับคดีนี้จำกัดฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาในการแก้ข้อกล่าวหาโดยมิชอบหรือไม่
    • Issue 2.6 อนุกรรมการไต่สวนคดีนี้บางคนเป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหรือไม่
    • Issue 2.7 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจทำคดีนี้ต่อจาก คตส. หรือไม่
    • Issue 2.8 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินคดีนี้โดยข้ามขั้นตอนที่กฎหมายวางไว้หรือไม่
    • Issue 2.9 คำร้องคดีนี้ยื่นมิได้ เพราะอัยการสูงสุดเห็นว่าไม่สมบูรณ์ เป็นเช่นนั้นหรือไม่
    • Issue 2.10 คตีนี้เป็นคดีแพ่ง ต้องรอให้ทางอาญาที่เกี่ยวข้องยุติก่อนจึงจะดำเนินได้ ใช่หรือไม่
    • Issue 2.11 การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินกระทำมิได้ เพราะผู้คัดค้านทั้งหลายมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช่หรือไม่
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติเอกฉันท์ว่า อัยการสูงสุดมีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้

Issue 2.1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญหรือไม่[edit]

{คำพูดขวา|...[กฎหมาย] เมื่อมีการตราขึ้นใช้บังคับโดยชอบแล้ว...ย่อมมีความสมบูรณ์และยังดำรงความเป็นกฎหมายอยู่ในตัวเอง สามารถนำไปใช้บังคับแก่กรณีต่าง ๆ ได้ โดยหาจำต้องอาศัยความดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรา...ไม่...|องค์คณะ[3]}

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 พร้อมทั้งวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกัน ย่อมมีผลให้บรรดาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในเวลานั้น โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สิ้นสุดลงตามไปด้วย ดังนั้น บัดนี้จึงไม่มีกฎหมายใช้บังคับแก่การกระทำของตนที่เกิดขึ้นก่อนการสิ้นสุดลงนั้นอันเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดตามคำร้องของอัยการสูงสุดอีกต่อไป
  • ความเห็นขององค์คณะ
    • องค์คณะพิจารณา ประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ใจความว่า ให้รัฐธรรมนูญ 2540 พร้อมทั้งวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกัน แต่ศาลอื่น ๆ ให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามตัวบทกฎหมายต่อไป แสดงว่า บทกฎหมายทั้งหลายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น หาได้สิ้นสุดลงไปด้วยแต่ประการใดไม่
    • องค์คณะเห็นว่า แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะมีขึ้นเพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ให้อำนาจตราขึ้นก็ตาม แต่เมื่อตราขึ้นเป็นกฎหมายและมีผลใช้บังคับโดยชอบแล้ว ก็ย่อมสมบูรณ์และดำรงความเป็นกฎหมายอยู่ในตัว สามารถนำไปใช้บังคับแก่กรณีต่าง ๆ ได้อยู่ร่ำไป มิจำต้องคำนึงเลยว่ารัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นนั้นจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่เสียแล้ว
  • คำวินิจฉัยขององค์คณะ องค์คณะวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ

Issue 2.2 การดำเนินคดีนี้โดย คตส. เป็นไปภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค. หรือไม่[edit]

{คำพูดขวา|...ประกาศ คปค. ฉบับดังกล่าว [ฉบับที่ 30]...เปิดกว้างให้ คตส. ตรวจสอบได้ทุกเรื่องที่เห็นควรตรวจสอบ...[จึง] ให้อำนาจ คตส. ตรวจสอบการกระทำของบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยมิได้จำกัดให้ตรวจสอบเฉพาะ ครม. คณะใดคณะหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การตรวจสอบไต่สวนของ คตส. ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินการภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค. ที่ให้อำนาจไว้แล้ว...|องค์คณะ[3]}

thumb|180px|right|ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย กระบวนการตรวจสอบไต่สวนคดีนี้โดย คตส. เป็นไปภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 หรือไม่
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ให้อำนาจ คตส. ตรวจสอบเฉพาะการกระทำของรัฐมนตรีใน ครม. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่ ครม. ของตนพ้นจากตำแหน่งอยู่ก่อนแล้วเพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงโดยถูกยุบและรักษาการต่อจนกระทั่งเกิดรัฐประหารดังกล่าว ดังนั้น คตส. จึงไม่มีอำนาจตวจสอบ ครม. ของตน
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านเช่นเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา
  • ความเห็นขององค์คณะ
    • องค์คณะพิจารณา ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ซึ่งให้อำนาจ คตส. ตรวจสอบการกระทำต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ อันเป็นผลมาจากการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไปในทางทุจริตโดย ครม. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2549, รวมถึงตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน การจัดซื้อจัดจ้าง และการกระทำทั้งของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และบุคคลใด ๆ ที่เป็นไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบ มิชอบด้วยกฎหมาย หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือที่มีมูลตามที่ได้รับการเสนอให้ตรวจสอบ
    • องค์คณะเห็นว่า แม้ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 จะให้ตรวจสอบการอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบโดย ครม. ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกรัฐประหารข้างต้นก็ตาม แต่ก็ให้รวมตรวจสอบการอื่น ๆ อย่างเปิดกว้างด้วย มิได้เจาะจงแต่ ครม. คณะใดคณะหนึ่งหรือบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง
  • คำวินิจฉัยขององค์คณะ องค์คณะเห็นว่า “...การตรวจสอบไต่สวนของ คตส. ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินการภายในขอบอำนาจตามประกาศ คปค. ที่ให้อำนาจไว้แล้ว...”

Issue 2.3 การที่คณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้เป็นชุดเดียวกับคณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีอื่น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การที่ คตส. แต่งตั้งให้คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อกล่าวหากรณีตราพระราฃกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคมและมติ ครม. แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต (“คณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีอื่น”) เป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ด้วย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า คตส.มิได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้ขึ้นใหม่ กลับแต่งตั้งให้คณะอนุกรรมการไต่สวนกรณีอื่นทำหน้าที่ในคดีนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละกรณีกัน การไต่สวนของ คตส. จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Issue 2.4 คตส. ดำเนินคดีนี้โดยล่วงเลยระยะเวลาที่ประกาศ คปค. กำหนดไว้หรือไม่[edit]

  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ตนพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 และรักษาการอยู่กระทั่งเกิดรัฐประหาร ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 75 วรรคสองนั้น จะต้องดำเนินคดีกับตนภายในสองปีนับจากวันพ้นจากตำแหน่ง คือ ภายในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 ทว่า คตส. แจ้งข้อกล่าวหาแก่ตนเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 คดีจึงขาดอายุความแล้ว
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านเช่นเดียวกับผู้ถูกกล่าวหา
  • ความเห็นขององค์คณะ
    • องค์คณะพิจารณา
      • ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ซึ่งข้อ 11 วรรคหนึ่ง ให้เวลา คตส. หนึ่งปีสำหรับดำเนินการตามประกาศนี้ และวรรคสองว่า ถ้าพ้นเวลานี้ไปยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ให้ส่งสำนวนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำต่อไป และต่อมามี “พระราชบัญญัติแก้่ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550” ซึ่งมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 11 วรรคสอง ของประกาศ คปค. ข้างต้น แล้วแทนว่า ถ้าพ้นเวลาหนึ่งปีนั้นไป คตส. ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ก็ให้ทำต่อจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 และเพิ่มวรรคสามเข้าไปว่า ถ้าพ้นวันที่ดังกล่าวไปยังไม่แล้วเสร็จอีก ก็ให้ส่งสำนวนให้หน่วยงานที่เีกี่ยวข้องทำต่อไป และให้ถือว่าการดำเนินการของ คตส. เป็นการดำเนินการอันชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานนั้น ๆ
      • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 75 วรรคสอง ซึ่งให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ปฏิบัติหน้าที่ในกรณีที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่ำรวยผิดปรกติให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่ง
    • องค์คณะเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คตส. ได้ทำคดีนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 แล้วได้ส่งสำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อ กับทั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายสำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิใช่สำหรับ คตส. ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะแล้วคือประกาศ คปค. ฉบับที่ 30
  • คำวินิจฉัยขององค์คณะ องค์คณะเห็นว่า คตส. ได้ดำเนินคดีนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายวางไว้่แล้ว

Issue 2.5 คณะอนุกรรมการสำหรับคดีนี้จำกัดฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาในการแก้ข้อกล่าวหาโดยมิชอบหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย คณะอนุกรรมการไต่สวนของ คตส. และคณะกรรมอนุกรรมพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สิน ในคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำกัดสิทธิของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาในการแก้ข้อกล่าวหาโดยมิชอบ หรือไม่
  • ความเห็นขององค์คณะ
    • องค์คณะพิจารณา ระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบ ว่าด้วยการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พ.ศ. 2549 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไต่สวน พ.ศ. 2547 ซึ่งทั้งสองระเบียบกำหนดให้คณะอนุกรรมการไต่สวนต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงและนำสืบข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาอันสมควร ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหานำสืบพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นไปในทางชักช้าประวิงคดี จะไม่ไต่สวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้
    • องค์คณะพิจารณา ข้อเท็จจริงว่า
      • คตส. มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ค.ท.ทักษิณ ได้ลงนามรับทราบเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ดำเนินการแยกเป็นสองส่วน คือ ชี้แจงข้อกล่าวหาของตน และพิสูจน์ทรัพย์สิน
      • ในการชี้แจงข้อกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณได้ขอเลื่อนถึง 2 ครั้ง ครั้งละ 60 วัน และในครั้งที่สองยังได้ยื่นคำร้องขอตรวจสอบพยานหลักฐานก่อนเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนมีมติให้ยกคำร้องดังกล่าวถึงสองครั้ง คือ ในการประชุมครั้งที่ 10/2551 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และครั้งที่ 11/2551 วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ท้ายที่สุด ผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จึงได้ยื่นหนังสือชี้แจงข้อกล่าวหา ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551 ทว่า ยังได้ร้องขอระบุและให้หมายเรียกพยานเพิ่มเติม ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่ามีและสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว จึงยกคำร้องนี้ในการประชุมครั้งที่ 15/2551 วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551
      • ในการพิสูจน์ทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณขอเลื่อนนัดวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยอ้างว่า ยังมิได้มาซึ่งพยานหลักฐานสำคัญเพราะอยู่ในความครอบครองของทางราชการและบุคคลภายนอก ขอให้หมายเรียกพยานหลักฐานเหล่านี้มา คณะอนุกรรมการไต่สวนให้เลื่อนไปวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณขอเลื่อนนัดวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ด้วยเหตุผลเดิม คณะอนุกรรมการไต่สวนให้เลื่อนไปวันที่ 27 พฤศจิกายน ดุจกัน, และยังขอเลื่อนนัดดังกล่าวอีก โดยเหตุผลว่า ยังมิได้มากซึ่งเอกสารจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพราะความผิดพลาดในการมอบอำนาจ คณะอนุกรรมการไต่สวนให้เลื่อนไปวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พร้อมกำชับว่า พยานหลักฐานตามอ้างนั้น คตส. มีอยู่แล้ว ขอให้ พ.ต.ท.ทักษิณมาตรวจดูที่ คตส. และให้เตรียมพยานมาในวันนัดดังกล่าว โดยให้เตรียมถามพยานมาด้วย
      • ครั้นถึงวันนัด พ.ต.ท.ทักษิณไม่พาพยานมา และแจ้งว่าจะพามาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนอนุญาตตามนั้น, เมื่อถึงวันดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณกลับพาพยานมาเพียงปากเดียว แล้วขอเลื่อนนัดอีก ซึ่งต่อมามีการไต่สวนพยานหลักฐานหลายนัดตามคำขอของ พ.ต.ท.ทักษิณ แม้บางครั้งจะเป็นพยานหลักฐานเดิมก็ตาม ก็ได้รับอนุญาต, แต่ พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่า ยังติดใจพยานหลักฐานอยู่ ขอนัดเพิ่มอีก 4 นัด ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 คตส. หมดวาระ จึงส่งสำนวนต่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.
      • คณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สินข้างต้นต่อ และมีการประชุมพิจารณามาโดยลำดับ
    • องค์คณะเห็นว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนของ คตส. และคณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์สิน ในคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ให้เวลา พ.ต.ท.ทักษิณ พอสมควรแล้ว ซึ่งความจริงหากเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ประวิงคดี จะไม่ไต่สวนพยานหลักฐานนั้นเสียก็ได้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการทั้งสองได้ใช้อำนาจนี้หรือได้ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบแต่อย่างใด กับทั้งได้อนุญาจให้เลื่อนนัดและสืบพยานหลักฐานเดิมหลายครั้งหลายครา
  • คำวินิจฉัยขององค์คณะ องค์คณะเห็นว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนของ คตส. และคณะกรรมอนุกรรมพิจารณาคำร้องพิสูจน์ทรัพย์สิน ในคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้จำกัดสิทธิของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาในการแก้ข้อกล่าวหาแต่อย่างใด

Issue 2.6 อนุกรรมการไต่สวนคดีนี้บางคนเป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหรือไม่[edit]

Issue 2.7 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจทำคดีนี้ต่อจาก คตส. หรือไม่[edit]

  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ให้งดใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เฉพาะที่เกี่ยวกับการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. เท่านั้น มิได้รวมถึงการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ในเมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้มิได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ จึงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

Issue 2.8 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินคดีนี้โดยข้ามขั้นตอนที่กฎหมายวางไว้หรือไม่[edit]

  • คำคัดค้าน
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านว่า กระบวนพิสูจน์ทรัพย์สินที่ คตส. อายัดไว้ยังไม่แล้วเสร็จว่าสิ่งใดเป็นของผู้พิสูจน์หรือไม่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดแล้ว จึงเป็นการข้ามขั้นตอนที่กฎหมายวางไว้ การดำเนินคดีโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมิชอบด้วยกฎหมาย

Issue 2.9 คำร้องคดีนี้ยื่นมิได้ เพราะอัยการสูงสุดเห็นว่าไม่สมบูรณ์ เป็นเช่นนั้นหรือไม่[edit]

Issue 2.10 คตีนี้เป็นคดีแพ่ง ต้องรอให้ทางอาญาที่เกี่ยวข้องยุติก่อนจึงจะดำเนินได้ ใช่หรือไม่[edit]

Issue 2.11 การร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินกระทำมิได้ เพราะผู้คัดค้านทั้งหลายมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช่หรือไม่[edit]

Issue 3 คำร้องของอัยการสูงสุดเคลือบคลุมหรือไม่[edit]

  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า คำร้องของอัยการสูงสุดเคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายพฤติการณ์ของความร่ำรวยผิดปรกติของตน มิได้แยกทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ก่อนและหลังการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับทั้งมิได้แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินที่กล่าวหาว่าตนได้มาโดยผิดปรกตินั้นมีจำนวนเท่าไร นอกจากนี้ ยังมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ข้อ 23 โดยมิได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนที่มิได้อายัด สถานที่ตั้งทรัพย์สินนั้น รวมถึงชื่อและที่อยู่เจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านว่า คำร้องของอัยการสูงสุดเคลือบคลุม เพราะมิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหุ้น บ.ชินคอร์ปก่อนและหลังการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดจนความผิดปรกติ การเกิดขึ้น และเหตุปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
    • พานทองแท้ (ผู้คัดค้านที่ 2) คัดค้านเช่นเดียวกับผู้คัดค้านที่ 1
    • พิณทองทา (ผู้คัดค้านที่ 3) คัดค้านเช่นเดียวกับผู้คัดค้านที่ 1

Issue 4 พ.ต.ท.ทักษิณยังคงถือหุ้นใน บ.ชินคอร์ประหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสองสมัย พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานยังคงถือหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยสิบเก้าล้าน สี่แสนเก้าหมื่น หนึ่งร้อยห้าสิบหุ้น) โดยให้นายพานทองแท้, น.ส.พิณทองทา, นางยิ่งลักษณ์, นายบรรณพจน์ และ บ.แอมเพิลริชถือแทนตามคำร้อง หรือไม่
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า
      • ทรัพย์สินจำนวน 76,621,603,061.05 บาท (เจ็ดหมื่นหกพันหกร้อยยี่สิบเอ็ดล้าน หกแสนสามหมื่นหกสิบเอ็ดบาท ห้าสตางค์) มิใช่ของตนและคุณหญิงพจมานคู่สมรส เพราะได้โอนให้แก่เครือญาติแล้ว กับทั้งมิใช่ได้มาโดยไม่สุจริต ผิดปรกติ หรือไม่สมควรอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ตลอดจนไม่เกี่ยวข้องกับเงินแผ่นดินแต่อย่างใด โดยตนได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสองสมัยโดยสุจริตและครบถ้วนไม่มีปิดบัง
      • ตามที่รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 209 ได้กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องโอนหุ้นในบริษัทไปให้นิติบุคคลอื่นถือไว้แทนและห้ามยุ่งเกี่ยวอีกนั้น
        • เมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตนมีหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 32,920,000 หุ้น (สามสิบสองล้าน เก้าแสนสองหมื่นหุ้น) และคุณหญิงพจมาน คู่สมรส มีหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 34,650,000 หุ้น (สามสิบสี่ล้าน หกแสนห้าหมื่นหุ้น) หุ้นของทั้งสองคนรวมกันเป็น 67,570,000 หุ้น (หกสิบเจ็ดล้าน ห้าแสนเจ็ดหมื่นหุ้น) ต่อมา บ.ชินคอร์ปเพิ่มทุนขึ้น ตนจึงมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 65,840,000 หุ้น (หกสิบห้าล้าน แปดแสนสี่หมื่นหุ้น) และคุณหญิงพจมานมีหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 69,300,000 หุ้น (หกสิบเก้าล้าน สามแสนหุ้น) หุ้นของทั้งสองคนรวมกันเป็น 1,419,490,150 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยสิบเก้าล้าน สี่แสนเก้าหมื่น หนึ่งร้อยห้าสิบหุ้น)
        • สำหรับหุ้นจำนวน 65,840,000 หุ้น (หกสิบห้าล้าน แปดแสนสี่หมื่นหุ้น) ที่ตนถือไว้นั้น ต่อมาตนได้ตั้ง บ.แอมเพิลริชที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และโอนขายหุ้น จำนวน 32,920,000 หุ้น (สามสิบสองล้าน เก้าแสนสองหมื่นหุ้น) ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 329,200,000 บาท (สามหมื่นสองพันเก้าร้อยล้าน สองแสนบาท) ไปให้ กับทั้งได้โอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอีกจำนวน 30,920,000 หุ้น (สามสิบล้าน เก้าแสนสองหมื่นหุ้น) ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 309,200,000 บาท (สามร้อยเก้าล้าน สองแสนบาท) ให้แก่นายพานทองแท้ และจำนวน 2,000,000 หุ้น (สองล้านหุ้น) ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 20,000,000 บาท (ยี่สิบล้านบาท) ให้แก่นางยิ่งลักษณ์ รวมเป็นหุ้นที่โอนขายไปทั้งหมด 65,840,000 หุ้น (หกสิบห้าล้าน แปดแสนสี่หมื่นหุ้น) โดยต่อมา บ.แอมเพิลริชได้โอนขายหุ้นที่ตนโอนขายให้ทั้งหมดนั้นไปให้แก่นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา อีกคนละเท่า ๆ กัน ราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท แล้ว
        • ส่วนหุ้นจำนวน 69,300,000 หุ้น (หกสิบเก้าล้าน สามแสนหุ้น) ที่คุณหญิงพจมานถือไว้นั้น ดูคำคัดค้านของคุณหญิงพจมาน
      • การข้างต้นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า เมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตนและคุณหญิงพจมานคู่สมรสมิได้เป็นเจ้าของหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 หุ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยสิบเก้าล้าน สี่แสนเก้าหมื่น หนึ่งร้อยห้าสิบหุ้น) นั้นอีก หากแต่เป็นของนายพานทองแท้, น.ส.พิณทองทา, นางยิ่งลักษณ์, นายบรรณพจน์ และ บ.แอมเพิลริช โดยชอบแล้ว เป็นการโอนขายหุ้นกันอย่างแท้จริง มิใช่นิติกรรมอำพราง (concealed act) หรือเพียงแต่โอนไปแต่อันที่จริงแล้วยังเป็นของผู้โอนอยู่ ซึ่งตนกับคุณหญิงพจมานก็มิได้ข้องแวะกับหรือรับประโยชน์จากหุ้นทั้งหลายนั้นอีก
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้า่นที่ 1) คัดค้านว่า
      • สำหรับหุ้นใน บ.ชินคอร์ป จำนวน 69,300,000 หุ้นที่ตนถือร่วมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังคำคัดค้านของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เธอได้
        • โอนขาย จำนวน 42,475,000 หุ้น (สี่สิบสองล้าน สี่แสนเจ็ดหมื่นห้าพันหุ้น) ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 424,750,000 บาท (สี่ร้อยยี่สิบสี่ล้าน เจ็ดแสนห้าหมื่นบาท) ให้แก่นายพานทองแท้ และนายพานทองแท้ชำระค่าหุ้นโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (promissory note) ให้
        • ยก (moral duty) จำนวน 26,825,000 หุ้น (ยี่สิบหกล้าน แปดแสนสองหมื่นห้าพันหุ้น) ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา (moral duty) แก่นายบรรณพจน์แล้ว
    • นายพานทองแท้ (ผู้คัดค้านที่ 2) คัดค้านว่า
    • น.ส.พิณทองทา (ผู้คัดค้านที่ 3) คัดค้านว่า
    • นางยิ่งลักษณ์ (ผู้คัดค้านที่ 4) คัดค้านว่า
    • นายบรรณพจน์ (ผู้คัดค้านที่ 5) คัดค้านว่า
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสองสมัย พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานยังคงถือไว้ซึ่งหุ้น บ.ชินคอร์ป จำนวน 1,419,490,150 (หนึ่งพันสี่ร้อยสิบเก้าล้าน สี่แสนเก้าหมื่น หนึ่งร้อยห้าสิบ) หุ้น ตามคำร้อง

Issue 5 พ.ต.ท.ทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องหรือไม่[edit]

ภาพรวม[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย กรณีต่าง ๆ ตามคำร้องของอัยการสูงสุดเป็นการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องหรือไม่
  • คำัคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ทุกกรณีตามคำร้องนั้น มิได้เกิดจากการสั่งการหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่เป็นมาตรการและการกระทำทางบริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง กับทั้งมิได้เอื้อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องเลย
  • ความเห็นขององค์คณะ องค์คณะแยกวินิจฉัยและมีมติเป็นIssueย่อย ดังลำดับต่อไปนี้
    • Issue 5.1 การอนุมัติให้เอกชนหักภาษีสรรพสามิตออกจากค่าสัมปทานได้ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปหรือไม่
    • Issue 5.2 การปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เอื้อประโยชน์แก่ บ.เอไอเอสหรือไม่
    • Issue 5.3 การให้ใช้และปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับได้ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่
    • Issue 5.4 การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับ บ.ดีพีซี เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่
    • Issue 5.5 หลายกรณีเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
    • Issue 5.6 การลดสัดส่วนหุ้นที่ บ.ชินคอร์ปต้องถือใน บ.ไทยคม เอื้อประโยชน์แก่บริษัททั้งสองหรือไม่
    • Issue 5.7 การให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าช่องสัญญาดาวเทียมต่างประเทศ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
    • Issue 5.8 การอนุมัติให้รัฐบาลทหารพม่ากู้เงิน ชอบและเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่

Issue 5.1 การอนุมัติให้เอกชนหักภาษีสรรพสามิตออกจากค่าสัมปทานได้ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การที่ ครม. ซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตรา “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546” และ “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2546 สำหรับกิจการโทรคมนาคม” โดย ครม. ชุดดังกล่าวมีมติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 เห็นชอบว่า ในสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น ให้คู่สัญญาภาคเอกชนซึ่งเดิมต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่คู่สัญญาภาครัฐ สามารถนำภาษีสรรพสามิตที่ต้องเสียให้แก่กรมสรรพสามิตมาหักออกจากค่าสัมปทานดังกล่าวได้ เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ

Issue 5.2 การปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เอื้อประโยชน์แก่ บ.เอไอเอสหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การแก้ไข “สัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533” (ครั้งที่ 6) ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เพื่อปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ บ.เอไอเอส เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.เอไอเอสหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การปรับลดให้แก่ บ.เอไอเอสซึ่งอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เป็นการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.เอไอเอส ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่กรณีดังกล่าวมิได้เสนอให้คณะกรรมการประสานงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อนุมัติเสียก่อน ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยในIssueนี้เปลี่ยนแปลงไป

Issue 5.3 การให้ใช้และปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับได้ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การแก้ไข “สัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533” (ครั้งที่ 7) ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (roaming) ปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม และหักค่าใช้จ่ายจากรายรับ เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การปรับลดให้แก่ บ.เอไอเอสซึ่งอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เป็นการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.เอไอเอส ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่กรณีดังกล่าวมิได้เสนอให้คณะกรรมการประสานงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 อนุมัติเสียก่อน ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคำวินิจฉัยในIssueนี้เปลี่ยนแปลงไป

Issue 5.4 การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับ บ.ดีพีซี เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอสหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย พ.ต.ท.ทักษิณยังคงถือหุ้น บ.ชินคอร์ป อันจะเป็นผลให้การปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมระหว่าง กสท. กับ บ.ดีพีซี เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.เอไอเอส หรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า “...ผลประโยชน์อันเกิดจากการปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วม ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกล่าวหา [พ.ต.ท.ทักษิณ] แต่อย่างใด กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยIssueอื่นในเรื่องปรับลดอัตราการใช้เครือข่ายร่วมอีกต่อไป”

Issue 5.5 หลายกรณีเกี่ยวกับกิจการดาวเทียมเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม และสนับสนุนกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมอันเป็นกิจการของครอบครัวตนเอง หรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม และสนับสนุนกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคม

Issue 5.6 การลดสัดส่วนหุ้นที่ บ.ชินคอร์ปต้องถือใน บ.ไทยคม เอื้อประโยชน์แก่บริษัททั้งสองหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เพื่อลดสัดส่วนหุ้นที่ บ.ชินคอร์ปต้องถือใน บ.ไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้่อยกว่าร้่อยละ 40 นั้น เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน (ครั้งที่ 5) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เพื่อลดสัดส่วนหุ้นที่ บ.ชินคอร์ปต้องถือใน บ.ไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้่อยกว่าร้่อยละ 40 นั้น เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมผู้รับสัมปทานจากรัฐโดยไม่สมควร

Issue 5.7 การให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 ไปเช่าช่องสัญญาดาวเทียมต่างประเทศ เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6,765,299 (หกล้าน เจ็ดแสนหกหมื่นห้าพัน สองร้อยเก้าสิบเก้า) ดอลลาร์สหรัฐ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่างประเทศเมื่อดาวเทียมไทยคม 3 เกิดเสียหายนั้น เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6,765,299 (หกล้าน เจ็ดแสนหกหมื่นห้าพัน สองร้อยเก้าสิบเก้า) ดอลลาร์สหรัฐ ไปเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมต่างประเทศเมื่อดาวเทียมไทยคม 3 เกิดเสียหายนั้น เป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคม

Issue 5.8 การอนุมัติให้รัฐบาลทหารพม่ากู้เงิน ชอบและเอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย การอนุมัติให้รัฐบาลทหารพม่ากู้เงินจาก ธสน. เป็นไปโดยชอบ และเป็นการซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคมหรือไม่
  • คำคัดค้าน
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ “...กรณีจึงเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินสินเชื่อเงินกู้เพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า การดำเนินการในกรณีนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ บ.ชินคอร์ปและ บ.ไทยคม”

Issue 6 กรณีตามIssue 5 เป็นผลมาจากการใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย กรณีตามIssue 5 เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า ทุกกรณีตามคำร้องนั้น มิได้เกิดจากการสั่งการหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตน แต่เป็นมาตรการและการกระทำทางบริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง กับทั้งมิได้เอื้อประโยชน์แก่ตนและพวกพ้องเลย
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า กรณีตามIssue 5 เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ

Issue 7 ทรัพย์สินตามคำร้องต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงไร[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย เงินที่ได้จากการขายหุ้นและเงินปันผลตามคำร้องของอัยการสูงสุด เป็นทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่ เพียงไร
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า
      • เงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปรวมจำนวน 76,621,603,061.05 บาท (เจ็ดหมื่นหกพันหกร้อยยี่สิบเอ็ดล้าน หกแสนสามหมื่นหกสิบเอ็ดบาท ห้าสตางค์) มิใช่ของตนและคุณหญิงพจมาน คู่สมรส เพราะได้โอนให้สมาชิกในครอบครัวและญาติแล้ว กับทั้งเดิมก็เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยสุจริต มิได้เกิดจากการขัดกันของผลประโยชน์ ร่ำรวยผิดปรกติ หรือมีเพิ่มขึ้นโดยไม่สมควร และไม่เกี่ยวข้องกับเงินแผ่นดินแต่ประการใด
      • เมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตนได้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน...
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านว่า
  • ความเห็นขององค์คณะ
  • มติขององค์คณะ องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า “...ทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินคงมีเฉพาะเงินปันผลค่าหุ้น จำนวน 6,898,722,129 บาท (หกพันแปดร้อยเก้าสิบแปดล้าน เจ็ดแสนสองหมื่นสองพัน หนึ่งร้อยยี่สิบเก้าบาท) และเงินที่ได้จากการขายหุ้นหลังหักราคาหุ้นที่มีอยู่เดิมแล้ว จำนวน 39,474,965,325.70 บาท (สามหมื่นเก้าพันสี่ร้อยเจ็ดสิบสี่ล้าน เก้าแสนหกหมื่นห้าพัน สามร้อยยี่สิบห้าบาท เจ็ดสิบสตางค์) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,373,687,454.70 บาท (สี่หมื่นหกพันสามร้อยเจ็ดสิบสามล้านบาท หกแสนแปดหมื่นเจ็ดพัน สี่ร้อยห้าสิบสี่ล้านบาท เจ็ดสิบสตางค์) พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าว”

Issue 8 ต้องเพิกถอนคำสั่งของ คตส. ให้อายัดทรัพย์สินของผู้ถูกคัดค้านทั้งหลายหรือไม่ เพียงไร[edit]

  • Issueที่จะต้องวินิจฉัย มีเหตุที่ศาลต้องเพิกถอนคำสั่งอายัดของ คตส. ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งยี่สิบสองหรือไม่ เพียงไร
  • คำคัดค้าน
    • พ.ต.ท.ทักษิณ (ผู้ถูกกล่าวหา) คัดค้านว่า
    • คุณหญิงพจมาน (ผู้คัดค้านที่ 1) คัดค้านว่า
    • พานทองแท้ (ผู้คัดค้านที่ 2) คัดค้านว่า
    • พิณทองทา (ผู้คัดค้านที่ 3) คัดค้านว่า อัยการสูงสุดจะขอให้ทรัพย์สินส่วนของตนตามที่ถูกอายัดตกเป็นของแผ่นดินหาได้ไม่ เพราะตนมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
    • ยิ่งลักษณ์ (ผู้คัดค้านที่ 4) คัดค้านว่า
    • บรรณพจน์ ดามาพงศ์ (ผู้คัดค้านที่ 5) คัดค้านว่า
    • บุษบา ดามาพงศ์ (ผู้คัดค้านที่ 6) คัดค้านว่า
    • สมพร พงศ์สุวรรณ (ผู้คัดค้านที่ 7) คัดค้านว่า
    • คณะบุคคลวิวิธวร แชมเบอร์ (ผู้คัดค้านที่ 8) คัดค้านว่า
    • บริษัทที่ปรึกษากฎหมายธีรคุปต์ จำกัด (ผู้คัดค้านที่ 14) คัดค้านว่า
    • มูลนิธิไทยคม (ผู้คัดค้านที่ 17) คัดค้านว่า
    • บริษัทสมพร แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (ผู้คัดค้านที่ 19) คัดค้านว่า
  • ความเห็นขององค์คณะ
    • ผู้คัดค้านที่ 7, 8, 14, 17 และ 19 ได้ยื่นคำร้องขอพิสูจน์ทรัำพย์สินต่อ คตส. และ คตส. มีคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ ที่ คตส. 036/2551 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์สินนั้นแล้ว องค์คณะจึงไม่พิจารณาอีก
    • เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 2-5 ถือทรัพย์สินไว้แทนผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 และเมื่อเห็นว่า ทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา ตลอดจนของผู้คัดค้านที่ 1-5 ซึ่งถูกอายัดไว้นั้นเพียงพอตามจำนวนที่วินิจฉัยให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว องค์คณะจึงไม่พิจารณาคำคัดค้านอื่น ๆ อีก
  • มติขององค์คณะ — (องค์คณะเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคำคัดค้านทั้งหลายอีก)

สรุปIssue[edit]

คำพิพากษา[edit]

คำวินิจฉัยส่วนตนของผู้พิพากษา[edit]

การบังคับตามคำพิพากษา[edit]

ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อคำพิพากษา[edit]

กลุ่ม 5 อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[edit]

“กลุ่ม 5 อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เป็นกลุ่มอาจารย์ห้าคนจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (“มธ.”) ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, ธีระ สุธีวรางกูร และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่มักออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางกฎหมายและการเมืองหลายครั้ง รวมถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองเมื่อ พ.ศ. 2549[12]

โดยอาจารย์ทั้งห้ายืนยันว่า ศาลควรปฏิเสธไม่นำประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 มาใช้บังคับ เพราะควรปฏิเสธไม่ยอมรับผลิตผลจากกระบวนการรัฐประหาร โดยกล่าวว่า “...[การรัฐประหารเป็น] สิ่งแปลกปลอมในรัฐเสรีประชาธิปไตย...องค์กรผู้ใช้บังคับกฎหมายทั้งหลาย ต้องพิจารณาใช้และตีความผลิตผลทางกฎหมายของคณะรัฐประหารเสียใหม่ให้เป็นไปในทางที่เป็นธรรม…ควรกล้าปฏิเสธรัฐประหารและผลผลิตของ คณะรัฐประหารด้วยการไม่นำประกาศ คปค. มาใช้บังคับในคดี และไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมที่ริเริ่มจากคณะรัฐประหาร”[13]

ในประเด็นความเป็นกลางของ คตส. นั้น อาจารย์ทั้งห้าวิพากษ์วิจารณ์ว่า “…เป็นที่ทราบกันดีว่า คตส. แต่งตั้งโดย คปค. และ…เลือกพิจารณาตรวจสอบเฉพาะเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ…ย่อมเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยถึงความไม่เป็นกลางของ คตส. …และเห็นว่า…การจัดงานเลี้ยงอำลาเนื่องในโอกาส คตส.หมดวาระ โดยจัดทำชื่อรายการอาหารล้อเลียนนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ…ข้อเท็จจริงเหล่านี้ควรที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย” [13]

เหตุการณ์ภายหลังการพิพากษา[edit]

เชิงอรรถ[edit]

  1. ^ Government Gazette; 2006, 20 September (Royal Command Appointing the CDR Chairperson) : Online.
  2. ^ a b Cite error: The named reference Komchadluek-01 was invoked but never defined (see the help page).
  3. ^ a b c d e f g h ราชกิจจานุเบกษา; 2553, 24 มีนาคม : ออนไลน์.
  4. ^ คมชัดลึก; 2551, 3 กันยายน : ออนไลน์.
  5. ^ Suthichaiyoon.com; 2553, 26 กุมภาพันธ์ : ออนไลน์.
  6. ^ ไทยรัฐ; 2553, 12 มีนาคม (“‘จตุพร’ แสดงตนถอดถอน 8 องค์คณะยึดทรัพย์ ‘แม้ว’”) : ออนไลน์.
  7. ^ ไทยรัฐ; 2553, 5 มีนาคม (“ทนายเสื้อแดงแสดงเจตจำนงวุฒิ ถอดถอน 2 ตุลาการ”) : ออนไลน์.
  8. ^ ไทยรัฐ; 2553, 2 มีนาคม (“ ‘ทักษิณ’ โวยคำพิพากษา ฉะศาล เหน็บ ‘อภิสิทธิ์’ เลิกอาฆาต”) : ออนไลน์.
  9. ^ ราชกิจจานุเบกษา; 2543, 9 พฤศจิกายน : ออนไลน์.
  10. ^ ราชกิจจานุเบกษา; 2544, 9 กุมภาพันธ์ : ออนไลน์.
  11. ^ ราชกิจจานุเบกษา; 2540, 11 ตุลาคม : ออนไลน์.

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
    มาตรา 209 รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

    ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว”
  12. ^ “5 อจ.'มธ.' ค้านคำวินิจฉัย 'ตุลาการ รธน.' ชี้ใช้ กม. ย้อนหลังไม่ได้-กระทบหลักนิติฯ”; ม.ป.ป. : ออนไลน์.
  13. ^ a b ประชาไทย, 2553 : ออนไลน์.

อ้างอิง[edit]

ภาษาไทย[edit]

ข่าวและรายงาน[edit]

  • กรุงเทพธุรกิจ. (2553, 9 กุมภาพันธ์). ทนายคุณหญิงพจมานยื่นแถลงปิดคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • คมชัดลึก.
    • (2551, 13 สิงหาคม). อัยการยื่นฟ้องยึดทรัพย์ทักษิณ 7.6 หมื่นล้านบาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2551, 3 กันยายน). ประชุมใหญ่ศาลฎีกาลงมติเลือกองค์คณะยึดทรัพย์ทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 13 มกราคม). "พัลลภ"ชี้ยึดทรัพย์ทักษิณหวั่นเป็นชนวนรุนแรง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • ไทยโพสต์. (2553, 19 กุมภาพันธ์). 7 วันไม่อันตราย อย่าหวั่นวิตกกับวันตัดสินคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • ไทยรัฐ.
    • (2553, 2 มีนาคม).
      • ป.ป.ช.ไล่บี้ ‘ทักษิณ’ ลุยเอาผิดซุกหุ้นภาค 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 3 มีนาคม).
      • “ทักษิณ” โวยคำพิพากษา ฉะศาล เหน็บ “อภิสิทธิ์” เลิกอาฆาต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 3 มีนาคม).
      • โฆษกศาลฯ แจง ตัดสินคดียึดทรัพย์ไม่มีคนชักใย-ไร้สี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • อธิบดีดีเอสไอตั้งคณะทำงานขยายผลคดียึดทรัพย์แม้ว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 4 มีนาคม).
      • ค้นจุดถ่ายทอดคลิปวีดิโอโยงคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ไตรรงค์ชี้ เงินยึดทรัพย์เข้าบัญชี 1 ธปท. . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ทีโอที-กสท. ปิดปาก ความเสียหายจากคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ธนชาตชี้หลังคำตัดสินยึดทรัพย์ประเมินกลุ่มสื่อสารได้รับผลลบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ธปท. พบเงินนอกไหลเข้าเพิ่มหลังตัดสินคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ปปช. เงื้อฟันแม้ว คดีซุกหุ้นชินฯ ไม่ได้แสดง 15 ครั้ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • “สุเทพ” ฉะ “ทักษิณ” ฟ้องผู้นำโลกยิ่งประจานตัวเอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 5 มีนาคม).
      • ทนายเสื้อแดงแสดงเจตจำนงวุฒิ ถอดถอน 2 ตุลาการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • เอไอเอสไม่เปลี่ยนแผนธุรกิจ พร้อมสู้ต่อในกระบวนการศาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • เอ็กซิมแบงก์เตรียมเรียกเงินกู้จากพม่าคืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 9 มีนาคม).
      • ครม. ยืดเวลาให้ไอซีทีสางสัญญาสัมปทานอีก 60 วัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • เทพไทสวนจิ๋ว ใครกันแน่ทำเรื่องเล็กให้ใหญ่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • เอไอเอสยันทำถูกต้อง ไม่หวั่นผิดกรณีแก้สัมปทาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ไอซีทีเลื่อนแถลงสอบคดียึดทรัพย์ทักษิณไม่คืบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 10 มีนาคม). แถลงใหญ่ “ข้อเท็จจริงกลุ่มชิน” เปิดหน้าสู้ทุกประเด็น หลังธุรกิจกระทบหนัก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 12 มีนาคม). “จตุพร” แสดงตนถอดถอน 8 องค์คณะยึดทรัพย์ “แม้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 16 มีนาคม).
      • เมินเก็บภาษีสรรพสามิต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • หุ้นไทยปิดตลาดปรับตัวขึ้น 17.37 จุด สวนทางการเมืองระอุ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 22 มีนาคม). โอ๊ค-เอม เตรียมยื่นอุทธรณ์ 25 มี.ค. นี้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 23 มีนาคม). ทนายทักษิณยื่นอุทธรณ์ยึดทรัพย์ 26 มีค. พร้อม “พจมาน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 24 มีนาคม). อัยการเตรียมบังคับคดียึดทรัพย์ทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 25 มีนาคม). ทนายแม้ว-ลูกจ่ออุทธรณ์ยื่นทุเลาบังคับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 26 มีนาคม). คลังรับหน้าที่บังคับคดียึดทรัพย์ทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 29 มีนาคม). กรณ์ปูด "ชินวัตร" แอบถอนเงิน โอ๊ค-เอมขายหุ้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • Asian Tha News Network. (2553, 19 กุมภาพันธ์). รู้จัก 9 ผู้พิพากษาองค์คณะคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • ChaophrayaNews.
    • (2552, 20 สิงหาคม). ศาลฎีกาไต่สวนพยานจำเลยคดียึดทรัพย์ทักษิณ 76,000 ล้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2552, 22 ธันวาคม). ศาลเตรียมไต่สวนพยานเพิ่มเติมคดียึดทรัพย์ทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • Paeyim.com. (2553, 15 กุมภาพันธ์). ศาลไม่เลื่อนยึดทรัพย์ "แม้ว" ย้ำองค์คณะเข้มแข็งต่อหน้าที่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • Sanook!News. (2553, 22 กุมภาพันธ์). ศาลฎีกาแถลงยันไม่มีอคติตัดสินยึดทรัพย์ . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • Suthichaiyoon.com. (2553, 26 กุมภาพันธ์). เปิดโฉมองค์คณะคดียึดทรัพย์ทักษิณ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • VoiceTV. (2553, 12 มีนาคม). มุมมอง อ.วรเจตน์ ต่อคดียึดทรัพย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).

หนังสือพิมพ์[edit]

  • ราชกิจจานุเบกษา.
    • (2540, 11 ตุลาคม). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540). (เล่ม 114, ตอนที่ 55 ก, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2543, 9 พฤศจิกายน). พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎกร พ.ศ. 2543. (เล่ม 117, ตอนที่ 102 ก, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2544, 9 กุมภาพันธ์). พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร). (เล่ม 122, ตอนพิเศษ 12 ง, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2548, 9 มีนาคม). พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (สมัยที่ 2)]. (เล่ม 122, ตอนพิเศษ 20 ง, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2549, 20 กันยายน).
      • ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 (ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง ฯลฯ). (เล่ม 123, ตอนที่ 95 ก, หน้า 5). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. (เล่ม 123, ตอนที่ 95 ก, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2549, 24 กันยายน).
      • ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป ลงวันที่ 22 กันยายน 2549. (เล่ม 123, ตอนที่ 98 ก, หน้า 9). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
      • ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป ลงวันที่ 20 กันยายน 2549. (เล่ม 123, ตอนที่ 98 ก, หน้า 2). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2543, 3 ตุลาคม).
    • ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550. (เล่ม 123, ตอนที่ 105 ก, หน้า 17). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 31 เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550. (เล่ม 123, ตอนที่ 105 ก, หน้า 23). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2550, 5 กันยายน). พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 พ.ศ. 2550. (เล่ม 124, ตอนที่ 51 ก, หน้า 17). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
    • (2553, 24 มีนาคม). คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (คดีหมายเลขดำที่ อม. 14/2551 ระหว่าง อัยการสูงสุด ผู้ร้อง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ 1 กับพวก ผู้คัดค้าน คดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553). (เล่ม 127, ตอนที่ 21 ก, หน้า 1). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).

บทความ[edit]

  • "5 อจ.'มธ.' ค้านคำวินิจฉัย 'ตุลาการ รธน.' ชี้ใช้ กม. ย้อนหลังไม่ได้-กระทบหลักนิติฯ". (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).
  • ประชาไทย. (2553, 11 มีนาคม). บทวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน - กลุ่ม 5 อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).

อื่น ๆ[edit]

  • ศาลฎีกา. (2553). คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคำวินิจฉัยส่วนตนขององค์คณะผู้พิพากษา เรื่อง ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน (คดีหมายเลขดำที่ อม. 14/2551 ระหว่าง อัยการสูงสุด ผู้ร้อง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ 1 กับพวก ผู้คัดค้าน คดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2553 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2553).

ภาษาต่างประเทศ[edit]

ข่าวและรายงาน[edit]

  • BBC.
    • (2010, 26 February).
      • Thailand coup rumours circle Thaksin assets ruling. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
      • Thailand top court seizes part of Thaksin fortune. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
      • Verdict on Thaksin billions unlikely to heal divide. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
    • (2010, 28 March).
      • Thailand PM opens negotiations with Red-Shirts. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
  • CNN.
    • (2010, 25 February). [CLIP] Judgment day for Thaksin. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
    • (2010, 26 February).
      • [CLIP] Court : Thaksin abused power. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).
      • Court to seize $1.4B from former Thai PM. [Online]. Available: <link>. (Accessed: 28 March 2010).

ดูเพิ่ม[edit]

คำพิพากษาและคำวินิจฉัย[edit]

คำพิพากษา[edit]

คำวินิจฉัยส่วนตนขององค์คณะ[edit]

รายงานข่าว[edit]

การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดี[edit]



หมวดหมู่:คำพิพากษาศาลฎีกา หมวดหมู่:คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ประเทศไทย) หมวดหมู่:คดีแพ่ง (ประเทศไทย)


en:Attorney-General v. Thaksin Shinawatra et al.